สำนักงานทนายความ

ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sareejub
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2014, 11:36:01 AM »

เป็นข้อมูลที่ดีจริงๆ
ข้อความโดย: Preecha Yokthongwattana
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2014, 02:05:01 AM »

-หลักปฏิบัติเบื้องต้น นายจ้างต้องกำหนดเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวันให้ชัดเจนครับ การกำหนดเวลาทำงานเป็นแบบวันต่อวันอย่างที่เล่ามา ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายครับ

-การทำงานล่วงเวลา ตามหลักแล้วห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ลูกจ้างยินยอมด้วยนะครับ คุณสามารถปฏิเสธการทำงานล่วงเวลาได้ครับ แต่การไม่ให้ความร่วมมือแก่นายจ้าง ก็อาจมีผลกระทบตามมาได้ครับ

-หากนายจ้างไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ลูกจ้างสามารถตั้งเรื่องฟ้องคดีได้ครับ หรืออาจไปยื่นเรื่องให้พนักงานตรวจแรงงานท้องที่ดำเนินการเรียกร้องให้ก็ได้ครับ
ข้อความโดย: บอล
« เมื่อ: เมษายน 10, 2014, 10:24:38 PM »

ขอสอบถามเกี่ยวกับ กฎหมายแรงงานครับ
1. เวลาทำงาน จ-ส ซึ่งไม่มีเวลากำหนดตายตัว แล้วแต่บริษัทจะแจ้งเป็นรายวัน
   ในแต่ละวันมีการทำงานเกิน9 ชั่วโมง ซึ่งนายจ้างเห็นว่ามี Ot เกิดขึ้น จึงบอกให้พนักงานหยุดงาน / หรือ มาทำงานครึ่งวัน ในบางวัน
   ของอาทิตย์นั้นๆ  และเอาเวลา โอทีที่ได้ในวันอื่นๆ มาหักล้าง กับวันหยุด / หรือเวลาที่บอกให้หยุด ออกไป เพื่อให้เวลาการทำงาน
   ในอาทิตยื นั้นๆ ไม่เกิน 48 ชั่วโมง  อยากถามว่าทำได้หรือไม่...

2. เงินเดือนที่จ่ายออกมา คิดแล้วมีการจ่ายในส่วนของโอทีขาดไป เช่น เดือนนี้ ทำโอที10 ชั่วโมง แต่กลับได้แค่8 ชั่วโมง
   อยากทราบว่า ฟ้องร้องได้ไหม เพราะเป็นแบบนี้เกือบทุกเดือน มีการพูดคุยกันทุกครั้ง แล้วก็เลื่อนมาจ่ายในเดือนถัดไปตลอด...
   ซึ่งทางพนักงานไม่อยากพูดคุยแล้ว จะฟ้องเลยได้ไหม ต้องทำไงบ้าง