สำนักงานทนายความ

ที่ดินหัวไร่ปลายนา

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

น้ำเย็น

ที่ดินหัวไร่ปลายนา
« เมื่อ: มิถุนายน 23, 2015, 10:59:56 AM »
ขอสอบถามเรื่องที่ดินหัวไร่ปลายนาคะ นาย ก. มีที่ 15 ไร่ ในตอนที่ดำรงตำแหน่งกำนัน ได้ทำเรื่องขอถนนเข้าผ่านที่นาของตนโดยอ้างว่าเพือ่สาธารณประโยชน์ต่อประชาชน และได้ขอให้ลูกบ้านซึ่งมีที่ดินอยู่ก่อนถึงที่ของตนให้ช่วยเซนต์ยินยอมให้ทำถนนสาธารณะผ่านได้ ซึ่งลูกบ้านก็ยินยอม ต่อมา ได้มีการสร้างฝายกั้นนั้ำ กั้นระหว่างคลองสาธารณะซึงติดกับบริเวณที่ดินของนาย ก และ นาย ก ได้ใช้ประโยชน์การปิด-เปิดน้ำกั้น ซึ่งก็มิได้มีปัญหาอะไร และนาย ก ได้พ้นจากตำแหน่งกำนัน จนกระทั่ง วันหนึ่ง นาย ก ได้ทำประตูเหล็กปิดกั้น สะพานฝ่ายกั้นน้ำที่มีทางผ่านเข้าออก จากทางที่ดินของตน โดยอ้างว่า กลัวทรัพย์สินจะโดนขโมย ทางผู้ทีได้รับความเดือดร้อนจากการปิดทางเข้าออก ได้ไปร้องขอความเป็นธรรม จากทางหน่วยราชการที่รับผิดชอบ ซึ่งทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ และได้ไปตรวจสอบที่ดินบริเวณดังกล่าว และหน่วยราชการบอกว่า เป็นที่หัวไร่ปลายนา เป็นที่เอกชนจับจองครอบครอง รัฐไม่สามารถเข้าไปทำอะไรได้ ไม่มีอำนาจจะสังให้รือถอนได้ จึงติดใจสงสัยมากคะ ว่าเป็นอย่างที่หน่วยงานรัฐหน่วยนี้ ชี้แจงมาหรือเปล่า จริงหรือคะ ที่เอกชนสามารถจับจองที่ของรัฐ แล้วรัฐก็ไม่มีอำนาจอะไรทีจะสั่งรือถอนสิ่งปลูกสร้างได้ ขอถามหน่อยคะ

Preecha Yokthongwattana

  • ติดต่อ ทนายปรีชา 081-988-1845
  • ****
  • 428
  • 22
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่ดินหัวไร่ปลายนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 24, 2015, 04:04:43 PM »
ทบทวนให้อีกครั้งครับ
"ที่ดินหัวไร่ปลายนา" คือ ที่ดินที่ราษฎรขอจับจองที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อย ได้แก่ ที่ดินของรัฐที่มีเนื้อที่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งอาจจะมีพื้นที่กระจัดกระจายไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน หรือที่ดินที่มีเนื้อที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน ที่ดินที่อยู่ติดต่อกับที่ดินซึ่งมีการทำประโยชน์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะติดต่อกับที่ดินของผู้ขอเอง หรือติดต่อกับที่ดินของผู้อื่น เรียกว่าที่ดินหัวไร่ปลายนาทั้งสิ้น จะมีอยู่ทั่วไปแปลงละไม่กี่ไร่ โดยรัฐจะออกใบจอง (หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว)ให้แก่ผู้จับจอง เพื่อให้ทำประโยชน์ในที่ดินภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบจอง และจะต้องทำประโยชน์ในที่ดินร้อยละ 75 ของที่ดินที่ออกใบจอง
ที่ดินที่มีใบจองนี้ ถ้ายังไม่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จะโอนให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดทางมรดก โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม เมื่อทำประโยชน์ตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ก็มีสิทธินำใบจองนั้นมาขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข) หรือโฉนดที่ดินได้ แต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินนั้นจะต้องตกอยู่ในบังคับห้ามโอนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

ในกรณีนี้การที่นาย ก. ได้สร้างประตูเหล็กในที่ดินของตนเอง จึงเป็นเรื่องของเอกชนซึ่งหน่วยงานราชการไม่อาจเข้าไปสั่งการให้รื้อถอนได้ แต่หากมีผู้ได้รับความเดือดร้อนก็คงต้องใช้สิทธิในทางศาลเพื่อฟ้องร้องว่าการกระทำของนายก. เป็นการใช้สิทธิเกินส่วน กล่าวคือ แม้ว่าเป็นการใช้สิทธิในพื้นที่ของตนเอง แต่ก็ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร ตามกฎหมายลักษณะละเมิด (มาตรา 421) ครับ
รับอบรม กฎหมาย
รับรองลายมือชื่อ ทนาย

ร่าง/แปล สัญญา ไทย-อังกฤษ
รับปรึกษาคดีความ
ติดต่อ ทนายปรีชา 081-988-1845
ขอบคุณ สำนักงานทนายความ.com ที่ให้ใช้พื้นที่ ;D

 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ชื่อ: อีเมล์:
Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::