สำนักงานทนายความ

สิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตร

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตร
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2015, 01:16:17 PM »
สวัสดีค่ะดิฉันอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นได้จดทะเบียนสมรสกับชาวเปรูที่ญี่ปุ่นและจดทะเบียนไทย(ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว)แต่สามีไม่ได้แจ้งตดทะเบียนที่เปรูตอนนี้มีบุตรด้วยกัน2และแจ้งเกิดมีใบเกิดไทยแล้วแต่ว่ายังไม่ได้นำชืีอเข้าทะเบียนบ้านไทยตอนนี้เรามีปัญหากันบ่อยมากจนดิฉันอยากพาลูกกลับมาอยู่เมืองไทยขอถามคำถามดังนี้ค่ะ1ถ้าดิฉันพาลูกกลับเมืองไทยโดยไม่หย่าดิฉันมีสิทธิ์ในตัวลูกรึเปล่าคะเพราะไม่ได้ยื่นคำร้องจดทะเบียนี่เปรู. 2ถ้าเดินทางออกจากญี่ปุ่นเขามีสิทธิ์แจ้งข้อหาลักพาตัวลูกหรือไม่ กรุณาชี้แจงดิฉันด้วยค่ะขอบพระคุณค่ะ

Preecha Yokthongwattana

  • ติดต่อ ทนายปรีชา 081-988-1845
  • ****
  • 428
  • 22
    • ดูรายละเอียด
Re: สิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2015, 12:54:43 PM »
ในกรณีนี้ ก่อนอื่นต้องดูเรื่องการจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวก่อนครับ ในปัจจุบันมีชาวไทยจำนวนไม่น้อยเดินทางไปอาศัยอยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะไปทำงาน ไปศึกษาต่อ หรือไปเป็นแม่บ้าน คนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศบางคน อาจมีครอบครัวอยู่ที่นั่น และต้องการจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่สะดวกที่จะเดินทางกลับมาประเทศไทยเพื่อจดทะเบียนสมรส คนไทยเหล่านั้นก็สามารถจดทะเบียนสมรสที่ต่างประเทศได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ สามารถไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศนั้น ๆ ได้เลย ซึ่งทะเบียนสมรสนี้จะถือว่าถูกต้องตามกฎหมายไทย เหมือนกับที่จดทะเบียนสมรสในประเทศไทยทุกประการ แต่ในกรณีที่จดทะเบียนสมรสที่ สำนักงานใด ๆ ในต่างประเทศที่เทียบเท่า สำนักงานเขต/อำเภอในประเทศไทย ก็จะถือว่าทะเบียนสมรสนั้นถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และถ้าคู่สมรสที่เป็นคนไทยประสงค์จะให้ทะเบียนสมรสนี้มีผลถูกต้องตามกฎหมายไทย ก็ให้ดำเนินการขอจดทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัวได้ที่ สำนักงานเขต/อำเภอ ในประเทศไทย เท่านั้น

การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว จึงได้แก่ การใดๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวที่ได้ทำขึ้นในต่างประเทศ ตามแบบซึ่งกฎหมายแห่งที่ทำขึ้นบัญญัติไว้ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งได้กระทำการใดใดอันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวและนำหลักฐานมาบันทึกให้ปรากฏในประเทศไทย เพื่อเป็นหลักฐานในการพิสูจน์ เมื่อเกิดมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามกฎหมาย

ดังนั้น ในกรณีนี้การที่คุณมาบันทึกฐานะแห่งครอบครัวที่ประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว จึงเท่ากับคุณได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยทุกประการ ซึ่งตามกฎหมายไทยแล้วแม้คุณจะไม่จดทะเบียนสมรส มารดาก็ถือว่าเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรทุกกรณี การที่คุณจะใช้สิทธิในการดูแลหรือนำบุตรมาเลี้ยงดูก็ย่อมทำได้ (ไม่เกี่ยวกับการหย่า) แต่บิดาก็มีสิทธิในการดูแลบุตรเช่นกัน ในกรณีที่คุณจะเดินทางออกจากญี่ปุ่น คุณต้องลองตรวจสอบกฎหมายญี่ปุ่นดูนะครับ แต่โดยปกติแล้วไม่น่ราจะถือเป็นการลักพาตัวครับ
รับอบรม กฎหมาย
รับรองลายมือชื่อ ทนาย

ร่าง/แปล สัญญา ไทย-อังกฤษ
รับปรึกษาคดีความ
ติดต่อ ทนายปรีชา 081-988-1845
ขอบคุณ สำนักงานทนายความ.com ที่ให้ใช้พื้นที่ ;D

 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ชื่อ: อีเมล์:
Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::