สำนักงานทนายความ

ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Preecha Yokthongwattana
« เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2013, 02:23:18 PM »

กรณีนี้ ประเด็นสำคัญที่เป็นหลักกฎหมาย และสามารถตอบคำถามคุณได้โดยตรง คือ เรื่องที่หากผู้ให้เช่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือทรัพย์ จะเอาที่ดินหรือทรัพย์นั้นออกให้เช่าได้หรือไม่?

คำตอบ คือ ผู้ให้เช่า แม้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หากมีสิทธิครอบครองโดยชอบ ก็อาจเอาทรัพย์สินออกให้เช่าได้ครับ สัญญาเช่าเป็นบุคคลสิทธิ์ ผูกพันเฉพาะคู่สัญญาอยู่แล้วครับ

ดังนั้น ฟังตามข้อเท็จจริงที่คุณบรรยายมาแล้ว ผู้ให้เช่าสามารถเอาทรัพย์ออกให้เช่าได้ครับ การไม่บอกความจริงดังกล่าว ดูไปแล้วยังไม่น่าจะถึงขนาดเป็นการหลอกลวง หรือเป็นกลฉ้อฉลตามกฎหมายครับ

คุณมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเป็นสำคัญ การถูกเอารัดเอาเปรียบ คุณอาจใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินส่วนเกินคืน ในฐานที่เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินสมควรได้นะครับ
ข้อความโดย: golfyahoo
« เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2013, 11:02:38 AM »

ผมได้ทำการเช่าตึกแถวหลังหนึ่ง เมื่อ ธค 55 นี้เอง ทำสัญญา 3 ปี แต่ผมอยู่มาเพียง 3 เดือนก็ประสงค์จะออก เลยคุยกับผู้ให้เช่า
ตกลงกัน(วาจา) ว่าให้ผมหาผู้เช่ารายใหม่มาแทน

แต่ผู้ให้เช่าเคี้ยวมากและเห็นแก่ได้มากจริงๆ พอผมหารายใหม่มาแทนได้ทันเวลา ก็จะริปเงินมัดจำผม
ใช่...เขามีสิทธิ์ริป แต่มันเห็นแก่ได้เกินไป เพราะนอกจากมัดจำ 3 เดือนแล้ว ผมยังได้ให้เงินกินเปล่าเขาไปอีก 150,000 บาทใน

วันทำสัญญา ซึ่งจริงๆแล้วเงินผมอยู่กับเขามากเหลือเกิน แต่เขาก็หาข้อได้เปรียบจากสัญญาเช่า หักนู่นหักนี่ จนผมแทบไม่เหลือ

อะไรเลย ถ้าจะให้เขาเซ็นวัญญากับคนใหม่ที่ผมหามาให้แทน

นั่นทำให้ผมอยากหาเหตุที่จะบอกเลิกสัญญาได้อย่างชอบธรรม และเรียกร้องให้เขาคืนเงินมัดจำ และเงินกินเปล่าให้ผม ได้อย่าง

ถูกต้องตามกฏหมาย

ซึ่งหลังจากผมทำสัญญาเช่ากับเขาแล้ว ผมพบว่า ทรัพย์(อาคาร)นี้ ยังอยู่ในกรณีพิพาท
แม้ปัจจุบันโฉนดจะเป็นชื่อเขา และจริงๆแล้ว เขาก็มิได้ทำให้ผมเกิดการติดขัดในการเข้าใช้อาคารแต่อย่างใด

การที่โฉนดเป็นชื่อเขา เพราะเกิดจากสัญญาประนีประนอม อันทำกันในปี 2551 (ระหว่างผู้ให้เช่า กับคู่พิพาทของเขา)
แต่คำสั่งศาลเมื่อ ต้นปี 2555(แค่ชั้นต้น - คดียังไม่สิ้นสุด) วินิจฉัยให้สัญญาประนีประนอมดังกล่าวเป็นโมฆะ
และให้โจทก์และจำเลยทั้งสอง (ผู้ให้เช่า กับคู่พิพาทของเขา) จำต้องกลับคืนสู่สถานะดังที่เป็นอยู่เดิม (นั่นคือก่อนที่ตัวผู้ให้เช่า จะ

ได้รับโอนทรัพย์นี้มา)
นั่นคือเกิดความกำกวม ไม่แน่นอนในอนาคต เรื่องกรรมสิทธิ์ของอาคาร

ผมจะสามารถใช้ข้อเท็จจริงนี้ มาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่าของผม ได้อย่างไรบ้างครับ ?
จะใช้เรื่องประเด็น กลฉ้อฉล ในฐานะที่มิได้บอกให้เราทราบข้อเท็จจริงนี้ ได้ไหมครับในการบอกเลิกสัญญา ?