สำนักงานทนายความ

แสดงกระทู้

ส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถดูกระทู้ทั้งหมดสมาชิกนี้ โปรดทราบว่าคุณสามารถเห็นเฉพาะกระทู้ในพื้นที่ที่คุณเข้าถึงในขณะนี้


แสดงหัวข้อ - Preecha Yokthongwattana

หน้า: [1] 2
1
จากประเด็นโฆษณารับทำประกันชีวิตผู้สูงอายุ ที่มีคำโฆษณาเป็นทำนองว่า ?รับทำประกันผู้สูงอายุทุกคน โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ? นั้น หลายต่อหลายคนน่าจะเกิดความสงสัยว่า คนสูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือมีอาการป่วยเจ็บ สามารถทำประกันชีวิตได้ตามคำโฆษณาหรือไม่?

เรื่องนี้คงต้องชี้แจงกันให้ชัดเจนครับว่า การรับทำประกันชีวิต ปกติแล้วต้องผู้เอาประกันภัย ก็มักจะทำสัญญาผ่านตัวแทนประกัน หรือเซลส์ขายประกัน แต่โดยหลักสัญญาประกันชีวิต ก็จะมีข้อความแสดงออก หรือแสดงการรับรองของผู้เอาประกันภัยว่า ตนมิได้ป่วยเป็นโรคต้องห้าม และลงลายมือชื่อรับรองไว้ ซึ่งเอกสารหรือคำรับรองนี้สำคัญมาก เพราะถือเป็นการแสดงเจตนายืนยันว่า ผู้เอาประกันภัยมิได้ป่วยเป็นโรคต้องห้าม เช่น โรคหัวใจ ความดัน หลอดเลือด มะเร็ง หรือโรคอื่นๆ
ดังนั้น การไม่ตรวจสุขภาพ จึงไม่ได้แปลความว่า คนสูงอายุที่เป็นโรคต้องห้ามจะสามารถเอาประกันภัยได้ตามคำโฆษณา เพราะคำโฆษณา ระบุแต่เพียงว่า ?ไม่ต้องตรวจสุขภาพ? ไม่ได้ระบุว่า ?ป่วยแล้วทำประกันได้? นะครับ

ดังนั้น ผู้สูงอายุ อาจตามไม่ทันเนื้อความในโฆษณา แล้วเข้าใจไปเองว่า ป่วยก็ทำประกันภัยได้ เพราะเขาไม่ตรวจสุขภาพนั้น เป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง
บริษัทรับประกันภัย เขาย่อมอ่านคำรับรองของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ ว่า ผู้เอาประกันภัย เป็นโรค หรือมีประวัติการรักษาพยาบาลโรคต้องห้ามหรือไม่ หากปรากฏว่า มีคำรับรองว่าผู้เอาประกันไม่มีข้อต้องห้ามแล้ว บริษัทรับประกันภัยก็จะออกกรมธรรม์ให้ เพื่อสนองรับและก่อให้เกิดสัญญารับประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ ตามแต่ประเภท
แต่หากต่อมา ผู้เอาประกันภัยเกิดความป่วยเจ็บ หรือเสียชีวิต บริษัทผู้รับประกันภัย เขาก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะตรวจสอบประวัติการรักษาพยาบาล หรือประวัติการเจ็บป่วย และหากพบว่า ผู้เอาประกันภัยรู้ทั้งรู้ว่าตนป่วยเจ็บ หรือเป็นโรคต้องห้าม แต่ไปให้คำรับรองไว้ว่าไม่เจ็บป่วย หรือเป็นโรคต้องห้าม เช่นนี้แล้ว ย่อมเข้าข่ายว่าผู้เอาประกันปิดบังข้อความจริงอันควรบอกกล่าวให้ผู้รับประกันภัยทราบ เป็นผลทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 และบริษัทผู้รับประกันภัย อาจบอกล้าง หรือบอกเลิกสัญญาได้ทันทีครับ

การทำประกันภัย โดยหลักกฎหมายแล้ว ถือเอาหลักสุจริตมาบังคับใช้เป็นสำคัญ บุคคลใดมีเจตนาปกปิดข้อความจริง เช่น มีโรคประจำตัว หรือเป็นโรคต้องห้าม แล้วยังไปเสนอขอทำสัญญาประกันชีวิต โดยกรอกแบบฟอร์มยืนยันว่า ตนมิได้เป็นโรคต้องห้าม ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากปัญหาอื่น เช่น การไม่อ่านสัญญาหรือแบบฟอร์มที่ลงลายมือชื่อ (มีบ่อยที่สุด) เพราะเชื่อคำบอกเล่าของตัวแทนขาย การเสนอทำประกันโดยเข้าใจผิดว่าป่วยก็ทำได้ (จับประเด็นและตีความโฆษณาผิดไป) เช่นนี้ ถือว่าผู้เอาประกันภัยไม่สุจริตนะครับ การกระทำโดยสุจริตที่ศาลให้ความคุ้มครอง เช่น เป็นคนแข็งแรง และไม่มีประวัติการรักษาโรค แล้วขอทำประกัน โดยให้คำรับรองไปตามจริง แม้ต่อมาภายหลังจะตรวจพบมาเป็นโรคต้องห้าม เช่นนี้สัญญาไม่เป็นโมฆียะนะครับ เพราะถือว่าผู้เอาประกันภัยเสนอขอทำประกันโดยสุจริตมาแต่ต้น

โดยสรุปแล้ว ผมจึงอยากให้ทุกคนตระหนักและทำความเข้าใจถึงสัญญาประกันในรูปแบบต่างๆให้ดีครับ ผู้เอาประกันภัย เป็นผู้ทำคำเสนอขอเอาประกันนะครับ ส่วนบริษัทรับประกันจะเป็นผู้รับสนอง โดยการออกกรมธรรม์ให้ ดังนั้น คำโฆษณาต่างๆ จึงเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้มาทำคำเสนอครับ ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา แต่จะถือเป็นข้อผูกพันประการอื่นใด ซึ่งมีผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามคำโฆษณาหรือไม่ คงต้องรอผลตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่อาจจะมีต่อไปครับ

ด้วยความปรารถนาดี
ปรีชา หยกทองวัฒนา
ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ
www.splalaw.com

2

กฎหมายจากข่าว ภรรยาถอยรถทับสามีเสียชีวิตโดยไม่ตั้งใจ ผิดกฎหมายหรือไม่? อย่างไร ? มาฟังคำตอบจากทนายปรีชากันค่ะ??

จากข่าวที่ภรรยาไม่ถนัดรถเกียร์ออโต้ จึงทำให้ถอยหลังชนสามีเสียชีวิตนั้น หากพิจารณาตามข้อกฎหมายแล้ว จะเห็นได้ว่า ทางฝ่ายภรรยาไม่ได้มีเจตนาที่จะขับรถถอยไปชนผู้ตาย แต่การถอยไปชนผู้ตายนั้น เกิดจากความไม่คุ้นชินกับรถยนต์ที่เป็นระบบเกียร์ออโต้ แม้จะเคยฝึกขับรถมาก่อน แต่ก็เป็นการฝึกหักขับรถแบบใช้เกียร์ธรรมดา ซึ่งต้องถือว่าภรรยายังขาดความชำนาญ ดังนั้นการถอยรถยนต์ไปชนผู้ตาย ซึ่งเกิดจากอาการตกใจ และไม่คุ้นชินกับรถใหม่ จึงเผลอเยียบคันเร่งโดยเข้าใจว่าเป็นเบรคนั้น จึงถือเป็นการกระทำโดยขาดความระมัดระวังตามสมควร ซึ่งบุคคลผู้กระทำพึงจะต้องมีความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ และอาจใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ แต่หาได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรไม่ ซึ่งเป็นการกระทำโดยประมาท เมื่อภรรยาไม่ได้ระมัดระวังในการขับขี่จนทำให้เกิดเหตุถอยรถไปชนสามีเสียชีวิต การกระทำของภรรยาจึงถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งข้อเท็จจริงเรื่องเหตุที่เกิดขึ้น เกิดมาจากความตกใจกลัวประกอบกับความไม่ชำนาญของภรรยา และผู้ตายเป็นสามีตนเองด้วยแล้ว ข้อเท็จจริงนี้ย่อมยกขึ้นเป็นเหตุเพื่อขอให้ศาลลงโทษสถานเบาได้ด้วยครับ

ปรีชา หยกทองวัฒนา
ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ


3
วางระเบิดมีโทษถึงประหารชีวิต !!!
วางระเบิดมีโทษถึงประหารชีวิต !!!
จากเหตุการณ์ที่มีการวางระเบิดที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถือเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้เกี่ยวข้องกำลังเร่งติดตามตัวผู้ก่อเหตุเพื่อนำตัวมาลงโทษ ผมจึงขอพูดถึงความผิดและโทษของการวางระเบิด ตามกฎหมายไทย ว่าได้มีบัญญัติไว้อย่างไรบ้างนะครับ
การวางระเบิด ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาในหมวดความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตามมาตรา 221,222,218 และ 224 ผู้ใดกระทำให้เกิดระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อการกระทำดังกล่าวได้เกิดความเสียหายกับทรัพย์ซึ่งเป็นโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง และยังเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสหลายรายด้วย จึงถือว่าผู้กระทำมีความผิด ตามมาตรา 222 และ 224 ต้องรับโทษหนักขึ้น โดยมีโทษสูงสุด คือประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ลึกซึ้งแล้ว ย่อมจะเห็นได้ว่า ผู้ก่อเหตุประสงค์ให้เกิดการระเบิดขึ้นในที่ชุมชน มีผู้คนพลุกพล่าน ประกอบกับมีการตระเตรียมการที่จะวางระเบิดมาเป็นอย่างดี กรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่า ผู้ก่อเหตุมีเจตนาประสงค์ต่อชีวิตของผู้คนบริเวณนั้นด้วย เพราะระเบิดถือเป็นอาวุธร้ายแรง ที่อาจสังหารบุคคลที่อยู่ใกล้กับการระเบิดได้ทันที การกระทำของผู้ก่อเหตุจึงถือได้ว่ามีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน ตามมาตรา 289 (4) ซึ่งต้องระวางโทษประหารชีวิตสถานเดียวครับ การกระทำที่อุกอาจและก่อความโกลาหลในบ้านเมืองขนาดนี้ไม่ควรจะมีเหตุลดโทษใดๆ แม้คนร้ายจะรับสารภาพก็ตามครับ

ปรีชา หยกทองวัฒนา
ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ

4
ซื้อที่ดินห้ามโอน ย่อมมีความเสี่ยงเสมอ แม้จะทำเอกสารรัดกุมเพียงใดก็ตาม ไม่ทำการกระทำที่ผิดมาแต่ต้นถูกต้องได้ ฎีกาเตือนสติ!!!

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2554
กรณีปัญหาเรื่องนี้ เกิดจากการที่โจทก์ตกลงขายที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอนกับจำเลย โดยโจทก์ทั้งสามและจำเลยได้หลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย โดยตกลงซื้อขายที่ดินรวม 4 แปลงต่อกันในราคา 4,199,850 บาท แต่ทำเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย แล้วโจทก์ทั้งสามส่งมอบการครอบครองที่ดินให้จำเลยเข้าปลูกสร้างอาคารชั้นเดียวจำนวน 21 หลัง และสร้างตลาดสดเก็บค่าเช่า โดยจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยไว้เป็นเวลา 30 ปี เพื่ออำพรางการซื้อขายอีกทั้งโจทก์ทั้งสามยังทำพินัยกรรมไว้ด้วยว่า เมื่อโจทก์ทั้งสามถึงแก่ความตายให้ที่ดินของโจทก์แต่ละคนตกเป็นของจำเลยหรือทายาทผู้จัดการมรดกของจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายและเพิกถอนพินัยกรรม ท้ายที่สุดศาลฎีกาตัดสินให้โจทก์ชนะคดี ซ้ำยังมีข้อความที่วินิจฉัย แสดงให้เห็นว่า ?การกระทำอันเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย ย่อมเป็นผลร้ายเสมอ? ตัวอย่างคดีนี้ จำเลยผู้จะซื้อที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอน แม้ชำระราคาไปแล้ว และศาลพิพากษาว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ ซึ่งคู่สัญญาสมควรที่จะได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามกฎหมายก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงคดีนี้ ศาลฎีกาก็มิได้พิพากษาหรือวินิจฉัยให้มีการคืนเงินค่าที่ดินให้แก่ผู้จะซื้อแต่อย่างใด โดยถือว่า การที่ผู้จะซื้อชำระหนี้ไป เป็นการกระทำการตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จึงไม่มีสิทธิจะได้รับเงินดังกล่าวคืน
อุทาหรณ์/ข้อเตือนใจ
ที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย แม้จะหลีกเลี่ยงกันอย่าง หากศาลฟังข้อเท็จจริงว่า มีการจงใจซื้อขายที่ดินโดยหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย สัญญาที่เกิดขึ้นย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะถือว่าเป็นนิติกรรมที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายนะครับ การชำระหนี้ที่เกิดตามมา จึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจที่มิอาจเรียกคืนได้ ดังนั้น ที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอน แม้จะราคาถูก หรือที่สวยเพียงใด ผู้สนใจซื้อพึงยับยั้งชั่งใจและใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายที่ดินประเภทนี้ด้วยนะครับ

ด้วยความปรารถนาดี
ปรีชา หยกทองวัฒนา
ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ

5
ความรับผิดจากความชำรุดของบันไดเลื่อน
จากกรณีบันไดเลื่อนชำรุดและพังลงมาซึ่งเป็นข่าวดังในขณะนี้ โชคดีมากที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตความรับผิดทางกฎหมายจะเป็นเช่นใด

บันไดเลื่อนที่อยู่ในอาคารสถานที่ต่างๆ มีลักษณะการทำงานขับเคลื่อนโดยเครื่องจักรกล เมื่อเกิดกรณีที่มีบุคคลหรือทรัพย์ ได้รับอันตราย หรือเกิดความเสียหาย จากการใช้บันไดเลื่อน หลายคนคงสงสัยว่า ใครจะเป็นผู้รับชอบความเสียหายดังกล่าว ในเรื่องนี้ เรามาพิจารณากันตามหลักกฎหมายนะครับ ซึ่งคงไม่พ้นหลักกฎหมายเรื่อง ?ละเมิด? ว่าแต่การกระทำละเมิดในลักษณะแบบนี้ ทางกฎหมายเขามีวิธีคิดกันอย่างไร ลองอ่านตามดูนะครับ
อันตรายที่เกิดแก่บุคคลหรือทรัพย์ จากการใช้บันไดเลื่อน หรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่า มูลเหตุแห่งละเมิดนั้น โดยหลักทั่วไปแล้ว ผู้ก่ออันตรายก็ย่อมต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ในเรื่องความเสียหายที่เกิดจากบันไดเลื่อน ที่เกิดแก่ผู้ใช้งาน มีหลักกฎหมายในเรื่องละเมิดอยู่มาตราหนึ่ง ที่กำหนดเป็นหลักว่า ?ผู้มีไว้ในครอบครองของตนซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้น บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ทรัพย์นั้นด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า การเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคสอง
ดังนั้น ตามหลักดังกล่าวข้างต้น บันไดเลื่อน เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีการเคลื่อนที่โดยเดินด้วยเครื่องจักรกล ที่มีกำลังส่งสูง โดยสภาพการใช้งาน หรือโดยความมุ่งหวังแห่งการใช้งาน จึงไม่จะเกิดอันตรายได้ แต่บันไดเลื่อน น่าจะถือว่าเป็นของอาจเกิดอันตรายได้โดยอาการกลไกของทรัพย์นั้น ทั้งนี้โดยพิจารณาเทียบเคียงกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2545 ผู้ครอบครองจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานบันไดเลื่อนครับ
ส่วนที่ว่า ใครจะเป็นผู้ครอบครองซึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายนั้น โดยหลักกฎหมาย ก็ย่อมหมายความถึงผู้ที่เป็นเจ้าของ และ/หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือผู้ที่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายให้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าวครับ ผู้ที่ใช้งานปกติจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ส่วนใครที่ใช้งานผิดวิธี เล่นกระโดด กระแทก เขย่า หรือก่อเหตุใดๆแก่บันใดเลื่อน แล้วเกิดอันตราย ตามกฎหมายถือว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายเองนะครับ เจ้าของเขาสามารถยกเป็นข้อต่อสู้ให้เขาพ้นจากความรับผิดได้ครับ

ด้วยความปรารถนาดี
ปรีชา หยกทองวัฒนา
ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ
www.splalaw.com

6
หุ้นเป็นสินสมรสหรือไม่???
   สาระกฎหมายจากข่าวดัง
   จากกรณีการตายของเสี่ยเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ตามที่มีข่าวดัง และก่อนการตายมีการโอนหุ้นให้แคทดี้สาวเป็นมูลค่าหลายล้านบาทนั้น มาลองดูตามหลักกฎหมายนะครับว่าหุ้นนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ และหากปรากฎว่าหุ้นนั้นเป็นสินสมรสแล้วภรรยาจะสามารถเรียกคืนได้หรือไม่
   มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือในกรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรมหรือการให้ที่ระบุว่าเป็นสินสมรส หรือกรณีที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
   ทางด้านสินส่วนตัวนั้น หมายถึง ทรัพย์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส หรือที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ หรือการได้รับมรดก การให้โดยเสน่หา
   จากกรณีการโอนหุ้นไปให้แคทดี้สาวนั้น อันดับแรกต้องพิจารณว่าหุ้นดังกล่าวได้มาขณะสมรสหรือก่อนสมรส หากเป็นกรณีที่ได้มาก่อนสมรส หุ้นนั้นเป็นสินส่วนตัว ซึ่งอำนาจการจัดการสินส่วนตัว ตกเป็นสิทธิของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นผู้จัดการ
   แต่หากปรากฎชัดว่าได้มาระหว่างสมรส หุ้นนั้นก็ตกเป็นสินสมรส อย่างไรก็ตามกฎหมายได้กำหนดว่า หากเกิดกรณีที่ไม่แน่ชัดว่าเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส และอำนาจในการจัดการสินสมรสนั้น สามีและภรรยาต้องจัดการร่วมกัน เช่นในกรณีการให้โดยเสน่หาตามกรณีที่ปัญหาเกิดขึ้น
   ซึ่งหากหุ้นนั้นเป็นสินสมรส ในเรื่องของการให้โดยเสน่หา สามีและภรรยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนถึงจะสามารถทำได้ หากมีการฝ่าฝืนเกิดขึ้น คู่สมรสอีกฝ่ายสามารถฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้ อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นที่ไม่สามารถเพิกถอนได้เช่น คู่สมรสอีกฝ่ายให้สัตยาบันแล้ว หรือบุคคลภายนอกกระทำโดยสุจริต และ เสียค่าตอบแทน แต่การให้โดยเสน่ห์ไม่เสียค่าตอบแทนจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายครับ
   ดังนั้นหากปรากฎว่าหุ้นนั้นเป็นสินสมรส และการโอนหุ้นนี้หากไม่ได้จัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย ทางด้านภรรยาสามารถฟ้องร้องต่อศาลให้เพิกถอนเฉพาะในส่วนที่ตนมีสิทธิได้


7
สืบเนื่องจากเรื่องอุ้มบุญในบทความก่อนที่ได้เคยเขียนถึงการอุ้มบุญตามกฎหมายไทยมาแล้ว บทความนี้จึงเป็นข้อมูลเรื่องการอุ้มบุญตามกฎหมายต่างประเทศกันบ้างครับว่าแต่ละประเทศนั้นมีกฎหมายหรือบทบัญญัติเช่นใด ลองอ่านเป็นความรู้ได้ครับ

ประเทศอินเดีย
ได้นำเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์มาใช้ก่อนที่จะตรากฎหมายมาบังคับใช้เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน กรณีหญิงชาวอินเดียได้รับจ้างตั้งครรภ์ให้กับนายจ้าง เพื่อหาเงินมารักษาสามีที่พิการ จึงเกิดประเด็นเรื่องกฎหมายและจริยธรรมในสังคมตามมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 ได้มีกฎหมายอนุญาตให้หญิงรวมถึงหญิงที่ยังไม่แต่งงานสามารถตั้งครรภ์แทนผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะในลักษณะอาสาหรือรับจ้าง

ปัจจุบันการตั้งครรภ์แทนกลายเป็นธุรกิจที่สามารถหารายได้อย่างง่ายดาย บางหมู่บ้านในประเทศอินเดียนั้นการรับจ้างตั้งครรภ์แทนเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ผู้หญิงชาวอินเดียเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคู่สมรสชาวตะวันตกที่ไม่สามารถมีบุตร หรือแม้แต่คู่สมรสชาวเกย์ ลูกค้าส่วนใหญ่นั้นมาใช้บริการในลักษณะการท่องเที่ยวทางการแพทย์

ประเทศอังกฤษ
มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับตั้งครรภ์แทนที่สลับซับซ้อนโดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับตั้งครรภ์แทนโดยตรงมีสองฉบับ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ได้แก่

1.SurrogacyArrangementAct1985 มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมไม่ให้มีการตั้งครรภ์แทนในเชิงพาณิชย์ โดยถือว่าการจัดหาเป็นคนกลางเพื่อให้มีการตั้งครรภ์แทนเกิดขึ้นและการโฆษณาชักจูงให้มีการตั้งครรภ์แทนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

2.HumanFertilisationandEmbryologyAct1990 มีวัตถุประสงค์หลักที่จะควบคุมการให้บริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์และศึกษาวิจัยตัวอ่อนมนุษย์

ปัจจุบันการรับตั้งครรภ์แทนนั้นไม่ใช่สิ่งที่ต้องห้ามตามกฎหมาย SurrogacyArrangementAct1985 ไม่ว่าจะเป็นการรับตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม แต่กำหนดให้สัญญารับจ้างตั้งครรภ์แทนในประเทศอังกฤษเป็นสัญญาที่ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ไม่ว่าโดยคู่สัญญาฝ่ายใดโดยผลของบทบัญญัติของกฎหมายนี้ คู่สมรสที่ว่าจ้างจึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนส่งมอบเด็กแก่ตนเองได้ และในทำนองเดียวกัน หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนก็ไม่อาจเรียกร้องให้คู่สมรสที่ว่าจ้างชำระค่าตอบแทนตามสัญญาได้เช่นกัน ห้ามคนกลางซึ่งจัดให้มีการตั้งครรภ์แทนมิให้แสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จากการนั้น เว้นแต่จะเป็นการให้คำปรึกษาหรือจัดให้มีการตั้งครรภ์แทนได้มิได้มุ่งทางการค้าหรือหากำไร และห้ามมิให้มีการโฆษณาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทนใดๆ นอกจากนี้ยังกำหนดความรับผิดแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา เช่น เจ้าของ บรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา หรือผู้แจกจ่ายหรือกระจายข้อความนั้นอีกด้วย

ประเทศสหรัฐอเมริกา
สิทธิและเสรีภาพในการสืบพันธุ์เป็นสิ่งที่ได้รับการรับรองภายใต้รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และการมีองค์กรเอกชนที่ดำเนินการเป็นคนกลางในการจัดให้มีการตั้งครรภ์แทนอย่างเป็นระบบ ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการรับตั้งครรภ์แทนมากที่สุดในโลก แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทนในระดับรัฐบาลกลาง (Federal law) ออกมาใช้บังคับ คงมีแต่กฎหมายในระดับมลรัฐ ซึ่งบางรัฐถือว่าการตั้งครรภ์แทนโดยการจ่ายค่าตอบแทนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ในขณะที่บางรัฐมีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ โดยขึ้นอยู่กับแนวนโยบายแต่ละมลรัฐ

กลุ่มที่กำหนดโทษทางอาญาไว้สำหรับการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการรับตั้งครรภ์แทน ซึ่งมี 6 มลรัฐ ได้แก่ มิชิแกน ยูทาห์ วอชิงตัน นิวยอร์ค เคนตั๊คกี้ ดิสทริออฟโคลัมเบีย

กลุ่มที่ถือว่าสัญญารับจ้างตั้งครรภ์แทนชอบด้วยกฎหมายและสามารถนำมาฟ้องร้องบังคับคดีได้ ซึ่งมีจำนวน 4 มลรัฐ คือ นิวแฮมเชียร์ เวอร์จิเนีย ฟลอริดา และเนวาดา

ประเทศฝรั่งเศส
การรับตั้งครรภ์แทนที่ไม่มีประโยชน์ทางพาณิชย์และคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย สำหรับสถานะความเป็นบิดามารดาของเด็กที่เกิดจากการรับตั้งครรภ์แทนเป็นไปตามหลักกฎหมายแพ่ง โดยถือตามหลักการที่ว่า หญิงที่ให้กำเนิดเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กและหากหญิงนั้นมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมาย ชายผู้เป็นสามีย่อมเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กนั้น อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานดังกล่าวนี้สามารถที่จะพิสูจน์หักล้างได้ หากมีการรับตั้งครรภ์แทนที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการผสมเทียมโดยการฉีดเชื้อของชายที่ว่าจ้างเข้าไปในมดลูกของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนนั้นจะเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็ก และในทางปฏิบัติ ชายที่ว่าจ้างนั้นจะได้รับการจดแจ้งว่าเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็ก ส่วนคู่สมรสของชายนั้นจะต้องรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต่อไป

ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ประเทศเยอรมนีมีแนวคิดในการห้ามการตั้งครรภ์ลักษณะพิเศษที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติไว้อย่างเคร่งครัด โดยรัฐบาลได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับตั้งครรภ์แทนสองฉบับ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยคนกลางในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (Adoptionsvermittlungsgesetz1989) โดยห้ามการจัดหาหญิงที่ประสงค์จะรับตั้งครรภ์แทนให้แก่คู่สมรสที่จะว่าจ้างให้มีการตั้งครรภ์แทนหรือหาคู่สมรสที่ต้องการจะว่าจ้างให้แก่หญิงที่ประสงค์จะรับตั้งครรภ์แทน รวมทั้งห้ามมิให้มีการโฆษณาเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวด้วย และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองตัวอ่อน (Embryonenschutzgesetz1990) โดยบัญญัติห้ามแพทย์ใช้เทคนิคการผสมเทียมโดยการฉีดเชื้อหรือย้ายฝากตัวอ่อนให้แก่หญิงที่มีความประสงค์ที่จะส่งมอบเด็กให้แก่คู่สมรสที่ว่าจ้างตามสัญญารับตั้งครรภ์แทน การฝ่าฝืนต่อบทบัญญัตินี้ถือเป็นการกระทำผิดทางอาญาที่มีโทษทั้งจำคุกและปรับตามกฎหมาย โดยผลของกฎหมายฉบับนี้ การรับตั้งครรภ์แทนจึงเป็นสิ่งที่ต้องห้ามตามกฎหมาย

เห็นได้ชัดเจนครับว่าประเทศอินเดียเป็นประเทศที่อนุญาตให้มีการอุ้มบุญได้ค่อนข้างจะเสรี ซึ่งถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ของหญิงอินเดียส่วนหนึ่งเลยทีเดียว เราอยากให้ประเทศของเราเป็นแบบไหนกันครับ

ด้วยความปรารถนาดี
ปรีชา หยกทองวัฒนา
ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ
www.splalaw.com


8
อุ้มบุญโดยชอบด้วยกฎหมายไทย!!!

วันนี้มาว่าด้วยเรื่องของการอุ้มบุญในประเทศไทยนั้นมีการร่างกฎหมายมานาน และเพิ่งมีการประกาศใช้เมื่อไม่นานมานี้ โดยกฎหมายฉบับนี้ มีชื่อเรียกว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งไม่ได้เปิดให้มีการอุ้มบุญโดยเสรี แต่การอุ้มบุญนั้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขตามกฎหมาย ได้แก่

1. สามีภรรยาที่ประสงค์จะอุ้มบุญต้องเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสัญชาติไทย ซึ่งภรรยาไม่อาจตั้งครรภ์...
2. ในกรณีที่สามีหรือภรรยามิได้มีสัญชาติไทยต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
3. หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภรรยา
4. หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องเคยมีบุตรมาก่อนแล้วเท่านั้น
5. ถ้าหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมีสามีโดยชอบหรือมีสามีที่อยู่กินฉันสามีภรรยา ต้องได้รับความยินยอมจากสามีนั้นด้วย
6. ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน
7. เด็กนั้นเป็นบุตรโดยชอบของสามีภรรยาซึ่งประสงค์จะมีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้สามีหรือภรรยานั้นจะตายไปก่อนเด็กเกิด
8. ส่วนชายหรือหญิงที่บริจาคอสุจิหรือไข่ซึ่งนํามาใช้ปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์หรือผู้บริจาคตัวอ่อน และเด็กที่เกิดจากอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนที่บริจาคดังกล่าว ไม่มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกันตามกฎหมาย
 กฎหมายไม่ได้เปิดโอกาสให้มีการรับตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า (ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท) และห้ามมิให้มีคนกลาง หรือนายหน้าเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อชี้ช่องหรือจัดการให้มีการตั้งครรภ์แทน อีกทั้งห้ามโฆษณาเกี่ยวกับการรับตั้งครรภ์แทน (ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท) การกระทำการที่ฝ่าฝืนดังกล่าวนั้นมีโทษตามที่กฎหมายกำหนด


ดังนั้นในกรณีมีคู่รักร่วมเพศที่มาว่าจ้างอุ้มบุญในประเทศไทยที่กำลังเป็นข่าวโด่งดังในขณะนี้ เนื่องจากแม่อุ้มบุญไม่ยินยอมส่งมอบเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญให้ตามที่ได้ตกลงกัน จนเกิดกระแสสังคม และการนำเสนอข่าวอย่างกว้างขวางนั้ น เราลืมตระหนักไปหรือไม่ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายไทย ทั้งคนที่มาว่าจ้างอุ้มบุญ คนที่รับจ้าง และนายหน้า (Agency) ที่จัดให้มีการอุ้มบุญขึ้น ล้วนแล้วแต่กระทำผิดกฎหมายทั้งสิ้น การนำเสนอของสื่อจึงควรระมัดระวังที่จะไม่เป็นการชี้ช่องหรือสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการรับจ้างอุ้มบุญ หรือเช่ามดลูกกันอย่างเปิดเผย จนทำให้สิ่งที่ผิดกฎหมายกลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายไป ซึ่งประเทศเราไม่ได้รองรับสิ่งเหล่านี้เหมือนในประเทศอินเดีย การที่สื่อถามเปรียบทียบการตัดสินใจมาอุ้มบุญในไทยกับอินเดีย จึงไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะอาจทำให้ประเทศของเราเป็นแหล่งหนึ่งในกระบวนการค้ามนุษย์ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ ณ ปัจจุบันครับ

ขอเพิ่มเติมข้อมูลนะครับ พรบ.อุ้มบุญฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเษกษาเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2558 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2558 ดังนั้น ในกรณีที่เป็นข่าวจึงยังไม่สามารถนำพรบ.ฉบับนี้มาใช้บังคับได้ แต่การพิจารณาประเด็นนี้เราก็ต้องกลับไปสู่หลักกฎหมาย นั่นคือ ก่อนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. .... บังคับใช้ ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดสถานภาพของเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์และการรับตั้งครรภ์แทนไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้น การพิจารณาสถานภาพของเด็กจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวมาบังคับใช้โดยอนุโลม กล่าวคือ ความเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็ก มาตรา 1546 กำหนดให้หญิงที่ให้กำเนิดบุตรเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพการสมรสของหญิงนั้น แต่ความเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายต้องพิจารณาจากสถานภาพการสมรสของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน หากหญิงนั้นสมรสตามกฎหมาย กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน (มาตรา 1563) หากหญิงนั้นไม่มีการสมรสตามกฎหมาย เด็กก็ไม่มีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย คู่สมรสที่เป็นผู้ว่าจ้างซึ่งมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับเด็กซึ่งต้องมีสถานะเป็นพ่อแม่บุญธรรมของเด็ก โดยจะต้องรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งต้องเป็นไปตามกฎหมายในเรื่องของการรับบุตรบุญธรรมครับ

เราเห็นใจ สงสารได้ แต่ต้องไม่ลืมหลักการของกฎหมายและผลกระทบต่อประเทศของเรานะครับ อย่างไรก็ขอให้ตกลงกันได้นะครับ

ปรีชา หยกทองวัฒนา
ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ
www.splalaw.com


9
หมิ่นประมาท กับดุลพินิจในการรอลงอาญา

หมิ่นประมาท กับดุลพินิจในการรอลงอาญา

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า คดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาท เป็นคดีความผิดเล็กน้อย และเป็นความผิดอันยอมความได้ แม้โดยมากจะเป็นที่รู้กันว่า คดีประเภทนี้ ศาลมีโอกาสที่จะพิพากษาให้รอการลงโทษได้มากกว่าการที่จะพิพากษาให้จำเลยที่กระทำผิดต้องโทษจำคุกเพราะว่าเป็นคดีอาญาประเภทความผิดที่ไม่ร้ายแรง ถ้าผู้กระทำความไม่เคยกระทำผิดมาก่อน และมีเหตุสมควรให้รอการลงโทษอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ตามที่เป็นข่าวตามหน้าสื่อต่างๆ จะเห็นได้ว่า คดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาบางกรณี ศาลอาจพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่รอลงอาญาได้นะครับ เรามาดูองค์ประกอบ หรือเหตุที่ศาลหยิบยกมาวินิจฉัยกันแบบสรุปนะครับ

1.พิจารณาจากตัวผู้กระทำความผิด เช่น เป็นคนมีความรู้สูง เป็นคนมีชื่อเสียง เป็นคนที่เป็นบุคคลสาธารณะ ที่มีโอกาสที่จะชี้นำทางสังคมได้


2.ใช้สื่อสาธารณะในการใส่ความบุคคลอื่น


3.เรื่องที่ใส่ความ ไม่เป็นความจริง หรือ เป็นความจริงแต่ไม่ใช่เรื่องที่สังคมควรรับรู้


4.ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกใส่ความเป็นอย่างมาก โดยอาจพิจารณาสถานะทางสังคมของผู้เสียหายประกอบด้วย


การใส่ความบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่กฎหมายให้ความคุ้มครองไว้นะครับ การเผยแพร่ข้อเท็จจริงใดๆไปตามสื่อสาธารณะ แม้บางเรื่องเป็นความจริง แต่หากเป็นการใส่ความผู้อื่น ก็อาจเข้าข่ายเป็นความผิดอาญาได้ครับ ในปัจจุบันจึงต้องพึงระวังและไตร่ตรองถึงการพูดพาดพิงถึงบุคคลอื่นให้ดี ยิ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในแวดวงสื่อสารมวลชนยิ่งต้องพึงระวังนะครับ ตัวอย่างก็มีให้เห็นกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรณี พิธีกรชื่อดังที่ศาลไม่รอลงอาญา และล่าสุดคือ กรณีนักการเมืองคนหนึ่งที่ศาลได้พิพากษาให้จำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญาเช่นกันครับ

ด้วยความปรารถนาดี

ปรีชา หยกทองวัฒนา

ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ

www.splalaw.com

10
โพสต์ภาพลามกอนาจารมีความผิดตามกฎหมายอย่างไร???

สำหรับการโพสต์ภาพหรือคลิปวีดีโอลามกอนาจารนั้น นอกจากจะเข้าข่ายเป็นความผิดตามพรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับสูงสุด 200,000 บาทแล้ว
ยังอาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วยนะครับ
ซึ่งความผิดทั้งสองฐานนั้น แตกต่างกัน โดยความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องการนำเข้าซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันลามากอนาจาร ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ ส่วนความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นเรื่องการใส่ความบุคคลอื่นต่อบุคคลที่สามครับ ซึ่งเจ้าตัวหรือบุคคลในภาพหรือในคลิปที่ถูกนำออกเผยแพร่ อาจไม่ได้ยินยอมด้วยในการนำคลิปออกเผยแพร่ต่อบุคคลที่สาม หรือยิ่งไปกว่านั้น หากมีการอ้างชื่อบุคคลที่หน้าตาคล้ายคลึงกันไว้ด้วย แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่คนในคลิปลามกดังกล่าว คนที่ถูกอ้างชื่อ ก็ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการใส่ความดังกล่าวเช่นกันครับ
ผู้เสียหายในความผิดที่เกี่ยวข้อง ก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าวได้ด้วย เพราะถือเป็นการกระทำละเมิดตามกฎหมายครับ

ด้วยความปรารถนาดี
ปรีชา หยกทองวัฒนา
ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ

11
ความเห็นทางกฎหมายของทนายปรีชากรณีบ้านยุบ!!! #ทนายปรีชา

กรณีการซื้อขายบ้านในโครงการจัดสรร เป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประเภทบ้านจัดสรร ที่ผู้ซื้อย่อมต้องมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย การซื้อขายจึงเป็นการซื้อที่ดินที่มีราคารวมสิ่งปลูกสร้างคือบ้าน ตัวบ้าน และที่ดินโดยรอบบ้าน จึงเป็นวัตถุแห่งหนี้ครับ
ตามหลักสัญญาซื้อขาย ในเรื่องของหน้าที่ความรับผิดของผู้ขาย มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ซื้อขาย กล่าวคือ บ้านและที่ดินสำหรับใช้อยู่อาศัย วิญญูชน (คนทั่วไป) คงมุ่งหวังที่จะใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัยตลอดไป (เปรียบเทียบกับการอนุมัติระยะเวลาผ่อนชำระบ้านที่ธนาคารกำหนดให้ผ่อนได้สูงสุดถึง 30 ปี ย่อมหมายความว่า บ้านจัดสรรทั่วไป โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโครงสร้าง ย่อมสมควรที่จะใช้งานได้ตามปกติเป็นระยะเวลานานใกล้เคียงกัน) ซึ่งตามมาตรฐานสากล คงต้องเป็นไปตามหลักทางสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมครับ

สำหรับการที่บ้านจัดสรรโครงการดัง เกิดเหตุดินยุบตัวอย่างหนัก บางบ้านยุบตัวลึกลงไปถึง 50 cm. ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากการรับมอบทรัพย์สินมานานระยะหนึ่งแล้ว ตามหลักกฎหมาย จึงเป็นกรณีที่เกิดความชำรุดบกพร่อง (พื้นดินส่วนโรงรถทรุดตัวอย่างหนัก) แก่ทรัพย์สินที่ซื้อขาย ภายหลังจากส่งมอบแล้ว และความชำรุดดังกล่าว เป็นความชำรุดที่ไม่อาจเห็นได้ในขณะส่งมอบทรัพย์สิน เป็นเหตุให้ผู้ซื้อเสื่อมประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์สินที่ซื้อขาย เช่นนี้ ผู้ขายยังมีหน้าที่ต้องรับผิดในการแก้ไขเยียวยาผลร้ายตามสัญญาซื้อขายนะครับ

ส่วนผู้ขายจะเยียวยาด้วยวิธีการใด เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ แต่ตามหลักกฎหมาย การทรุดตัว หากเกิดขึ้นขนาดหนักจนถึงขนาดไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้เลย ผู้ซื้ออาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย โดยให้ผู้ขายชดใช้ค่าบ้านคืน ก็อาจทำได้ครับ ประเด็นสำคัญคือ สิทธิในการเรียกให้ผู้ขายแก้ไขเยียวยา ผู้ซื้อจะต้องใช้สิทธิทางศาลภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่พบความชำรุดบกพร่องนะครับ

12
จากกรณีร้านกาแฟแห่งหนึ่งเรียกเก็บค่านั่งในร้านชั่วโมงละ 1,000 บาท นอกเหนือจากค่ากาแฟ ตามที่เป็นข่าวโด่งดังในโซเซียล ขอตอบตามหลักกฎหมายง่ายๆนะครับ
1. ให้ดูเบื้องต้นก่อนว่าเป็นสัญญาอะไร กรณีนี้ ค่าบริการนั่งในร้าน ที่ไม่ใช่ค่าอาหาร แม้จะเขียนว่า Open food ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกเก็บเงินตามสัญญาซื้อขาย แต่สัญญาดังกล่าว มีลักษณะเป็นการเรียกเก็บเงินตามระยะเวลาที่ลูกค้าเข้าใช้บริการในร้าน จึงถือได้ว่า เข้าข่ายเป็นสัญญาบริการชนิดหนึ่ง (ภาษากฎหมายเรียกว่า ?สัญญาไม่มีชื่อ?) คล้ายๆกับสัญญาบริการที่จอดรถ
2. เงินที่เรียกเก็บจึงเป็น ?ค่าบริการ? ไม่ใช่ค่าสินค้า
3. ส่วนร้านค้าจะมีสิทธิเรียกเก็บหรือไม่ ก็คงต้องวินิจฉัยจากจุดเริ่มต้นของสัญญาครับ หลักง่ายๆว่า บ่อเกิดของสัญญา คือ คำเสนอ คำสนอง ต้องตรงกัน แปลว่า ผู้ให้บริการได้เสนอราคาแล้ว และผู้ใช้บริการได้สนองรับแล้ว กรณีปัญหาที่เกิดขึ้น จึงต้องตีความให้ชัดเสียก่อนว่า เอกสารใบแจ้งราคา ใบเล็กๆ ตามที่ผู้ตั้งกระทู้บอกเล่านั้น ถือเป็นคำเสนอหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ให้บริการ เปิดดำเนินการธุรกิจร้านกาแฟ แบบมีโต๊ะนั่ง จึงน่าเชื่อว่า ราคาสินค้าได้รวมบริการโต๊ะนั่งทานไว้ด้วยแล้ว ดังนั้น การตั้งป้ายเสนอราคาค่าบริการใช้สถานที่ หากผู้ให้บริการประสงค์จะเรียกเก็บจริง จะต้องมีรายการแสดงที่ชัดแจ้งครับ การทำใบแจ้งราคาขนาดเล็ก จึงไม่ถือเป็นคำเสนอครับ การที่ลูกค้านั่งทานกาแฟ จึงแปลความได้ว่า ลูกค้านั่งทานกาแฟตามสัญญาซื้อขายเท่านั้นครับ ไม่ได้แปลความว่า ลูกค้าได้แสดงเจตนาสนองรับคำเสนอเรียกเก็บค่าบริการนั่งในร้านเป็นรายชั่วโมงโดยปริยายนะครับ ร้านจึงไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะเรียกเก็บค่าบริการใช้สถานที่ครับ

13
บริษัท เอสพีแอลเอ ลอว์ จำกัด โดยทนายปรีชา หยกทองวัฒนา จัดอบรมประจำปีให้แก่พนักงานในหัวข้อที่น่าสนใจ และเหมาะแก่การใช้ชีวิตของพนักงาน ดังนี้
  - ข้อควรรู้ในการใช้บัตรเครดิต
  - การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่อการถูกโกง
  - กฎหมายค้ำประกันแก้ไขใหม่
  - กฎหมายทวงหนี้ล่าสุด
  - การอายัดเงินจากการทำงาน
  - หัวข้ออื่นๆตามที่บริษัทต้องการ (ถ้าหากมี)
โดยจะใช้เวลาไม่เกิน 3 ชม.
บริษัทหรือกลุ่มบุคคลสาขาอาชีพใดสนใจ สามารถแจ้งนัดอบรมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 อาทิตย์ค่ะ

ค่าอบรมเริ่มต้นเพียง 5,900 บาทต่อคอร์ส เท่านั้น ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าอบรม (ไม่รวมค่าเดินทางกรณีต่างจังหวัด)
(หากเป็นคอร์สเล็กสามารถแจ้งปรับราคาได้ตามความเหมาะสม)

ติดต่อได้ที่คุณศิริขวัญ โทร 0897881248,0863079407, คุณบุษบา โทร 0816024633

ประวัติทนายความโดยสังเขป
ทนายปรีชา หยกทองวัฒนา
ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับสอง) พ.ศ. 2541
-เนติบัณฑิตไทย พ.ศ. 2546
-ผ่านการอบรมวิชาว่าความ สานักอบรมศึกษาวิชาว่าความ สภาทนายความ รุ่นที่ 15 พ.ศ. 2541
- ผ่านการอบรมทนายความผู้ทาคารับรองลายมือชื่อและเอกสารจากสภาทนายความ (Notarial Services Attorney)
มีความเชี่ยวชาญในข้อกฎหมาย/อรรถคดี/บัตรเครดิต /ที่ปรึกษากฎหมายด้านแรงงาน

14
"มึงโกงกู" ด่ากันแบบนีเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ !!!

โจทก์และจำเลยทะเลาะโต้เถียงกันด้วยความโกรธ ต่างคนต่างว่าซึ่งกันและกัน ที่จำเลยพูดว่า "มึงโกงกู" เป็นคำโต้ตอบโจทก์เนื่องจากจำเลยไม่เชื่อว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ให้จำเลยแล้วโดยการโอนเงินผ่านธนาคาร จะถือว่าจำเลยเจตนาใส่ความโจทก์อันจะเข้าลักษณะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่ได้
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2557)

15
ก่อสร้างอาคารชุด ติดกระจกรอบอาคาร ทำให้แสงแดดส่องสะท้อนเข้าไปในบ้านข้างเคียง เจ้าของอาคารชุดต้องรับผิดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772/2557


 โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยสร้างอาคารชุดรวม 5 หลัง โดยติดตั้งกระจกรอบตัวอาคาร ในระหว่างเดือนพ.ย. ถึงเม.ย.แสงแดดกระทบกับกระจกอาคารของจำเลยสาดเข้าไปในบ้านของโจทก์ ทำให้เกิดแสงสว่างและอุณหภูมิในบ้านสูงขึ้นมากจนไม่สามารถพักอาศัยได้อย่างปกติสุข ได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร

ด้วยความหวังดี
ทนายปรีชา หยกทองวัฒนา

ศาลเห็นว่า กรณีบุคคลใดใช้สิทธิของตน เป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร แม้สิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังให้ความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป จะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของเจ้าของอสังหาฯก็ตาม แต่การที่โจทก์อาศัยอยู่ในบ้านและได้รับผลกระทบจากแสงสว่างที่สะท้อนจากอาคารของจำเลยสาดส่องเข้าไปในบ้าน การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

ศาลฎีกาพิพากษา...ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ร่างกายและจิตใจ รวมทั้งค่าตรวจสุขภาพรายปี ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ คนละ 10,000 บาทต่อปี และค่าเสียโอกาสใช้สอยพื้นที่หน้าบ้านทั้งสามหลังรวม 7,000 บาทต่อปี

ปัจจุบันมีการสร้างตึกสูงมากมายผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด แม้จะก่อสร้างในที่ดินของตนเอง และออกแบบถูกต้องผ่านขั้นตอนตามกฎหมายเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่เจ้าของอาคารก็พึงควรระวังไม่ทำให้เพื่อนบ้านข้างเคียงเดือดร้อนรำคาญด้วย มิเช่นนั้นก็อาจจะเกิดเหตุดราม่าอย่างเช่นฎีกานี้ได้

***หลักกฎหมายในเรื่องนี้ คือ การใช้สิทธิเกินส่วน ซึ่งหมายถึง แม้บุคคลใดจะกระทำตามสิทธิที่ตนมี แต่ก็ต้องไม่กระทบบุคคลอื่นเกินสมควรนะครับ

16

"ไอ้แก่ แก่แล้วเลอะเลือน"
เป็นคำที่ลูกด่าพ่อ พ่อจะเพิกถอนการให้ที่ดินแก่ลูกได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2557


 พ่อยกที่ดินให้ลูกโดยเสน่หา ต่อมาลูกยักยอกเงินพ่อไป 7 ล้านบาท พ่อไปทวงคืน ลูกพูดว่า ?ไอ้แก่ แก่แล้วเลอะเลือน?

ศาลฎีกา..เห็นว่า การที่บุตรเรียกบิดาว่า "ไอ้แก่" ก็เป็นคำด่าแล้ว ทั้งยังพูดอีกว่า "ไอ้แก่ แก่แล้วเลอะเลือน" จึงเป็นการด่าบิดา โดยไม่ให้ความเคารพนับถือและยำเกรง หยาบคาย แสดงถึงการเหยียดหยามดูแคลนต่อบิดาของตนเอง เป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทบิดาอย่างร้ายแรง

พิพากษาให้ลูก..จดทะเบียนโอนที่ดินสองแปลงคืนแก่พ่อไป


 ดังนั้น ไม่ว่าใครให้ทรัพย์สินแก่เรา ผู้ให้ย่อมมีความรัก ความปรารถนาดีต่อเรา ถ้าเราไปด่าทอผู้ให้อย่างร้ายแรง ย่อมกระทบกระเทือนจิตใจผู้ให้เป็นอย่างมาก นอกจากจะถูกตราหน้าว่าเป็น "คนเนรคุณ" แล้ว กฎหมายยังถือว่าผู้รับประพฤติเนรคุณต่อผู้ให้ อันเป็นเหตุที่ผู้ให้สามารถเพิกถอนคืนการให้นั้นได้

ด้วยความหวังดี
ทนายปรีชา หยกทองวัฒนา

17
บริษัท เอสพีแอลเอ ลอว์ จำกัด (SPLALAW) มีแผนกงานทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร (NOTARIAL SERVICES ATTORNEY) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ.2551 จึงมีความยินดีในการขอเสนออัตราค่าวิชาชีพทนายความในการทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ดังต่อไปนี้

รับรองลายมือชื่อในเอกสาร เช่น หนังสือมอบอำนาจ , ใบกำกับราคาสินค้า , หนังสือรับรองความประพฤติ , หนังสือรับรองการเงินที่ออกโดยธนาคาร เป็นต้น   เริ่มต้นที่ 1,500 บาท
รับรองเอกสารการทะเบียนราษฎรและเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น ใบสูติบัตร , บัตรประจำตัวประชาชน , มรณะบัตร , หนังสือเดินทาง เป็นต้น   เริ่มต้นที่ 2,000 บาท
รับรองเอกสารการทะเบียนครอบครัว เช่น ทะเบียนสมรส , ทะเบียนหย่า , หนังสือรับรองความโสด เป็นต้น   เริ่มต้นที่ 2,000 บาท
รับรองเอกสารการทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ทะเบียนนิติบุคคล , ใบทะเบียนการค้า , หนังสือบริคณห์สนธิ , งบดุล เป็นต้น   เริ่มต้นที่ 2,500 บาท
รับรองเอกสารการศึกษา เช่น ประกาศนียบัตร , ปริญญาบัตร เป็นต้น   เริ่มต้นที่ 2,000 บาท
รับรองเอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารการผ่านงาน , ใบอนุญาตขับขี่ , หนังสือเดินทาง , รับรองการประนีประนอมยอมความ , คำสาบาน , รับรองการลงลายมือชื่อเป็นพยาน , สมัครทำงาน , สมัครสอบ เป็นต้น   เริ่มต้นที่ 2,000 บาท
รับรองคำแปลเอกสาร , รับรองผู้แปล   เริ่มต้นที่ 2,500 บาท
รับรองนิติกรรมที่เอกชนทำขึ้น   เริ่มต้นที่ 2,500 บาท
รับรองตัวบุคคล   เริ่มต้นที่ 2,000 บาท
รับรองข้อเท็จจริง   เริ่มต้นที่ 2,500 บาท

หมายเหตุ : อัตราค่าบริการยังไม่รวมค่าเดินทาง หากต้องเดินทางไปทำคำรับรองนอกสำนักงาน บริษัทจะเบิกค่าเดินทางเพิ่มเติมตามอัตราที่จะได้ตกลงต่อกัน

ต้องการติดต่อ 0819881845 , 0897881248 ทนายปรีชาครับ

18
แชท โซเซียลส่วนตัวในที่ทำงาน นายจ้างเลิกจ้างได้ ถือว่าเป็นธรรมนะครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2557
      ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553 ค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท จ่ายทุกวันที่ 30 ของเดือน มีระยะเวลาทดลองงาน 3 เดือน ในระหว่างระยะเวลาทดลองงานจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ให้มีผลทันที เนื่องจากในเวลาทำงานโจทก์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยเล่นอินเตอร์เน็ตพูดคุยในเรื่องส่วนตัวและบันทึกข้อความทางอินเตอร์เน็ตเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมงก็มี ตามเอกสารหมาย ล.3 ถึง ล.6 ถือว่าโจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยไปในเรื่องไม่เกี่ยวกับงาน ทั้งที่อยู่ในระหว่างทดลองงานแทนที่จะทุ่มเททำงานให้จำเลยอย่างเต็มที่ โจทก์ทำงานด้านบัญชีจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ มิฉะนั้น จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำประการอื่นไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยมิพักต้องบอกกล่าวหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าสินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยทำในเรื่องส่วนตัวย่อมจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์เช่นกัน
     ที่โจทก์อุทธรณ์ประการแรกว่า การกระทำของโจทก์ไม่ถึงกับเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฎิบัติหน้าที่ของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เนื่องจากโจทก์มิได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง และจำเลยไม่ได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวระบุเพียงว่า ถ้าลูกจ้างทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า...เท่านั้น หาได้ขยายความไปถึงกับว่าเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงแต่อย่างใดไม่ อย่างไรก็ตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่ฟังว่าพฤติกรรมของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
      ที่โจทก์อุทธรณ์ประการต่อมาว่า หนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.10 ระบุเหตุเลิกจ้างว่า การปฏิบัติงานของโจทก์ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ...ไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง จึงเป็นการกระทำประการอื่นไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เป็นคำวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้นายจ้างยกเหตุอื่นขึ้นอ้างในภายหลังนอกจากเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างมาเป็นข้อต่อสู้ในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง ย่อมเป็นเหตุให้งานในหน้าที่บกพร่องและล่าช้า ต่ำกว่ามาตรฐานที่จำเลยต้องการและไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เหตุดังกล่าวก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงกัน มิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
     พิพากษายืน

19
ผิดเพราะไว้ใจ เชื่อใจ และประมาท (การร่วมทุนทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงเสมอ)

เรื่องนี้เป็นการตกลงใจเข้าร่วมทำธุรกิจด้วยกัน ระหว่างผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจประเภทเดียวกัน โดยการประสานและชักชวนของนายโกง (นามสมมุติ) หลังจากรู้จักกันมาปีกว่าๆ เนื่องจากนายโกงนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรม ซึ่งได้ขายโปรแกรมให้แก่ผู้ที่ทำธุรกิจในแวดวงหนึ่งจนได้รู้จักกับผู้ประกอบธุรกิจหลายราย หลังจากนั้นนายโกงก็ได้ชักชวนนายเอ นายบี นายซี มาร่วมทุนกับตน โดยลงเงินคนละ 2 ล้าน ซึ่งไม่ต้องจ่ายเต็มก็ได้ ผ่อนๆไป นายเอ นายบี นายซี เพียงแค่ลงเงินเท่านั้น เพราะตนรู้ว่าทั้งสามไม่ค่อยมีเวลา อีกทั้งอยู่ต่างจังหวัด ตนจะเป็นผู้บริหารธุรกิจเองโดยคิดค่าจ้างบริหารเดือนละหนึ่งแสนบาท และให้พ่อตนเข้าร่วมเป็นผู้ถือหุ้น

นายโกงและแม่สร้างความสนิทคุ้นเคยกับเอ บี ซี และพาเอ บี ซีไปออกหน้าร่วมในเคมเปญต่างๆทางธุรกิจตลอด โดยภาพลักษณ์เป็นไปอย่างสวยงาม ถึงขั้นมีทริปไปดูงาน (เที่ยว) ต่างประเทศ ระหว่างนั้นการทำธุรกิจเป็นภาพที่สวยงามมาก แต่ก็ไม่มีการปันผลใดๆ นั้นหมายถึงทุกคนยังไม่ได้ผลตอบแทน เพราะนายโกงบอกว่าอยู่ในระหว่างการระดมทุน การโฆษณา ในการดำเนินธุรกรรมต่างๆนายโกงจะเป็นผู้ทำทั้งสิ้น โดยนายโกงได้ขอเอกสารส่วนตัวจากผู้ร่วมลงทุนไปคนละชุดตั้งแต่ครั้งแรกที่จัดตั้งบริษัท

เมื่อถึงเวลาสิ้นปีนายโกงได้เรียกระดมทุนเพิ่ม เพราะอ้างว่าธุรกิจขาดทุน จนหุ้นส่วนทุกคนงงมาก จึงเป็นที่มาของการขอตรวจสอบบัญชี และพบการทำธุรกรรมทางการเงิน การเปิดบัญชีในนามหุ้นส่วนคนหนึ่งโดยปลอมลายมือชื่อและเบิกถอนเงินมาโดยตลอด ชนิดที่เรียกว่าลายมือที่แท้จริงยังสู้ลายมือปลอมไม่ได้ ถึงขั้นมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันหลายคดี เพราะนายโกงกับแม่ก็สู้ยิบตาเหมือนกัน

ความซวยมาตกที่หุ้นส่วนตรงที่การออกหน้ากับลูกค้าต่างๆในนามบริษัท นายโกงได้ให้หุ้นส่วนทั้งหมดเป็นผู้ออกหน้า อีกทั้งเมื่อธุรกิจส่อเค้าไม่ดี นายโกงก็ปิดเวปไซส์และยังใส่ข้อมูลชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรของหุ้นส่วน เผื่อให้ลูกค้าติดต่อ จนหุ้นส่วนทุกคนต้องรับโทรศัพท์กันหัวหมุน ปัญหาสำคัญในการฟ้องร้องดำเนินคดีคือ นายเอ บี ซี แทบจะไม่มีเอกสารเกี่ยวกับบริษัท เพราะไว้ใจ เพราะไม่มีเวลา เพราะไม่รอบคอบ แต่อยากทำธุรกิจ

เรื่องนี้มีความซับซ้อนอีกมาก ขอเล่าเบาๆเพียงเท่านี้นะคะ

ข้อคิดดีๆ คือ การคิดทำธุรกิจเราควรเริ่มจากตัวเราเองเป็นหลัก เมื่อไรก็ตามที่มีการร่วมหุ้น ร่วมทุน ทุกอย่างต้องชัดเจน เราเองก็ต้องมีความสนใจ ใส่ใจ รอบคอบ เรื่องเอกสารเป็นสิ่งสำคัญอย่าปล่อยปละละเลย ถ้าเราสร้างความชัดเจนตั้งแต่ต้นปัญหาจะลดน้อยลง เงินเป็นสิ่งที่ไม่เข้าใครออกใคร และทำให้จิตใจคนเปลี่ยนค่ะ

ขอบคุณในการติดตามอ่านค่ะ

ทนายพี่เปิ้ล

SPLA LAW Co.,Ltd

Tel.089-7881248

ติดตามอ่านเรื่องเล่าดีๆเกี่ยวกับปัญหากฎหมายได้ที่ http://www.oknation.net/blog/pieapplelaw/2014/10/16/entry-1
นะครับ>>>ทนายปรีชาแนะนำครับ

20
รูปแบบองค์กรธุรกิจในประเทศเวียดนามมี 5 รูปแบบ ดังนี้
1. ธุรกิจในครัวเรือน (Household Business)
ธุรกิจที่มีการจ้างแรงงานไม่เกิน 10 คน และประกอบธุรกิจได้เพียงแห่งเดียวในเวียดนามเท่านั้น
บุคคล คณะบุคคล หรือครัวเรือนที่มีสัญชาติเวียดนามและมีอายุเกิน 18 ปีสามารถจดทะเบียนเป็นธุรกิจใน
ครัวเรือนได้ เจ้าของธุรกิจในครัวเรือนมีภาระต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นของธุรกิจด้วยทรัพย์สินของตัวเอง

2. กิจการเจ้าของเดียว (Private Enterprise)
ธุรกิจที่เจ้าของกิจการมีภาระต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นของกิจการด้วยทรัพย์สินของตัวเอง โดย
ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล และไม่สามารถออกหุ้นได้

3. ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
ธุรกิจที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนตัง้ แต่ 2 คนขึน้ ไปเป็นเจ้าของและดำเนินกิจการร่วมกันภายใต้ชื่อกิจการ
เดียวกัน ห้างหุ้นส่วนไม่สามารถออกหุ้นได้
สำหรับหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ ผู้เป็นหุ้นส่วนมีภาระต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นของ
ห้างหุ้นส่วนด้วยทรัพย์สินอย่างไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามารถมีหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดได้
ซึ่งหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบมีภาระต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นเท่ากับจำนวนเงินที่ลงทุนไว้เท่านัน้

4. บริษัทจำกัด (Limited Liability Company)
บริษัทที่ตัง้ ขึน้ ด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่
เกินจำนวนเงินที่ตนยังชำระไม่ครบตามมูลค่าหุ้นที่ตนได้ถืออยู่ มีสถานะเป็ นนิติบุคคลนับตัง้ แต่วันออก
หนังสือรับรองการจดทะเบียน บริษัทจำกัดไม่สามารถออกขายหุ้นสู่สาธารณะได้
บริษัทจำกัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) บริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นมากกว่าหนึ่งราย(Limited
liability company with more than one member) และ (2) บริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นรายเดียว (Limited
liability company with one member)
โดยผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นและภาระอื่นๆของบริษัทไม่เกินกว่าจำนวน
เงินลงทุนที่ได้ให้ไว้กับบริษัท

5. บริษัทถือหุ้น (Shareholding Company)
บริษัทถือหุ้นหรือบริษัทมหาชน เป็นกิจการที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลนับตัง้ แต่วันออกใบรับรองการ
จดทะเบียน เงินลงทุนของบริษัทถูกแบ่งออกเท่าๆ กันเป็นหุ้น บริษัทสามารถออกหุ้นสู่สาธารณะเพื่อเพิ่มทุนได้
ผู้ถือหุ้นมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทตามสัดส่วนของหุ้นที่ซือ้ ไว้ บริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 ราย
ขึน้ ไป ผู้ถือหุ้นต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นและภาระอื่นๆของบริษัทไม่เกินกว่าจำนวนเงินลงที่ได้ให้ไว้กับบริษัท

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าครับ

21
เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจากการทำงานของผู้เขียน ซึ่งได้รับการติดต่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย เมื่ออยู่มาวันหนึ่งคุณป้าซินเดอเรล่า (นามสมมุติ) ได้รับเอกสารแจ้งหนี้จากบริษัทบริหารจัดการหนี้ว่า คุณป้ามียอดหนี้ตามคำพิพากษา 70 กว่าล้านบาท ขอให้ติดต่อชำระ  มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย คุณป้าซินเดอเรล่าผู้เป็นข้าราชการบำนาญ มีตำแหน่างอดีตอาจารย์มหาลัยชื่อดังผู้ซึ่งมีระเบียบการใช้เงินเป็นอย่างดี แม้แต่บัตรเครดิตป้าแกยังไม่กล้าใช้ ป้างงมากว่าเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวได้อย่างไร
เราเลยไปสืบหาความจริงกัน โดยไปขอสืบค้นและคัดถ่ายเอกสารตามเลขคดีซึ่งบริษัทบริหารจัดการหนี้ได้อ้างอิงมา จึงพบเอกสารสำคัญซึ่งทำให้คุณป้าเป็นหนี้ นั่นคือ เอกสารการยินยอมให้สามีของคุณป้ากู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง จนมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น เอกสารที่คุณป้าลงนามแต่งตั้งทนายความเข้ามาในคดี ซึ่งคุณป้าไม่เคยทราบมาก่อน
ต้นสายปลายเหตุมาจากการที่คุณป้าแกไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวในธุรกิจของสามีเลยตลอดระยะเวลาการเป็นสามีภรรยากัน เนื่องด้วยไม่มีความชอบและไม่สนใจ แกทำงานในอาชีพอาจารย์ที่แกรัก และไม่ได้พูดคุยกับสามีในเรื่องธุรกิจ รู้เพียงสามีทำธุรกิจใหญ่ มีลูกน้องหลายคนที่มาหากันบ่อย จนเมื่อสามีเสียชีวิตได้มีการจัดการทรัพย์เรียบร้อย แกก็ย้ายออกมาจากบ้านทรายทอง ออกมาอยู่บ้านที่แกซื้อไว้กับลูกชาย โดยที่แกหารู้ไม่ว่าการทำธุรกรรมบางอย่างของสามีนั้นจะต้องมีภรรยาเซ็นยินยอม และสามีแกเป็นคนเซ็นมาโดยตลอด
วันดีคืนดีแกเลยมีหนังสือแจ้งหนี้มา 70 กว่าล้านบาท (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเกือบสิบปี) หลังจากนั้นคุณป้าได้ถูกฟ้องในคดีล้มละลาย และในคดีแพ่งที่ศาลได้พิพากษาแล้วก็ได้มีการยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ต่อศาลไว้ แต่เหนือฟ้ายังมีฟ้า เรียกว่า ป้าแกมากับดวง หรือคนดีผีคุ้มก็ว่าได้ ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น...
ในวันแรกของนัดพิจารณาคดีที่ศาลล้มละลาย ทั้งคุณป้า เพื่อนข้างบ้าน และทนายเดินทางไปศาล และนั่งรอในห้องพิจารณาคดี รอไปเรื่อยๆเพราะคดีค่อนข้างเยอะ รอไปจนเหลือคดีของป้าคดีเดียว ก็ไม่มีทนายฝ่ายโจทก์เดินทางมา จนศาลก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ศาลโทรไปถาม จึงรู้ว่าทนายฝ่ายโจทก์ตกนัด นั่นหมายถึงหลงลืมนัด ศาลจึงกำหนดเวลาให้ทนายเดินทางมา ระหว่างนั่งรออย่างใจจดจ่อ ความรู้สึกว่าทำไมเวลาเดินช้าจริงๆ ป้านั่งกุมมือเพื่อนบ้าน ส่วนเพื่อนบ้านอีกคนก็เดินไปดูต้นทางหน้าห้อง ไม่มีใครเดินมาที่ห้องนี้ ...จนถึงเวลาที่ศาลได้สั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องด้วยโจทก์ขาดนัดในนัดแรก ... ป้าดีใจจนน้ำตาไหล
โชคดีอีกประการหนึ่งคือ คดีนี้ได้ขาดอายุความไปแล้ว นั่นหมายถึง โจทก์ไม่สามารถนำมาฟ้องเป็นคดีใหม่ได้อีก ...คุณป้าจึงรอดจากปัญหานี้มาได้อย่างปาฎิหารย์ ...จากคดีนี้สอนอะไรเราได้หลายอย่าง ในเรื่องของการเป็นสามีภรรยาจะต้องพูดคุยกันให้มาก โดยไม่ปิดบังระหว่างกัน และที่สำคัญคือ จงเชื่อมั่นในความดี ...สวัสดีค่ะ

ติดตามอ่านเรื่องราวกฎหมายเพื่อเป็นอุทธาหรณ์สนอใจได้ที่นี้นะครับhttp://www.oknation.net/blog/pieapplelaw/2014/09/16/entry-1
เขียนโดกยคุณเปิ้ล ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ บริษัท เอสพีแอลเอ ลอว์ ครับ....

22
เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจากประสบการณ์ทำงานของผู้เขียนเอง ซึ่งยิ่งกว่าในละคร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในครอบครัวหนึ่ง เริ่มจากการตายของพ่อจึงมีการนัดเปิดพินัยกรรมฝ่ายเมืองขึ้นที่อำเภอ เมื่อทายาทไปถึงอำเภอครบทุกคน เจ้าหน้าที่ก็เอาซองพินัยกรรมมาเปิด แต่เจ้ากรรมซองที่เจ้าหน้าที่เปิดนั้นกลับเป็นพินัยกรรมของแม่ซึ่งนั่งอยู่ในห้องนั้นด้วย เรื่องจึงแดงขึ้นว่าลูกๆฝ่ายหนึ่งได้พาพ่อไปทำพินัยกรรมเพราะพ่อป่วยหนัก และบอกว่าจะพาแม่ไปลงนามเป็นพยาน โดยที่แม่นั้นไม่สามารถเขียนหรืออ่านหนังสือได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ให้พิมพ์ลายนิ้วมือลงไปก็แม่ก็พิมพ์ โดยเข้าใจว่าพิมพ์เป็นพยาน แต่กลับเป็นพินัยกรรมอีกฉบับที่มีเนื้อหาเหมือนกันกับฉบับของพ่อ
เมื่อพินัยกรรมแม่ถูกเปิด และแม่ยังไม่ตายพินัยกรรมเป็นอันตกไป ต่อมาแม่เองไม่สบายใจเพราะทรัพย์สินตามพินัยกรรมพ่อนั้นได้ระบุยกให้ลูกฝ่ายหนึ่งมากเกินไป และตนเองก็ไม่มีส่วนในทรัพย์สินที่จะสามารถแบ่งให้ลูกอีกฝ่ายได้ เสมือนว่าทรัพย์สินทั้งบ้านและที่ดินเป็นของพ่อผู้เดียว เมื่อแม่เริ่มพูดถึงการแบ่งให้ลูกอีกฝ่าย อีกฝ่ายก็ไม่พอใจถึงขั้นพูดว่า ?ให้แม่อยู่เฉยๆไม่อย่างนั้นจะไล่ออกจากบ้าน รู้ไหมว่าบ้านนี้ก็ไม่ใช่บ้านของแม่? แม่เสียใจกับคำพูดนั้นมาก และตัดสินใจที่จะดำเนินการทางกฎหมายเพื่อทวงคืนทรัพย์สินในส่วนของแม่ เนื่องจากตั้งใจจะยกให้แก่ลูกๆอีกฝ่ายให้เท่าเทียม
ศึกสายเลือดจึงเริ่มขึ้น!!!แม่ต้องฟ้องลูกเพื่อขอแบ่งทรัพย์สินส่วนของแม่ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมที่ทำมาหาได้กับพ่อ ที่ดินจำนวนมากมูลค่าสูงหลายสิบล้าน แม่เล่าว่าสมัยก่อนไปเอาเงินใส่กระบอกไม้ไผ่ไปซื้อที่ดิน เพราะเป็นคนเก็บเงินเก่งและชอบซื้อที่ดินเก็บไว้จึงมีที่ดินจำนวนมาก ระหว่างการพิจารณาคดีบรรยากาศเป็นไปด้วยความร้อนระอุ พี่น้องแม่ลูกแทบจะไม่มองหน้ากัน วันหนึ่งที่จำได้และรู้สึกแย่มากคือวันที่แม่ต้องมาเบิกความในศาล ลูกฝ่ายที่ถูกฟ้องมายืนจ้องหน้าแม่ ไม่พูดไม่จา เห็นภาพแล้วเศร้ายิ่งนัก และในทางการนำสืบก็เน้นไปว่าทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของพ่อที่ได้จากปู่ แม่จนมาตัวเปล่าไม่มีทรัพย์สินใด (ไอ้ลูกพวกนี้ เวรกรรมจริงๆ)
ที่ดราม่ามากกว่านั้นคือ ในระหว่างการพิจารณาคดี แม่ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งและต้องออกมาจากบ้านที่ตนอยู่มาตลอดเพื่ออยู่กับลูกอีกที่หนึ่ง ดูแล้วแม่ค่อนข้างตรอมใจและเสียใจมาก ในการทำคดีต้องขอให้มีการสืบพยานแม่ไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นไปตามคาดเมื่อแม่ได้สืบพยานเสร็จก็เสียชีวิตในอีกไม่นาน แม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้เป็นที่เรียบร้อย ในพินัยกรรมยังระบุแบ่งทรัพย์สินให้ลูกทุกคน นี้แหละหนา หัวอกคนเป็นแม่ จำเป็นต้องทำสิ่งที่เป็นธรรม แต่หัวใจนั้นรักลูกทุกคนตราบจนวันตาย....

ติดตามอ่านเรื่องราวกฎหมายที่เกิดขึ้นจริงได้ที่ http://www.oknation.net/blog/pieapplelaw/2014/10/07/entry-2
โดยคุณเปิ้ล ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ บริษัท เอสพีแอลเอ ลอว์ จำกัด ครับ....


23
การประนีประนอมยอมความนั่น หมายถึง การที่คุณกับคู่กรณีอีกฝ่ายสามารถตกลงข้อพิพาทกันได้ โดยยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนีประนอมยอมความระหว่างกัน
แต่ในบางกรณีนั้นการประนีประนอมยอมความอาจทำให้คดีอาญากลายเป็นคดีแพ่ง เช่น ในเรื่องของฉ้อโกง หากคุณสามารถตกลงกับคู่กรณีที่ฉ้อโกงเงินไปเพื่อนำเงินมาชดใช้คืน โดยการทำบันทึกข้อตกลงรับสารภาพหนี้หรือบันทึกแบบใดก็ตามที่มีลักษณะของการตกลงยอดเงินและวิธีการชำระ นั่นอาจหมายถึงคุณไม่ติดใจจะดำเนินคดีอาญาฐานฉ้อโกงแล้ว โดยการเปลี่ยนมูลหนี้มาเป็นหนี้ในทางแพ่ง และหากคุณจะฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดี คุณก็จะต้องฟ้องร้องตามเอกสารรับสภาพหนี้ฉบับที่ตกลงกัน อีกทั้งอายุความในการแจ้งความร้องทุกข์เรื่องฉ้อโกงมีเพียง 3 เดือนนับแต่รู้ว่าถูกฉ้อโกงและรู้ตัวผู้กระทำผิด โดยเอกสารที่คุณได้ตกลงกันนั้นจะเป็นตัวบ่งบอกชัดว่าคุณรู้ว่าถูกฉ้อโกงและรู้ตัวผู้ที่ฉ้อโกงเมื่อไร ดังนั้นแล้ว หากคุณจะตกลงกันอย่างไรก็ตามควรจะไปตกลงที่สถานนีตำรวจ หรือควรแจ้งความไว้ก่อน เมื่ออีกฝ่ายได้ผ่อนชำระเงินเรียบร้อยแล้วจึงจะไปถอนแจ้งความ เพราะคดีฉ้อโกงเป็นคดีที่ยอมความกันได้ ดีกว่าจะกลายเป็นคดีแพ่งให้ต้องไปบังคับคดียึดทรัพย์

SPLALAW TEAM
บริษัท เอสพีแอลเอ ลอว์ จำกัด
โทร 0819169694

24
รบกวนผู้มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จมาเล่าสู่กันฟัง ให้น้องๆที่เตรียมตัวสอบกันในเวลานี้ครับ

25
S & P Legal Alliance
24 Ratchadamnern Klang Road, Phranakorn District, Bangkok 10200
Mail : splalaw@gmail.com Tel +66 2225 5485 Mobile phone: 0819881845 , 0897881248
__________________________________________________

มาตรการจัดการพนักงานมาทำงานสาย ขาดงาน หรือลาป่วยมากเกินไป

กรณีพนักงานมาทำงานสายบ่อยครั้ง


โดยปกติการจัดการกับพนักงานที่มาทำงานสาย ตามขั้นตอนทางกฎหมายสามารถทำได้โดย หากพนักงานมาสายครั้งแรกก็ให้ตักเตือนด้วยวาจา ครั้งต่อไปก็ตักเตือนเป็นหนังสือและอาจทำทัณฑ์บนไว้ และหากมีการตักเตือนเป็นหนังสือแล้วยังมีการมาสายอีกก็สามารถเลิกจ้างได้ เพราะการมาสายเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต อันเป็นเหตุให้สามารถเลิกจ้างได้ อีกทั้งในการเลิกจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะได้มีการตักเตือนเป็นหนังสือแล้วนั่นเอง ซึ่งการมาสายในทุกครั้งสามารถงดจ่ายค่าจ้างได้โดยคำนวณตามระยะเวลามาสายหรือระยะเวลาที่ไม่ได้ทำงานที่แท้จริง


อาจใช้มาตรการในการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับจำนวนครั้งที่มาสาย ซึ่งทำให้ไปมีผลการต่อขึ้นเงินเดือนหรือการพิจารณาโบนัสประจำปี เช่น
กำหนดว่า  มาสาย.....ครั้ง จะถูกเลื่อนการปรับเงินเดือนให้ช้าไป 3 เดือน
        มาสาย.....ครั้ง จะถูกเลื่อนการปรับเงินเดือนให้ช้าไป 6 เดือน
        มาสาย.....ครั้ง จะไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี เป็นต้น

หรืออาจใช้มาตรการกำหนดระเบียบ มาสายแต่ละครั้งจะได้รับใบตักเตือน หากได้รับใบตักเตือนครบตามระเบียบกำหนดจะถูกเลิกจ้าง เป็นต้น อย่างไรก็ดีมาตรการต่างๆนี้ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน หากประสงค์จะเปลี่ยนแปลงจากเดิมจะต้องมีการแจ้งและตกลงกับลูกจ้างหรือพนักงานตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

กรณีพนักงานขาดงาน
การที่พนักงานขาดงานก็อาจใช้มาตรการกำหนดระเบียบได้เช่นเดียวกับกรณีพนักงานมาสาย เช่น ขาดงานกี่ครั้งจะถูกเลื่อนการปรับเงินเดือนหรือไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน หรือไม่ได้รับโบนัสประจำปีหรือการออกใบตักเตือน เป็นต้น


นอกจากนี้ในเรื่องของการขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็ถือเป็นการละทิ้งการงานไปก็สามารถเป็นเหตุเลิกจ้างพนักงานคนนั้นได้   และหากเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานไปเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะทำให้สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

กรณีพนักงานลาป่วยบ่อยครั้ง อาจมีมาตรการดังต่อไปนี้

1. ให้พนักงานมารายงานอาการป่วยในวันแรกที่กลับมาทำงาน โดยทำการจดบันทึกอาการป่วยของพนักงานอย่างละเอียด เพื่อที่ว่าเมื่อพนักงานจะลาป่วยครั้งต่อไป จะคิดมากขึ้นว่าจะป่วยอะไรดี จึงจะสมเหตุสมผล และไม่ถูกจับได้ ซึ่งวิธีการนี้อาจช่วยลดสถิติการลาป่วยของพนักงานได้บ้าง

2. ประกาศให้พนักงานทราบว่า การขาด ลา มาสาย มีผลต่อการขึ้นเงินเดือน และโบนัส หากขาดงานเกินกี่วัน มาสายเกินกี่ครั้ง จะไม่ขึ้นเงินเดือนและตัดโบนัส เป็นต้น

3. จับตาดูพฤติกรรมการลาหยุดงานของพนักงานอย่างใกล้ชิด อาจสุ่มไปที่บ้านของพนักงานโดยไม่ให้รู้ตัว เพื่อเยี่ยมไข้ และสอบถามอาการ รวมทั้งตรวจสอบการลาป่วยในครั้งนั้นด้วย

4. หากพฤติกรรมการลาเป็นที่น่าเอือมระอาหรือไม่น่าไว้วางใจ ให้สอบถามพนักงานว่าได้ไปรักษาที่คลินิก หรือโรงพยาบาลใด จากนั้นให้ไปขอดูทะเบียนคนไข้ว่ามารักษาจริงหรือไม่ หากทราบว่ามีพฤติกรรมการลาที่ไม่ถูกต้องในบางราย อาจให้แสดงใบรับรองแพทย์ทุกครั้งที่ลาป่วย

5. ในกรณีที่ใช้พนักงานใช้สิทธิ์ลาป่วยครบ 30 วันแล้ว ให้แจ้งพนักงานว่า หากลาป่วยครั้งต่อไป จะพิจารณาให้ลาโดยไม่รับเงินเดือนแทน ซึ่งไม่ว่าพนักงานจะลากี่วัน ก็จะหักเงินในทุก ๆ วันที่ลาหยุด

6. กำหนดบทลงโทษการลาป่วยเท็จที่รุนแรงเชิงบริหาร และเชิงข้อกฎหมายถึงขั้นเลิกจ้างได้

7. หากพบว่าอาการป่วยส่งผลต่อการทำงาน นายจ้างมีสิทธิพิจารณาเลิกจ้าง เนื่องจากพนักงานหย่อนสมรรถภาพในการทำงานได้ โดยจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด

8. ถึงแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ลูกจ้าสามารถลาป่วยได้ถึง 30 วันต่อปี แต่ในบางรายที่การขาดงานบ่อยครั้งมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานแล้ว ผู้บังคับบัญชาไม่ควรนิ่งเฉย ควรหามาตรการตักเตือน หรือจัดการโดยใช้บทลงโทษที่เด็ดขาด
 

..................Sirikwun Ninlakun..Legal Manager..SPLALAW???????
เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน


บทความที่เกี่ยวข้อง : การออกหนังสือเตือนพนักงาน ขั้นตอน การลงโทษพนักงาน แบบฟอร์ม ลงโทษพนักงาน

26
S & P Legal Alliance
24 Ratchadamnern Klang Road, Phranakorn District, Bangkok 10200
Mail : splalaw@gmail.com Tel +66 2225 5485 Mobile phone: 0819881845 , 0897881248

การลงโทษพนักงานกระทำความผิด                       
การสอบสวนและการลงโทษกรณีพนักงานกระทำความผิดนั้น มีเครื่องมือในการดำเนินการ คือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของพนักงาน และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน   
   
ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขององค์กรนั้น จะต้องระบุถึงโทษทางวินัยที่ชัดเจนเป็นลำดับความหนักเบา โดยปกติก็จะมีโทษสถานเบาที่สุดถึงมากที่สุด ได้แก่

- การตักเตือนด้วยวาจาอย่างไม่เป็นทางการ กรณีนี้ไม่ต้องบันทึกเป็นเอกสารใด ๆ เพียงแต่เรียกพนักงานผู้กระทำความผิดมาชี้แจง ทำความเข้าใจในสิ่งที่เขาได้กระทำผิดพลาดหรือบกพร่องเท่านั้น ซึ่งจะใช้ในกรณีที่เป็นโทษสถานเบา หรือ กรณีที่การกระทำความผิดนั้น องค์กรยังไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดเป็นข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติอย่างชัดเจนในเรื่องนั้น ๆ เพียงแต่พฤติการณ์ของพนักงาน อาจทำให้ส่งผลเสียได้ต่อองค์กรได้ แต่การที่องค์กรยังไม่ชัดเจนในข้อบังคับ จึงไม่สามารถพิจารณาลงโทษอย่างเป็นทางการได้เช่นเดียวกัน อย่างมากก็แค่ เป็นข้อหารือกับพนักงานและชี้ให้เค้าเห็นถึงผลเสียต่อองค์กรเท่านั้น การตักเตือนด้วยวาจาอย่างไม่เป็นทางการหัวหน้างานสามารถตักเตือนได้

- การตักเตือนด้วยวาจาอย่างเป็นทางการ กรณีนี้เช่นเดียวกับกรณีแรกที่เป็นการพิจารณาลงโทษในสถานเบา แต่ว่าต่างกับข้อแรกตรงที่ กรณีนี้จะมีการบันทึกในหนังสือเตือนหรือหนังสือลงโทษทางวินัยขององค์กรไว้เป็นหลักฐาน การตักเตือนด้วยวาจาโดยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นหัวหน้างานควรแจ้งไปยังฝ่ายบุคคลเพื่อดำเนินการ

- การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร จะคล้ายกับการตักเตือนด้วยวาจาอย่างเป็นทางการในข้างต้น แต่ว่าจะมีความแรงกว่าการตักเตือนเป็นด้วยวาจาอย่างเป็นทางการตรงที่ โทษในขั้นนี้จะมีกฎหมาย พรบ.คุ้มครองแรงงานรองรับใน มาตรา 119 ( 4 ) เรื่องข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง คือ หากพนักงานกระทำความผิดซ้ำคำเตือนและนายจ้างมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่แสดงว่าได้มีการตักเตือนพนักงานเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ตามมาตรานี้ อย่างไรก็ดีมีข้อสังเกตสำคัญที่เป็นบรรทัดฐานในการวินิจฉัยของศาลว่า ในหนังสือเตือนลูกจ้างนั้นจะต้องมีข้อความระบุว่า ห้ามมิให้ลูกจ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือนอีก
ในบางองค์กร อาจมีโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ก่อนที่จะเป็น
การลงโทษโดยการพักงานก็มี เพื่อให้โอกาสพนักงานมากขึ้นอีกหน่อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมใน
แต่ละองค์กร การตักเตือนเป็นหนังสือนั้นถือเป็นการลงโทษที่แรงขึ้นเพราะอาจส่งผลต่อการเลิกจ้างได้ จึงควรมีการสอบสวนถึงการกระทำผิดในเบื้องต้น โดยจะต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริงจากหัวหน้างาน ผู้ร่วมงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ซึ่งฝ่ายบุคคลควรเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนและสรุปผลการสอบสวนเพื่อเสนอผู้จัดการ และออกหนังสือเตือนแก่พนักงานต่อไป

- การสั่งพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง เป็นโทษที่แรงขึ้นมา ซึ่งในทางปฏิบัติใช้กับกรณีที่พนักงานกระทำความผิดตามข้อบังคับ แล้วทำให้เกิดผลเสียต่อองค์กรในระดับหนึ่ง หรือใช้กับกรณีที่พนักงานคนดังกล่าวได้กระทำความผิดซ้ำอีกในข้อหาเดียวกัน ซึ่งองค์กรควรกำหนดให้ชัดเจนไปด้วยว่าจะพักงานกี่วัน อาจจะเป็น 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน ก็แล้วแต่จะลงโทษ แต่ควรกำหนดให้แน่ชัดลง เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากหรือเกิดปัญหาว่าพนักงานได้รับโทษพักงานไม่เท่ากันในข้อหาเดียวกันได้
การพักงานนี้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน จะมีอยู่ในมาตรา 116 และมาตรา 117 แต่ในมาตราทั้งสองนี้เป็นการพักงานเพื่อการสอบสวน ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่กฎหมายกำหนดในระหว่างที่พนักงานถูกสั่งพักงานด้วย ซึ่งจะเป็นคนละกรณีกับโทษการสั่งพักงานที่นายจ้างได้วินิจฉัยแล้วพนักงานมีความผิด การพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างก็ถือเป็นมาตราการลงโทษที่มีผลกระทบแก่ชีวิตของลูกจ้าง จึงควรมีการสอบสวนความผิดในเบื้องต้นและสรุปการลงโทษโดยฝ่ายบุคคลเพื่อเสนอผู้จัดการ และดำเนินการลงโทษต่อไป

- การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เป็นการลงโทษสถานหนักที่สุด แต่ทั้งนี้นายจ้างจะลงโทษนี้กับลูกจ้างได้ก็ต่อเมื่อลูกจ้างมีความผิดตามมาตรา 119 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานเท่านั้น
หากว่าจะเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้มีความผิดตามมาตรา 119 นายจ้างก็สามารถ
เลิกจ้างได้ แต่จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 จ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ( ถ้าลูกจ้างยังมีสิทธิอยู่ ) ตามมาตรา 67 และหากว่าลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถฟ้องต่อศาลแรงงานกลางหรือเจ้าพนักงานตรวจแรงงานได้ ตามมาตรา 46 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีแรงงาน การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้นจะต้องเป็นเหตุตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น และมีการสอบสวนโดยละเอียดถึงการกระทำความผิด โดยการจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและการลงโทษ อาจจะมีผู้จัดการเข้าร่วมเป็นกรรมการการสอบสวน และการลงโทษเลิกจ้างอาจจำเป็นต้องนำเสนอแก่กรรมการบริษัทเพื่อการพิจารณาอนุมัติการเลิกจ้าง

????.Sirikwun Ninlakun? Legal Manager? SPLALAW????

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธี จัดการ พนักงานมาทำงานสาย ขาดงาน หรือลาป่วยมากเกินไป

27
การเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมนั้น กฎหมายไม่ได้มีการให้คำนิยามไว้แต่อย่างใด หากแต่เราสามารถพบคำนี้ได้ในมาตรา 49 ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า

"การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน โดยให้ ศาลคำนึงถึงอายุของ ลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อ ถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา"

        จะเห็นได้ว่าในมาตรานี้แค่มีการกล่าวถึงการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม แต่ไม่ได้บอกว่าการเลิกจ้างแบบใดจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมบ้าง โดยกฎหมายปล่อยให้เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานเองที่จะพิจารณาเอาตามแต่ละสถานการณ์ที่ก็แตกต่างกันไป
         กรณีที่จะนำมาพิจารณามีอยู่ว่า หากลูกจ้างเขียนใบลาออกเอง แต่อ้างว่าเขียนเพราะถูกข่มขู่ ต่อมานายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้าง จะถือว่าการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ อย่างไร
           กรณีเช่นนี้ผู้เขียนเห็นว่าจะต้องพิจารณาว่าการข่มขู่ดังกล่าว เป็นการข่มขู่เรื่องอะไร เป็นการข่มขู่จริงหรือไม่ หากเป็นการข่มขู่จริงก็ต้องดูต่อไปว่าถึงขนาดที่จะทำให้ลูกจ้างเกิดความกลัวจนต้องยอมเขียนใบลาออกเลยหรือไม่ มีกรณีตัวอย่างคือคำพิพากษาฎีกาที่ 2053/2552 ลูกจ้างอ้างว่าโดนข่มขู่ให้เขียนใบลาออก เมื่อนายจ้างเลิกจ้างจึงเป็นกรณีที่เลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม แต่เมื่อพิจารณาถึงการข่มขู่ดังกล่าวที่ลูกจ้างอ้างมานั้น พบว่าแม้จะเป็นกระทำที่ใช้สิทธิเกินส่วนไปบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับว่าเป็นการข่มขู่ที่ถึงขนาดทำให้ลูกจ้างเกิดความกลัวจนต้องเขียนใบลาออกแต่อย่างใด กล่าวคือ ลูกจ้างถูกบุคคลหนึ่งขู่ว่าถ้าไม่ลาออกจะนำเรื่องที่ลูกจ้างนำเงินบริษัทไปใช้ส่วนตัวไปฟ้องศาล การข่มขู่ดังกล่าวนั้น ถือเป็นเพียงการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมเพียงเท่านั้น ซึ่งกลายเป็นว่าไม่มีการข่มขู่แต่อย่างใด เมื่อไม่มีการข่มขู่ก็หมายความว่าลูกจ้างยินยอมเขียนใบลาออกเองโดยสมัครใจ กรณีจึงไม่ใช่การเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด

28
ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น  กฎหมายลิขสิทธิ์มุ่งคุ้มครองสิ่งที่แสดงออกมาแล้วซึ่งความคิด ไม่ว่าจะแสดงออกมาโดยวิธีหรือรูปแบบใดก็ตาม แต่มิได้คุ้มครองครอบคลุมไปถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์  โดยผู้สร้างสรรค์จะเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้น

งานเพลง จัดเป็นงานดนตรีกรรม ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งงานดนตรีกรรม คือ งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้อง หรือมีทำนองอย่างเดียว และให้หมายรวมถึงโน้ตเพลง หรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้วด้วย

ในปัจจุบันนี้มีผู้คนจำนวนมากที่นำเพลงของศิลปินนักร้องต่างๆ มาร้อง มาเล่น หรือมาทำดนตรีใหม่ ซึ่งเรียกว่าการ Cover แล้วนำไปเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ หรือ Social Media เพื่อแสดงความสามารถของตนให้ผู้คนได้รับชมรับฟัง  ซึ่งโดยหลักแล้วการ Cover เพลงนั้นแล้วเผยแพร่ลงบน Social media โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงเพลงอันมีลิขสิทธิ์ และเป็นการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชน ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 

อย่างไรก็ตามหากการ Cover เพลงดังกล่าวนั้นไม่ถึงขนาดเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์  อีกทั้งหากได้ทำการ Cover เพลง ซึ่งเป็นงานประเภทดนตรีกรรมนั้น และได้เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยมิได้จัดทำขึ้นหรือดำเนินการเพื่อหากำไร และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม และนักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 

สำหรับการระวางโทษสำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงนั้น ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท แต่หากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับนั่นเอง
สรุป การ Coverเพลงแล้วเผยแพร่ทาง Social Media นั้น หากเป็นการทำไปโดยไม่ถึงขนาดเป็นขัดต่อต่อการแสดวงหาประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่ได้แสวงหากำไร หรือรายได้จากการ Cover เพลงนั้น ก็ไม่เป็นการกระทำอันละเมิดลิขสิทธิ์ นั่นเอง

 ;D

29
ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน   

   โดยปกติ ผู้ค้ำประกันจะรับผิดเหมือนตนเป็นลูกหนี้เสียเอง ดังนั้น จึงรับผิดเท่าที่ลูกหนี้ต้องรับผิด เว้นแต่ มีข้อตกลงพิเศษว่าจะรับผิดเกินกว่าลูกหนี้หรือน้อยกว่าลูกหนี้ เช่น ตกลงจะไม่ยกเรื่องหนี้ขาดอายุความมากล่าวอ้างซึ่งเป็นการรับผิดเกินกว่าลูกหนี้ หรือการจำกัดความรับผิดซึ่งเป็นการรับผิดน้อยกว่าลูกหนี้ เป็นต้น
   นอกจากนี้ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิด รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน รวมค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ เช่น ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ในการที่ตนค้ำประกันการซื้อสินค้าด้วย และยังต้องรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่ลูกหนี้ต้องใช้ให้เจ้าหนี้ด้วย แต่ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาล ผู้ค้ำประกันจะเสียก็ต่อเมื่อ เจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระก่อนแล้วค่อยฟ้องร้อง หากฟ้องก่อน ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมศาลนั้นเลย

30
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง ชีวิตประจำวันของทุกคนมักจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ทั้งสิ้น ฉะนั้นแล้วจึงต้องใช้เทคโนโลยีดังกล่าวด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้เป็นป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงขอนำเสนอลักษณะของความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ดังนี้
ก่อนอื่นขออธิบายความหมายตามกฎหมายของคำศัพท์ดังต่อไปนี้เป็นลำดับแรก
?ระบบคอมพิวเตอร์? หมายถึง อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดค่ำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ  อาจกล่าวได้ว่า ระบบคอมพิวเตอร์ ก็คือ องค์ประกอบหลัก ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าขาดองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้ ระบบของคอมพิวเตอร์นี้ประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และพีเพิลแวร์ (Peopleware)
?ข้อมูลคอมพิวเตอร์? หมายถึง ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีดังต่อไปนี้
1.   การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  
2.   การเปิดเผยมาตรการการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.   การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการการป้องกันนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.   การกระทำการโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  
5.   การทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6.   การกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่หากการกระทำความผิดตามข้อ 5 หรือข้อ 6 นั้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท  
นอกจากนี้ถ้าหากว่า การกระทำตามทั้งสองข้อดังกล่าวเป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อนประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท แต่ถ้าการกระทำดังกล่าวนี้เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
7.   การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
8.   การกระทำความผิดดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
8.1   การนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
8.2   การนำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
8.3   การนำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหายอาญา เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
8.4   การนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
8.5   การเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม ข้อ 8.1-8.4
การระวางโทษดังกล่าวตามข้อ 8 นี้ให้ใช้กับ ความผิดที่เกิดจากผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ต หรือให้บริการแก่บุคคลอื่นในการให้สามารถติดต่อถึงกันโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ที่ผู้บริการนั้นจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามข้อ 8 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
9.   การนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากว่าได้กระทำไปโดยสุจริต ผู้กระทำนั้นก็ไม่มีความผิด
การฟ้องร้องคดี
   การฟ้องร้องคดีในความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น สามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลได้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา  

หน้า: [1] 2