สำนักงานทนายความ

แสดงกระทู้

ส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถดูกระทู้ทั้งหมดสมาชิกนี้ โปรดทราบว่าคุณสามารถเห็นเฉพาะกระทู้ในพื้นที่ที่คุณเข้าถึงในขณะนี้


ข้อความ - Preecha Yokthongwattana

หน้า: 1 ... 13 14 [15]
421
ขอบคุณ คุณ pridtenpe ครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็น

ทีมงานของเรา รวมถึงตัวผมเอง ก็อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมครับ

การอัพเดตเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ ช่วงนี้คงจะยากลำบากสักหน่อยครับ

โปรดรอคอยข้อมูลความรู้เกี่ยวกับกฎหมายใกล้ตัวในเรื่องอื่นๆต่อไปนะครับ

422
ความผิดฐานลักทรัพย์ มีโทษตามกฎหมายคือจำคุกไม่เกิน 3 ปี และจะถูกลงโทษหนักขึ้น ถ้าพฤติการณ์แห่งการลักทรัพย์ไปเข้าเหตุฉกรรจ์ เช่น ลักทรัพย์ในเคหะสถาน ในเวลากลางคืน ทรัพย์ของนายจ้าง เป็นต้น ซึ่งจะมีโทษสูงขึ้นจนถึงจำคุกไม่เกิน 10 ปี แล้วแต่กรณี

สำหรับโทษที่จะลงแก่ผู้ต้องหา หรือจำเลยที่กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ก็ขึ้นอยู่กับราคาทรัพย์ที่ลัก และพฤติการณ์ของการลัก เป็นต้น

แต่ที่สำคัญที่สุด และควรจดจำไว้เพื่อตักเตือนบุตรหลานและคนที่ท่านรัก คือ หากถูกดำเนินคดีในศาลข้อหาลักทรัพย์ และศาลฟังว่ากระทำความผิดจริง หรือจำเลยให้การรับสารภาพ คดีเหล่านี้จะไม่มีการรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษ (รอลงอาญา) นะครับ เพราะเป็นคดีความผิดติดนิสัย ที่รัฐมีนโยบายลงโทษเพื่อให้เข็ดหลาบ ศาลจะสั่งจำคุกทันทีครับ

อายุความคดีลักทรัพย์นายจ้าง

423
ขอโทษที่ตอบช้ามากครับ เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมหนัก ต้องเฝ้าระวังตลอดเวลา ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาเท่าไรครับ

กรณีเรื่องการถูกย้ายงาน ต้องดูลักษณะของงานก่อนครับ ถ้างานคุณทำอยู่เป็นงานที่มีสาขา ซึ่งคุณทราบดีแต่ต้นแล้ว คุณอาจต้องถูกย้ายตามคำสั่งครับ เช่น งานธนาคาร หรืองานอื่นที่มีสาขา ซึ่งมักจะมีระบุไว้ในสัญญาจ้างงาน
 
กรณีงานไม่มีลักษณะเป็นสาขา ก็ต้องดูว่าเป็นการย้ายสถานประกอบการ หรือการเปิดสาขาใหม่หรือไม่ จากข้อเท็จจริงที่คุณให้มาน่าจะเป็นการย้ายไปทำที่สาขาอื่น ซึ่งไม่ทราบว่ามีสาขานั้นๆมาแต่ต้นหรือไม่ ซึ่งการย้ายสถานที่ทำงานนั้นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอย่างหนึ่ง หากกระทบต่อวิถีชีวิตของลูกจ้างเป็นอันมาก ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอมไปทำงานยังสาขาใหม่ จะกระทำไม่ได้ครับ

ดังนั้น หากคุณเห็นว่าจะเป็นการลำบากและไม่อยากย้ายที่ทำงาน คุณสามารถปฏิเสธได้ครับ แต่นายจ้างอาจเลิกจ้างคุณได้เช่นกัน ซึ่งนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแก่คุณ และอาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้ด้วยนะครับ ซึ่งต้องดูพฤติการณ์หลายๆด้านประกอบกัน

หากใครมีปัญหาอื่นใดเพิ่มเติม สอบถามเพิ่มได้ครับ เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงานอยู่ครับ

424
การตกลงกันนอกศาลจะไม่สามารถบังคับกันได้โดยง่ายครับ การตกลงกันว่าจะหย่าก็ไมามีผลผูกพันเช่นกันครับ

หากต้องการจะหย่าจริงๆคงต้องให้ทนายความดำเนินการฟ้องหย่าให้ครับ และในคดีฟ้องหย่าจะต้องมีเหตุหย่าตามกฎหมายด้วยนะครับ เช่น
-สามีอุปการะยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา หรือมีชู้
-สามีประพฤติชั่ว เช่นทำให้ได้รับความอับอายขายหน้า ถูกเกลียดชังเพราะเหตุการประพฤติชั่วของสามี หรือทำให้ได้รับความเดือดร้อนเกินควร
-สามีทำร้ายร่างการ ทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทเหยียดหยามตน หรือบุพการีของตน (อย่างร้ายแรง)
-สามีจงใจทิ่งร้างไปนานกว่า 1 ปี
-สามีต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และต้องขังมาแล้วนานกว่า 1 ปี
-สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี
-สามีสาบสูญเกิน 3 ปี
-สามีไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตนตามสมควร หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามี-ภรรยาอย่างร้ายแรง
-สามีวิกลจริต เกิน 3 ปี
-ผิดทัณฑ์บนที่ทำไว้เป็นหนังสือเรื่องความประพฤติ
-เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
-สภาพแห่งกายไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

เหล่านี้เป็นเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมาย นอกจากเหตุเหล่านี้ ฟ้องหย่าไม่ได้นะครับ

ในการฟ้องหย่าเราก็สามารถเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรร่วมไปด้วยได้ในคราวเดียวกันครับ

ทั้งเหตุแห่งการฟ้องหย่า และวิธีการกระบวนการในการฟ้อง ขอแนะนำให้ปรึกษาทนายความที่มีความรู้นะครับ จะได้รับความเข้าใจที่ดีมากยิ่งขึ้น (ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้วล่ะครับ)

ขอบคุณครับ

425
มีคำถามว่า กรณีเราขับรถลุยน้ำเองแล้วรถเสียหาย ประกันไม่จ่าย แต่กรณีจอดไว้ที่บ้านหากน้ำท่วมบ้านรถเสียหายประกันจ่าย ใช่หรือไม่

ขอตอบคำถามนี้ว่า กรณีเราขับรถลุยน้ำ บ.ประกันอาจมีข้อต่อสู้ เพื่อให้ไม่ต้องรับผิด โดยยกเอาเหตุว่าเป็นการที่เราจงใจทำให้เกิดภัยแก่ตัวรถ (เคลมประกันโดยสุจริตหรือไม่) เนื่องจากสภาวะที่น้ำท่วมสูง หากคุณยังดึงดันที่จะขับรถเข้าไปเสี่ยงภัย ทั้งรู้ว่าอาจเกิดความเสียหายได้ ย่อมถือว่าเป็นการจงใจ ซึ่งคงต้องพิสูจน์เจตนากันต่อไป แต่หากเป็นกรณีประมาท หรือเกิดจากเหตุสุดวิสัยเสียแล้ว ก็ยังอยู่ในเงื่อนไขที่ประกันชั้น 1 ต้องจ่ายครับ ส่วนจอดไว้ที่บ้านแล้วน้ำท่วมประกันต้องจ่ายอยู่แล้วครับ

426
บทความตามกระทู้นี้น้องทีมงานเป็นผู้จัดทำขึ้นนะครับ

ต่อไปก็จะเป็นข้อแนะนำ/ข้อควรปฏิบัติกรณีเกิดความเสียหายขึ้นกับรถ อันเนื่องมาจากภัยน้ำท่วม

ข้อควรปฏิบัติ กรณีรถยนต์ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เมื่อรถยนต์ของท่านได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วม มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ก่อนอื่น ท่านควรแยกเอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับรถของท่าน และเอกสารเกี่ยวกับการประกันรถยนต์ เช่น กรมธรรม์ ไว้นอกรถ เพราะท่านต้องใช้อ้างอิงในการแจ้งข้อมูลแก่บริษัทประกัน
2. ท่านควรแจ้งบริษัทประกันทันที ที่ทราบความเสียหาย (แจ้งเคลม)
3. ท่านควรถ่ายภาพรถยนต์ และความเสียหายที่เกิดขึ้นเก็บไว้เป็นข้อมูล และใช้ชี้แจงแก่บริษัทประกัน
4. ในกรณีที่บริษัทประกันไม่สามารถส่งพนักงานไปบันทึกและตรวจสอบความเสียหายได้ (อาจเพราะไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้) ท่านควรถ่ายภาพไว้ตามข้อ 3. และควรให้บุคคลอื่น เช่น คนในครอบครัว หรือ เพื่อนบ้าน เป็นพยานที่สามารถยืนยันความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
5. กรณีที่ไม่สามารถแจ้งบริษัทประกัน หรือภาพภาพไว้ได้ ท่านควรบันทึกรายละเอียดข้อมูลความเสียหายไว้เช่น วันที่ที่เกิดความเสียหาย สภาพความเสียหายเท่าที่ประจักษ์ได้ด้วยตา และรีบแจ้งบริษัทประกันทันทีเมื่อท่านสามารถแจ้งได้
6. จากข้อ 5. หากท่านสามารถไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อขอให้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน เกี่ยวกับเหตุ และข้อมูลความเสียหายของรถยนต์เบื้องต้นเท่าที่ท่านเห็นประจักษ์ด้วยตา จะเป็นประโยชน์แก่ท่านเป็นอย่างมาก

หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านนะครับ

427
ในถานการณ์ที่เกิดน้ำท่วมหนักแบบนี้ หากรถยนต์ของเราเสียหายจากน้ำท่วม จะทำอย่างไร?

มีคำตอบเชิงแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายดังนี้ครับ

กรณีรถยนต์เสียหายเพราะเหตุน้ำท่วม ท่านสามารถเรียกร้องต่อบริษัทประกันได้หรือไม่

ก่อนอื่นท่านจะต้องสำรวจข้อมูลของตนเองว่า ท่านได้ประกันรถยนต์ไว้ตามกรมธรรม์ประเภทใด เพราะแต่ละประเภทมีความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยปกติแล้วจะมี 3 ประเภท ได้แก่

ประเภท 1(ชั้น 1 ) ความคุ้มครอง คือ
? ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
? ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
? ความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
? ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

ประเภท 2 (ชั้น 2) ความคุ้มครอง คือ
? ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
? ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
? ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

ประเภท 3 (ชั้น 3) เป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนี้
? ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
? ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

ในปัจจุบันมีกรมธรรม์ประเภทพิเศษ 2+ / 3+ ผู้เอาประกันภัยประเภทนี้ จะได้รับความคุ้มครองแบบมีเงื่อนไขตามแต่บริษัทประกันกำหนด เช่น
   1. อุบัติเหตุที่เกิดจากการชนกับยานพาหนะทางบก เท่านั้น
   2. ต้องมีคู่กรณี
   3. เป็นฝ่ายผิด
   4. รับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก 1,000 บาท (ตามที่ระบุ) ต่อการซ่อมรถคันที่เอาประกัน
   ดังนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าสำหรับการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจนั้น (ที่ท่านเลือกทำกับบริษัทประกันต่างๆนั่นแหละ เรียกว่า ภาคสมัครใจ ไม่ได้โดนบังคับแต่อย่างใด) กรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วม มีเพียงกรมธรรม์ประเภท 1 หรือประกันชั้น 1 เท่านั้น ส่วนประเภท 2, 3, 2+, 3+ ไม่ได้รับความคุ้มครองเรื่องความเสียหายจากน้ำท่วมรถ
   !!!!! แต่มีประเด็นที่ท่านจะต้องรับรู้ไว้เพิ่มเติม คือ ท่านอาจจะต้องชำระค่าเสียหายส่วนแรก 1,000 บาท ของความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ ตามประกาศ คปภ. ฉบับ ที่ 22/2551 ซึ่งเดิมนั้น กำหนดไว้ที่ 2,000 บาท เพราะความเสียหายอันเกิดจากการประสบภัยน้ำท่วมไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากการชน ซึ่งเป็นประเด็นที่จะต้องติดตามการตีความของคปภ.ต่อไป!!!!! (อาจต้องทำใจจ่าย 1,000 บาท ค่ะ)
รู้ไว้ใช่ว่า......
   
   เกณฑ์การพิจารณาค่าสินไหมทดแทนจากน้ำท่วม
   หากท่านทำประกันรถยนต์ ชั้น 1 ไว้และรถเกิดความเสียหายจากน้ำท่วมนั้น สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ โดยปกติจะต้องพิจาณาจาก ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจริง ดังนี้
   1. เสียหายสิ้นเชิง (total loss) ในที่นี้หมายถึงเสียหายจนไม่อาจซ่อมให้อยู่สภาพเดิมได้ หรือค่าความเสียหายไม่น้อยกว่า 70% ของมูลค่ารถยนต์ ขณะเกิดความเสียหาย เช่น โดยน้ำท่วมทั้งคันหรือ ท่วมเกินคอนโซลหน้า
   2. เสียหายแต่ไม่ถึงเสียหายสิ้นเชิง (partial loss) ในกรณีนี้ บริษัทรับประกัน จะซ่อมให้จนรถกลับสู่สภาเดิมก่อนเสียหาย
   การที่กรมธรรม์ไม่ได้ระบุความรับผิดไว้ชัดเจนกรณีน้ำท่วมนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถยกเว้นความรับผิดได้นะค่ะ ดังนั้น ถ้าบริษัทฯประกันไหนอ้างว่า ไม่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ท่านสามารถฟ้องร้องได้ค่ะ
   ....... ขอให้ทุกคนที่ประสบภัยพิบัติครั้งนี้ปลอดภัย และสบายใจเรื่องรถยนต์ได้ค่ะ.......
(กรณีท่านที่ไม่ได้ทำประกันไว้ อย่าเพิ่งเครียดค่ะ ลองติดตามข่าวต่อไปว่า หน่วยงานไหนที่ท่านจะสามารถใช้สิทธิ หรือขอรับเงินเพื่อชดเชยความเสียหายได้บ้าง อาจได้ไม่เต็มที่แต่ต้องสู้ต่อไปค่ะ)

หน้า: 1 ... 13 14 [15]