สำนักงานทนายความ

แสดงกระทู้

ส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถดูกระทู้ทั้งหมดสมาชิกนี้ โปรดทราบว่าคุณสามารถเห็นเฉพาะกระทู้ในพื้นที่ที่คุณเข้าถึงในขณะนี้


แสดงหัวข้อ - Preecha Yokthongwattana

หน้า: 1 [2]
31
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่าสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแล้วสงสัยว่ามันคืออะไร แตกต่างกับสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ อย่างไร วันนี้เราจะมาพินิจพิเคราะห์ถึงความหมายของสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาว่ามันคือสัญญาอะไรกันแน่ และมีลักษณะอย่างไรบ้าง
   สัญญาเช่านั้น กฎหมายได้ให้คำนิยามไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 537 ว่า ?อันว่า เช่า ทรัพย์สิน นั้น คือ สัญญา ซึ่ง บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้ บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้ หรือ ได้รับประโยชน์ ใน ทรัพย์สิน อย่างใดอย่างหนึ่ง ชั่วระยะเวลา อันมีจำกัด และ ผู้เช่า ตกลงจะให้ ค่าเช่า เพื่อการนั้น?
   จากมาตราดังกล่าว เมื่อพิเคราะห์ดูแล้วสัญญาเช่าก็คือสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง โดยมีคู่สัญญาสองฝ่ายคือผู้ให้เช่า ซึ่งเป็นผู้เอาทรัพย์สินออกให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น คู่สัญญาอีกฝ่ายเรียกว่า ผู้เช่า โดยผู้เช่ามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเช่าเพื่อเป็นการตอบแทนการที่ผู้ให้เช่าได้เอาทรัพย์สินออกให้เช่า แต่ทั้งนี้ ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแต่อย่างใด เพราะสัญญาเช่านั้นไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว
ส่วนสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น ไม่ได้มีตัวบทกฎหมายบัญญัติถึงคำนิยามหรือความหมายไว้แต่อย่างใด หากแต่เกิดขึ้นจากคำพิพากษาของศาลหลายต่อหลายครั้งจนเป็นคำพิพากษาบรรทัดฐานที่เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาว่ามีความหมายและลักษณะดังต่อไปนี้
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา คือ สัญญาที่ผู้ให้เช่าเอาอสังหาริมทรัพย์ออกให้ผู้เช่าได้เช่าหรือใช้ประโยชน์ โดยผู้เช่าต้องเสียค่าตอบแทนการเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าเป็นค่าเช่าและค่าตอบแทนหรือประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากค่าเช่า ยกตัวอย่างเช่น ผู้เช่าเสียเงินช่วยค่าก่อสร้าง ปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าแล้วตกลงว่าจะยกกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ให้เช่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนที่ทำให้สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานี้แตกต่างไปจากสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งเมื่อเป็นสัญญาที่ผู้ให้เช่าได้รับประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากค่าเช่าแล้ว ในบางเรื่องจึงไม่สามารถนำบทกฎหมายว่าด้วยเรื่องการเช่ามาบังคับได้โดยตรง เพราะจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้เช่าได้ เนื่องด้วยผู้เช่าได้เสียอะไรไปมากกว่าค่าเช่า ยกตัวอย่างฎีกาที่ศาลเคยได้มีคำพิพากษาเช่น

      คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2515 สัญญาเช่าตึกมีกำหนดระยะเวลา 12 ปี ซึ่งผู้เช่าได้เสียเงินช่วยค่าก่อสร้างผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้เต็ม 12 ปีตามสัญญา
      คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2531 สัญญาตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับได้ตามข้อตกลงและถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้คู่สัญญาจะตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็ต้องตกทอดไปยังทายาท

จะเห็นได้ว่ามาตราบางมาตราในเรื่องการเช่าก็ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับเรื่องสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาได้ อย่างเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไปหรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียงสามปี ซึ่งหากเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับได้เกิน 3 ปีตามที่ตกลงกันไว้ หรือจะเป็นหลักทั่วไปของการเช่าที่ว่าสัญญาเช่ามีลักษณะเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าก็ระงับสิ้นไป หากแต่เมื่อเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแล้ว แม้ผู้เช่าจะตายสัญญาเช่าดังกล่าวก็ไม่ได้ระงับไปแต่อย่างใด สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวก็ยังคงตกทอดไปยังทายาท ดังที่จะเห็นตัวอย่างได้จากฎีกาที่ยกมา

32
ค้างค่างวด ถูกบอกเลิกสัญญา รถถูกยึด ต้องจ่ายค่างวดที่ค้างชำระหรือไม่
เมื่อเช่าซื้อรถยนต์แล้วประสบปัญหา การค้างค่างวด ทำให้ถูกบอกเลิกสัญญา และถูกยึดรถ ซ้ำร้ายทางผู้ให้เช่าซื้อ(ไฟแนนซ์)มีหนังสือเรียกให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลืออีก เพราะในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์  มีข้อกำหนดว่า ?ผู้ให้เช่าซื้อสามารถเรียกค่างวดที่ค้างชำระได้? เราในฐานะผู้เช่าซื้อรถยังจะต้องจ่ายค่างวดที่ค้างชำระอีกหรือไม่? และถ้าไม่มีเงินจ่ายจะติดคุกหรือไม่? เป็นปัญหาที่พบมาก
ในเบื้องต้นต้องบอกก่อนเลยว่าถ้าเข้าลักษณะที่ว่า ?ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย? สบายใจได้เลยว่า      ไม่ติดคุกแน่ เพราะเนื่องจากในเรื่องนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา ส่วนการเรียกเงินค่างวดที่ค้างชำระ       ตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าซื้อ ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่างวดตามที่กำหนดในสัญญา เช่น สองงวดหรือสองคราวติดๆกัน ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิ 2 ประการ คือ
          1) มีสิทธิริบบรรดาเงินทั้งหลาย อาทิ เงินดาวน์ และค่างวดที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระมาแล้วทั้งหมด
          2) มีสิทธิกลับเข้าครอบครองรถ คือ ยึดรถกลับคืนได้
โดยค่างวดหรือค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระอยู่ก่อนผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญานั้น แต่เดิมศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่า ผู้ให้เช่าซื้อสามารถเรียกร้องเอาจากผู้เช่าซื้อได้ ต่อมามี (คำพิพากษาฎีกาที่ 1195/2511) วินิจฉัยวางหลักใหม่ว่า ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้เช่าซื้อชำระค่างวดที่ค้างชำระอีก มีเพียงสิทธิใน 2 ประการดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเท่านั้น เหตุเพราะ เงินค่าเช่าซื้อในแต่ละงวดนั้นเป็นการชำระค่าใช้ทรัพย์ เมื่อได้มีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วก็เท่ากับว่าไม่มีคำมั่นว่าจะขายทรัพย์อีกต่อไป หากผู้ให้เช่าซื้อสามารถเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่จนครบ ก็จะทำให้ผู้ให้เช่าซื้อได้รับชำระจากผู้เช่าซื้อมากเกินสมควร
แต่อย่างไรก็ตามแม้จะไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้เช่าซื้อชำระค่างวดที่ค้างชำระดังกล่าวได้อีก แต่สามารถเรียกค่าเสียหายหากรถนั้นชำรุดเสียหายและเรียกค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาได้ และถึงแม้ในสัญญาจะมีข้อกำหนดให้เรียกค่างวดที่ค้างชำระได้ ศาลฎีกาถือว่าเป็นการกำหนดความรับผิดในความเสียหาย เนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า ซึ่งศาลมีอำนาจปรับลดถ้าเห็นว่าสูงเกินควรได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 356/2548) (คำพิพากษาฎีกาที่ 1496/ 2548)


33
นิติศาสตร์ / แนะนำตัวหน่อยครับ
« เมื่อ: เมษายน 27, 2013, 01:00:20 AM »
ผมนิติ มธ. รหัสเข้าป.ตรี 38 นะครับ

ใครเป็นใครแนะนำตัวกันได้ครับ

34
สามีเป็นเกย์ ฟ้องหย่าได้หรือไม่

การเป็นสามีภริยากันนั้น ตามปกติ ชายและหญิงจะต้องดำเนินชีวิตครอบครัวอย่าง   ปกติสุข ดูแลซึ่งกันและกัน การที่สามีเป็นเกย์นั้น ย่อมทำให้การดำเนินชีวิตของคนในครอบครัวเป็นไปอย่างไม่ปกติสุขแล้ว
ปัญหาอยู่ที่การจะฟ้องหย่าสามีนั้น จะใช้บทบัญญัติมาตราใด เรื่องนี้ยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกา แต่เห็นว่ามีกฎหมายที่สามารถนำมาใช้กับเรื่องนี้ได้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (2) คือ สามีประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ...
ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ประสพสุข บุญเดช ให้ความหมายการประพฤติชั่วว่า หมายถึง ความประพฤติปฏิบัติที่ฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีตประเพณี เป็นเรื่องที่รู้สึกได้ว่าไม่ถูกต้อง ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ก็ตาม การที่สามีชอบกระทำชำเราผิดมนุษย์ เช่น ชำเราเพศเดียวกัน ชำเราสัตว์ ก็ถือว่าเป็นการประพฤติชั่วได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ภริยาจึงสามารถฟ้องหย่าสามีที่เป็นเกย์ได้ ตามมาตรา 1516 (2) นั่นเอง

35
ตูมตาม
ผมนั่งกินก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ร้านหน้าปากซอย เห็นตำรวจมาจับคนขายโดยไม่มีหมายค้นหมายจับอะไรเลยครับ หาว่าคนขายก๋วยเตี๋ยวค้ายา อย่างนี้ตำรวจทำได้หรอครับ คนขายเขากำลังทำมาหากินอยู่นะครับ แล้วก็อยู่ในบริเวณห้องแถวด้วย

ทนาย
ร้านก๋วยเตี๋ยวซึ่งมีลูกค้ากำลังนั่งรับประทานก๋วยเตี๋ยวอยู่ ดังนั้นร้านก๋วยเตี๋ยวนี้จึงไม่ใช่เป็นที่รโหฐาน แต่เป็นที่สาธารณสถาน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าคนขายฯมียาบ้าไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น และหากตรวจค้นพบยาบ้าอยู่ในครอบครองของคนขายก๋วยเตี๋ยว การกระทำของคนขายฯ ก็จะเป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ เช่นกัน การตรวจค้นและจับกุมจึงชอบด้วยกฎหมายครับ

36
ป้าแวว       
เห็นข่าวในโทรทัศน์ว่า ครูประจำชั้นของเด็กคนหนึ่งไปข่มขืนเด็กนักเรียนในงานเลี้ยงของโรงเรียน ในช่วงเวลากลางคืน และเด็กคนนั้นก็เป็นนักเรียนของตน เคยได้ยินว่าถ้าครูข่มขืนลูกศิษย์ ครูจะต้องได้รับโทษหนักขึ้นจริงหรือเปล่าคะ และครูจะผิดกฎหมายอะไรบ้างคะ อยากทราบไว้เป็นความรู้ค่ะ

ทนาย
เรียนป้าแววครับ ผมก็อ่านข่าวนี้เหมือนกันครับ ทราบว่า ในคืนเกิดเหตุมีการจัดงานในโรงเรียน การที่ผู้กระทำผิดซึ่งเป็นครูประจำชั้นจูงมือผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปจากบิดามารดา ผู้เสียหาย เป็นการใช้อำนาจของครูต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์ แม้จะกระทำนอกเวลาเรียนก็ถือว่าศิษย์นั้นอยู่ในความดูแลของครูอยู่ด้วยครับ แล้วจำเลยกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสองและ มาตรา 279 วรรคสองประกอบมาตรา 285 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 277 วรรคสองประกอบมาตรา 285 อันเป็นบทที่โทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 ครับ โทษจำคุกสูงถึง 20 ปีเลยนะครับ อายุของเด็กมีผลต่อการลงโทษด้วยนะครับ ยิ่งเด็กอายุน้อย โทษยิ่งหนักขึ้นครับ

37
เรื่องแบบนี้มีหลายๆคนที่มาปรึกษา

คือ เป็นกรณีปล่อยให้แบงก์ยึดบ้านเพราะผ่อนไม่ไหว แล้วแบงก์ก็นำบ้านไปขายทอดตลาด ซึ่งจะมีส่วนต่างไม่มาก ที่ต้องชำระให้ครบ เช่น จากข้อเท็จจริง ผู้กู้บางรายซื้อบ้านราคาล้านกว่า แบงก์ยึดไปขายได้แปดแสนกว่า แบงก์เลยเรียกส่วนต่างมายังลูกหนี้อีกสามแสนกว่า ลูกหนี้ก็ไม่จ่าย

หลังจากนั้นปีสองปีแบงก์ก็ฟ้องคดีแพ่ง เรียกให้ชำระส่วนต่าง ลูกหนี้ก็ไม่สนใจไม่ไปศาล จนมีคำพิพากษา ผ่านมาเกือบสิบปีจนลูกหนี้ลืมไปแล้วว่าถูกฟ้องส่วนต่าง แต่กลับมีหมายศาลคดีล้มละลายก็มาถึงบ้าน ที่เป็นเช่นนี้ เพราะดอกเบี้ยตามคำพิพากาาจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากกรณีตัวอย่าง รวมยอดหนี้ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยแล้ว เป็นสองล้านกว่าบาท ลูกหนี้ก็ต้องมาเดือดร้อนตอนถูกฟ้องล้มละลายอีกรอบ บางคนเป็นข้าราชการ พลอยต้องเสี่ยงถูกให้ออกจากราชการไปด้วย

ดังนั้นหากผ่อนบ้านไม่ไหวก็แนะนำให้รีบขายต่อ หรือถ้าจะปล่อยให้แบงก์ยึดก็ต้องเคลียร์ยอดกับแบงก์ให้เรียบร้อย ซึ่งหลายคนไม่ทราบ คิดเอาเองว่าแบงก์ยึดไปแล้วก็จบไป อาจทำให้เดือดร้อนในภายหลังได้นะครับ

...ฝากผู้อ่านทุกท่าน แนะนำแนวทางให้ผู้ไม่รู้ด้วยนะครับ เพราะมีคนโดนแบบนี้เยอะมาก

ขอบคุณครับ

38
ปัจจุบันยังมีมิจฉาชีพที่เรียกว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (call center) คอยหลอกลวงประชาชน โดยการใช้โทรศัพท์ (เสียงบันทึก) แจ้งเรื่องต่างๆ เช่น แจ้งอายัดบัญชี , แจ้งว่ามีหนี้กับธนาคาร , แจ้งว่ามีรายการทางการเงินในบัญชีธนาคารของท่าน หรือกรณีอื่นๆ ซึ่งธนาคารที่แท้จริง จะไม่โทรหาลูกค้าในลักษณะเช่นนี้

ในเรื่องการกระทำความผิดแบบนี้ แม้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะพยายามปราบปรามไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่หมดสิ้นไปจากสังคมนี้นะครับ

ล่าสุดวันนี้ผมก็ยังได้รับโทรศัพท์แบบนี้เช่นกัน

ผมจึงขอแจ้งเตือนให้ผู้อ่านทุกท่านโปรดระมัดระวังและอย่าหลงเชื่อโดยง่าย และหากมีการพูดคุยจนถึงขั้นถูกข่มขู่ว่าท่านเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการที่กระทำผิดกฎหมาย ก็อย่าได้หวาดกลัวหลงเชื่อนะครับ เพราะวิธีการของมิจฉาชีพเหล่านี้ เป็นวิธีการที่ได้รับออกแบบมาเพื่อหลอกลวงคนที่มักจะกลัวและเชื่อคนง่ายๆเท่านั้นนะครับ

ขอให้ช่วยกันส่งข่าวหรือแจ้งเตือนให้คนที่ท่านรักได้รู้ถึงกลโกงของมิจฉาชีพกลุ่มนี้ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อเหมือนกับที่เป็นข่าวนะครับ

ขอบคุณครับ

39
ต้องขอโทษสำหรับหลายๆคำถามที่ยังไม่ได้ตอบให้นะครับ

เนื่องจากสำนักงานฯได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รวมถึงระบบ internet ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข การดำเนินการหลายๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน รวมถึงงานประจำค่อนข้างล่าช้าเป็นอย่างมาก

กระทู้หลายๆคำถามถ้าไม่ยากมาก และไม่ต้องค้นคว้าผมจะพยายามเร่งทยอยตอบให้เมื่อมีเวลานะครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ

40
เป็นคำถามที่มักมีผู้สงสัยสอบถามเข้ามาจำนวนมากครับ

เมื่อท่านถูกฟ้องล้มละลาย และศาลยังม่ได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ท่านยังสามารถทำนิติกรรมได้ครับ

แต่... ในการทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์บางรายการในระหว่างที่ถูกฟ้องล้มละลาย รวมถึงถูกฟ้องบังคับชำระหนี้ในคดีแพ่งทั่วไปด้วย เช่น การโอนขาย/ยกให้ ที่ดิน บ้าน รถยนต์ หรือทรัพย์ที่มีทะเบียนที่สามารถตรวจสอบได้โดยง่าย ท่านอาจเข้าข่ายมีความผิดอาญาในข้อหา "โกงเจ้าหนี้" ได้นะครับ

ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ กรณีนี้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ซึ่งหากท่านมีเจตนาที่จะไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว ก็เข้าข่ายเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรานี้ครับ สำหรับบทกำหนดโทษ ก็คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ ความผิดฐานนี้เป็นความผิดที่สามารถยอมความกันได้ครับ

ใครที่คิดจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ ได้โปรดพึงระวังไว้สักนิดครับ เพราะความผิดอาญามีผลกระทบถึงสิทธิส่วนตัว คือมีโทษถึงจำคุกนะครับ

นอกจากนี้ การโอนทรัพย์สินออกไปในระหว่างที่ถูกฟ้องคดี นิติกรรมการโอนทรัพย์ ก็อาจถูกเพิกถอนได้ด้วยเช่นกันครับ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามพระราชบัญญัติล้มละลาย

สำหรับความเสี่ยงต่อคดีอาญานอกเหนือจากนี้ ซึ่งผมขอแนะนำให้พึงระวัง คือการไปหลอกขายทรัพย์ให้บุคคลภายนอกครับ ตรงนี้นอกจากเจ้าหนี้จะดำเนินคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ได้แล้ว ท่านอาจถูกผู้ซื้อทรัพ์ดำเนินคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงซ้ำอีกกระทงก็เป็นได้นะครับ

41
เป็นข่าวในสังคมกฎหมายนะครับ เอามาลงเผยแพร่เป็นข้อมูลความรู้ครับ
(ขออภัยที่จำแหล่งข่าวไม่ได้ครับ)

ประหารชีวิตนักโทษยาเสพย์ติด

เรือนจำกลางบางขวาง ฉีดยาประหารชีวิตนักโทษคดีค้ายาเสพติด 2 รายซ้อน พร้อมยึดทรัพย์สินกว่า 41 ล้านบาท ถือเป็นการประหารชีวิตด้วยการฉีดยาเป็นครั้งที่ 2 ของประเทศ ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงจากยิงเป้ามาฉีดยา เผยขั้นตอนฉีดแค่ 3 เข็ม ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาหยุดการเต้นของหัวใจ
   
    วันนี้ (24 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรือนจำกลางบางขวาง ได้ทำการประหารชีวิตนักโทษคดียาเสพติดรายสำคัญ 2 ราย มี นช.บัณฑิต เจริญวานิช อายุ 45 ปี และ นช.จิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ อายุ 52 ปี นักโทษคดียาเสพติดรายใหญ่ ซึ่งถูกจับกุมพร้อมของกลางยาบ้า 100,000 เม็ด โดยประหารชีวิตด้วยการฉีดยาพิษในแดนประหาร และถือเป็นการฉีดยาพิษประหารเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546 มาตรา 19 เปลี่ยนการประหารชีวิตจากการยิงเป้ามาเป็นฉีดยา หรือสารพิษให้ตาย
   
    ทั้งนี้ ขั้นตอนก่อนประหารชีวิตดังกล่าว หลังฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษตกมายังกรมราชทัณฑ์ เรือนจำจะปกปิดเป็นความลับ จนกว่าจะเก็บนักโทษทั้งหมดเข้าเรือนนอนในเวลา 15.30 น.จากนั้นเรือนจำจะเบิกตัวนักโทษที่ต้องรับโทษประหารชีวิตออกมา และแจ้งให้ทราบถึงผลฎีกา เพื่อให้เขียนพินัยกรรมสั่งเสีย หรือให้โทรศัพท์สั่งเสียกับญาติพี่น้องก่อนการประหารชีวิต 1 ชั่วโมง จากนั้นเรือนจำจะจัดอาหารมื้อสุดท้ายให้แก่นักโทษ และนิมนต์พระสงฆ์วัดบางแพรกใต้ เข้ามาแสดงธรรม เมื่อถึงเวลาจะนำนักโทษประหารขึ้นรถ และนำตัวเข้าสู่แดนประหาร ซึ่งก่อนเข้าสู่แดนประหาร ผู้คุมจะนำนักโทษเข้าสักการะศาลเจ้าพ่อเจตตคุปต์และกราบไหว้ต้นโพธิ์ 3 ต้น หน้าแดนประหาร จากนั้นจะนำตัวนักโทษเข้าสู่ห้องฉีดสารพิษ และปิดตานักโทษด้วยผ้าดำ รวมทั้งให้นักโทษถือดอกไม้ธูปเทียนและหันหน้าไปทางวัดบางแพรกใต้ ที่อยู่ติดกับแดนประหาร
   
    ส่วนขั้นตอนในแดนประหาร เรือนจำจะยังคงล่ามโซ่ตรวนไว้ และให้นักโทษนอนบนเตียงประหารชีวิต ซึ่งมีผ้าขาวสำหรับห่อศพวางรองอยู่ และทำการขึงแขนนักโทษให้ติดกับเตียงทั้ง 2 ข้างในท่ากางแขน และนำเข็มฉีดยาปักไปที่ข้อมือทั้ง 2 ข้าง ทำการฉีดยาจำนวน 3 เข็ม เข็มที่ 1 คือ ยานอนหลับ เข็มที่ 2 เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ และเข็มที่ 3 คือ ยาหยุดการเต้นของหัวใจ โดยขั้นตอนการฉีดยาประหารชีวิตจะใช้เวลาประมาณ 25 นาที จากนั้นแพทย์และคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทนอัยการจังหวัด ผู้กำกับการสถานีตำรวจ ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้แทนกรมราชทัณฑ์ จะตรวจสอบว่า นักโทษประหารเสียชีวิตตามคำพิพากษา จากนั้นนำศพนักโทษบรรจุในโลงเย็น ซึ่งมีความเย็น -18 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนจะให้แพทย์ตรวจเป็นครั้งสุดท้าย และให้ญาติรับไปบำเพ็ญกุศลในวันรุ่งขึ้น
   
    สำหรับ นายบัณฑิต เจริญวานิช และ นายจิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ กับพวกอีก 3 คน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) จับกุมได้เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2544 พร้อมของกลางยาบ้า 114,219 เม็ด ต่อมาศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต นายบัณฑิต และ นายจิรวัฒน์ อีกทั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) มีมติให้ยึดอายัดทรัพย์สินของนายบัณฑิต และนายจิรวัฒน์ จำนวน 73 รายการ รวมมูลค่าประมาณ 41,666,289 บาท
   
    ก่อนหน้านี้ ราวเดือน ม.ค.2548 กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการประหารชีวิตแบบใหม่ด้วยการฉีดยา ให้กับนักโทษรวม 4 ราย คือ 1.นช.บุญลือ นาคประสิทธิ 2.นช.พันพงษ์ สินธุสังข์ 3.นช.วิบูลย์ ปานะสุทธะ ซึ่งนักโทษทั้ง 3 คน ต้องโทษคดียาเสพติด โดยเมื่อวันที่ 31 พ.ค.2541 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้ง 3 คน ฐานร่วมกันผลิตเมตแอมเฟตามีน หรือยาบ้า จากการตรวจค้นพบอุปกรณ์การผลิต พร้อมกับยาบ้า จำนวน 115,800 เม็ด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ประหารชีวิต จำเลยทั้ง 3 อุทธรณ์ขอให้ลดโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้ง 3 คน ฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน
   
    ส่วนนักโทษคนที่ 4 คือ นช.พนม ทองช่างเหล็ก พฤติกรรมความผิด เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2542 จำเลยใช้อาวุธปืนยิงนายแสงชัย ทองเชื้อ ผู้ตายจำนวน 4 นัด ขณะนั่งรับประทานอาหารร่วมกับพวก ที่ตำบลวิชัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่ได้จับกุมและแจ้งข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้การประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาพิพากษายืน

42
กรณีลูกจ้างไปทำงานไม่ได้ เพราะเหตุน้ำท่วมบ้าน ถนนหนทางต่างๆ การเดินทางยากลำบาก บางรายต้องอพยพออกนอกบ้าน ลูกจ้างเหล่านี้ หากนายจ้างเป็นเอกชนที่ไม่ประกาศหยุดงาน จะทำอย่างไรดี

ผมมีข้อแนะนำครับ

ก่อนอื่นลูกจ้างต้องแจ้งให้นายจ้างทราบถึงเหตุจำเป็นในเรื่องของเหตุน้ำท่วม ติดปัญหาเรื่องการเดินทาง ภาระรับผิดชอบเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยต่างๆ ให้นายจ้างรับทราบและขอใช้สิทธิลาหยุด ซึ่งกรณีเช่นนี้ นับว่าเป็นเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง นายจ้างจะบังคับให้เราไปทำงานไม่ได้

กรณีนายจ้างอนุญาต ก็คงไม่มีปัญหาใดๆครับ

แต่หากนายจ้างไม่ยินยอม และลูกจ้างขาดงานเกินกว่า 3 วัน เพราะเหตุน้ำท่วมเช่นนี้ (กรณีได้แจ้งแก่นายจ้างโดยชัดแจ้งแล้ว) นายจ้างก็ยังไม่มีสิทธิจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และหากนายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้าง อาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้อีกด้วย ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้อีกส่วน

เรื่องนี้ค่อนข้างมีประเด็นซับซ้อนตามข้อเท็จจริงแต่ละกรณี หากใครมีข้อสอบถามเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ครับ (เพื่อเป็นการช่วยเหลือทางกฎหมายในภาวะน้ำท่วมครับ)


43
เนื่องจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ โรงงานหลายๆโรงงานมักประสบปัญหาเรื่องการส่งมอบสินค้า

ดังนั้นผมจะมาบอกเล่าข้อมูลเกี่ยวข้องกับกฎหมายในเรื่องของการซื้อขายสินค้าในช่วงที่น้ำท่วมนี้ครับ

สัญญาซื้อขาย ประเภทที่เป็นการสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน/ห้างร้านต่างๆ โดยทั่วไปมักจะกระทำกันในรูปแบบของการทำคำสั่งซื้อ (ออก PO) และผู้ขายก็จะจัดส่งสินค้าและเรียกเก็บเงิน (มีเครดิตหรือไม่ก็ตาม) ส่วนมากก็จะไม่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายกันไว้โดยชัดแจ้ง แต่มีเงื่อนไขต่างๆระบุในใบคำสั่งซื้อ

ลักษณะของการซื้อขายรูปแบบนี้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าจึงยังอยู่กับผู้ขายจนกว่าผู้ขายจะได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วเสร็จ

ดังนั้นในกรณีที่สินค้าเสียหาย หรือสูญหายเนื่องมาจากน้ำท่วม หากผู้ขายยังไม่ได้จัดส่งสินค้าก็ยังคงมีหน้าที่ตามสัญญาซื้อขาย คือ ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อกันครับ กรณีนี้ยังไม่ได้พูดไปถึงเรื่องค่าปรับต่างๆ ตามที่ได้กำหนดกันไว้ในสัญญาซื้อขาย ซึ่งต้องไปว่ากันตามข้อสัญญาอีกที (ในกรณีที่ได้ระบุกันไว้ในเรื่องค่าเสียหายโดยชัดแจ้ง)

อย่างไรก็ตาม เหตุน้ำท่วมใหญ่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอย่างหนึ่งตามกฎหมาย การชำระหนี้ไม่ได้เพราะเหตุสุดวิสัย (ในที่นี้หมายถึง ส่งมอบสินค้าไม่ได้เนื่องจากเหตุน้ำท่วมโดยตรง) ซึ่งเป็นเหตุที่จะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ เช่นนี้คู่สัญญาอีกฝ่ายอาจปฎิเสธไม่รับชำระหนี้ (หมายถึง ผู้ซื้อขอยกเลิกสัญญาได้) ซึ่งจะเป็นผลให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เหมือนไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันมาก่อนครับ

ในระหว่างคู่สัญญา การพูดคุยตกลงยกเลิกสัญญาต่อกัน หรือการตกลงกันขอเลื่อนการส่งมอบสินค้าออกไปก่อน เป็นข้อแนะนำที่ดีที่สุดในสภาวะเช่นนี้ครับ

44
ความผิดฐานลักทรัพย์ มีโทษตามกฎหมายคือจำคุกไม่เกิน 3 ปี และจะถูกลงโทษหนักขึ้น ถ้าพฤติการณ์แห่งการลักทรัพย์ไปเข้าเหตุฉกรรจ์ เช่น ลักทรัพย์ในเคหะสถาน ในเวลากลางคืน ทรัพย์ของนายจ้าง เป็นต้น ซึ่งจะมีโทษสูงขึ้นจนถึงจำคุกไม่เกิน 10 ปี แล้วแต่กรณี

สำหรับโทษที่จะลงแก่ผู้ต้องหา หรือจำเลยที่กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ก็ขึ้นอยู่กับราคาทรัพย์ที่ลัก และพฤติการณ์ของการลัก เป็นต้น

แต่ที่สำคัญที่สุด และควรจดจำไว้เพื่อตักเตือนบุตรหลานและคนที่ท่านรัก คือ หากถูกดำเนินคดีในศาลข้อหาลักทรัพย์ และศาลฟังว่ากระทำความผิดจริง หรือจำเลยให้การรับสารภาพ คดีเหล่านี้จะไม่มีการรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษ (รอลงอาญา) นะครับ เพราะเป็นคดีความผิดติดนิสัย ที่รัฐมีนโยบายลงโทษเพื่อให้เข็ดหลาบ ศาลจะสั่งจำคุกทันทีครับ

อายุความคดีลักทรัพย์นายจ้าง

45
มีคำถามว่า กรณีเราขับรถลุยน้ำเองแล้วรถเสียหาย ประกันไม่จ่าย แต่กรณีจอดไว้ที่บ้านหากน้ำท่วมบ้านรถเสียหายประกันจ่าย ใช่หรือไม่

ขอตอบคำถามนี้ว่า กรณีเราขับรถลุยน้ำ บ.ประกันอาจมีข้อต่อสู้ เพื่อให้ไม่ต้องรับผิด โดยยกเอาเหตุว่าเป็นการที่เราจงใจทำให้เกิดภัยแก่ตัวรถ (เคลมประกันโดยสุจริตหรือไม่) เนื่องจากสภาวะที่น้ำท่วมสูง หากคุณยังดึงดันที่จะขับรถเข้าไปเสี่ยงภัย ทั้งรู้ว่าอาจเกิดความเสียหายได้ ย่อมถือว่าเป็นการจงใจ ซึ่งคงต้องพิสูจน์เจตนากันต่อไป แต่หากเป็นกรณีประมาท หรือเกิดจากเหตุสุดวิสัยเสียแล้ว ก็ยังอยู่ในเงื่อนไขที่ประกันชั้น 1 ต้องจ่ายครับ ส่วนจอดไว้ที่บ้านแล้วน้ำท่วมประกันต้องจ่ายอยู่แล้วครับ

46
ในถานการณ์ที่เกิดน้ำท่วมหนักแบบนี้ หากรถยนต์ของเราเสียหายจากน้ำท่วม จะทำอย่างไร?

มีคำตอบเชิงแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายดังนี้ครับ

กรณีรถยนต์เสียหายเพราะเหตุน้ำท่วม ท่านสามารถเรียกร้องต่อบริษัทประกันได้หรือไม่

ก่อนอื่นท่านจะต้องสำรวจข้อมูลของตนเองว่า ท่านได้ประกันรถยนต์ไว้ตามกรมธรรม์ประเภทใด เพราะแต่ละประเภทมีความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยปกติแล้วจะมี 3 ประเภท ได้แก่

ประเภท 1(ชั้น 1 ) ความคุ้มครอง คือ
? ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
? ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
? ความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
? ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

ประเภท 2 (ชั้น 2) ความคุ้มครอง คือ
? ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
? ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
? ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

ประเภท 3 (ชั้น 3) เป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนี้
? ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
? ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

ในปัจจุบันมีกรมธรรม์ประเภทพิเศษ 2+ / 3+ ผู้เอาประกันภัยประเภทนี้ จะได้รับความคุ้มครองแบบมีเงื่อนไขตามแต่บริษัทประกันกำหนด เช่น
   1. อุบัติเหตุที่เกิดจากการชนกับยานพาหนะทางบก เท่านั้น
   2. ต้องมีคู่กรณี
   3. เป็นฝ่ายผิด
   4. รับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก 1,000 บาท (ตามที่ระบุ) ต่อการซ่อมรถคันที่เอาประกัน
   ดังนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าสำหรับการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจนั้น (ที่ท่านเลือกทำกับบริษัทประกันต่างๆนั่นแหละ เรียกว่า ภาคสมัครใจ ไม่ได้โดนบังคับแต่อย่างใด) กรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วม มีเพียงกรมธรรม์ประเภท 1 หรือประกันชั้น 1 เท่านั้น ส่วนประเภท 2, 3, 2+, 3+ ไม่ได้รับความคุ้มครองเรื่องความเสียหายจากน้ำท่วมรถ
   !!!!! แต่มีประเด็นที่ท่านจะต้องรับรู้ไว้เพิ่มเติม คือ ท่านอาจจะต้องชำระค่าเสียหายส่วนแรก 1,000 บาท ของความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ ตามประกาศ คปภ. ฉบับ ที่ 22/2551 ซึ่งเดิมนั้น กำหนดไว้ที่ 2,000 บาท เพราะความเสียหายอันเกิดจากการประสบภัยน้ำท่วมไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากการชน ซึ่งเป็นประเด็นที่จะต้องติดตามการตีความของคปภ.ต่อไป!!!!! (อาจต้องทำใจจ่าย 1,000 บาท ค่ะ)
รู้ไว้ใช่ว่า......
   
   เกณฑ์การพิจารณาค่าสินไหมทดแทนจากน้ำท่วม
   หากท่านทำประกันรถยนต์ ชั้น 1 ไว้และรถเกิดความเสียหายจากน้ำท่วมนั้น สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ โดยปกติจะต้องพิจาณาจาก ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจริง ดังนี้
   1. เสียหายสิ้นเชิง (total loss) ในที่นี้หมายถึงเสียหายจนไม่อาจซ่อมให้อยู่สภาพเดิมได้ หรือค่าความเสียหายไม่น้อยกว่า 70% ของมูลค่ารถยนต์ ขณะเกิดความเสียหาย เช่น โดยน้ำท่วมทั้งคันหรือ ท่วมเกินคอนโซลหน้า
   2. เสียหายแต่ไม่ถึงเสียหายสิ้นเชิง (partial loss) ในกรณีนี้ บริษัทรับประกัน จะซ่อมให้จนรถกลับสู่สภาเดิมก่อนเสียหาย
   การที่กรมธรรม์ไม่ได้ระบุความรับผิดไว้ชัดเจนกรณีน้ำท่วมนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถยกเว้นความรับผิดได้นะค่ะ ดังนั้น ถ้าบริษัทฯประกันไหนอ้างว่า ไม่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ท่านสามารถฟ้องร้องได้ค่ะ
   ....... ขอให้ทุกคนที่ประสบภัยพิบัติครั้งนี้ปลอดภัย และสบายใจเรื่องรถยนต์ได้ค่ะ.......
(กรณีท่านที่ไม่ได้ทำประกันไว้ อย่าเพิ่งเครียดค่ะ ลองติดตามข่าวต่อไปว่า หน่วยงานไหนที่ท่านจะสามารถใช้สิทธิ หรือขอรับเงินเพื่อชดเชยความเสียหายได้บ้าง อาจได้ไม่เต็มที่แต่ต้องสู้ต่อไปค่ะ)

หน้า: 1 [2]