สำนักงานทนายความ

กรณีเขียนใบลาออกโดยอ้างว่าถูกข่มขู่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมหรือไม่?

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Preecha Yokthongwattana

  • ติดต่อ ทนายปรีชา 081-988-1845
  • ****
  • 428
  • 22
    • ดูรายละเอียด
การเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมนั้น กฎหมายไม่ได้มีการให้คำนิยามไว้แต่อย่างใด หากแต่เราสามารถพบคำนี้ได้ในมาตรา 49 ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า

"การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน โดยให้ ศาลคำนึงถึงอายุของ ลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อ ถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา"

        จะเห็นได้ว่าในมาตรานี้แค่มีการกล่าวถึงการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม แต่ไม่ได้บอกว่าการเลิกจ้างแบบใดจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมบ้าง โดยกฎหมายปล่อยให้เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานเองที่จะพิจารณาเอาตามแต่ละสถานการณ์ที่ก็แตกต่างกันไป
         กรณีที่จะนำมาพิจารณามีอยู่ว่า หากลูกจ้างเขียนใบลาออกเอง แต่อ้างว่าเขียนเพราะถูกข่มขู่ ต่อมานายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้าง จะถือว่าการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ อย่างไร
           กรณีเช่นนี้ผู้เขียนเห็นว่าจะต้องพิจารณาว่าการข่มขู่ดังกล่าว เป็นการข่มขู่เรื่องอะไร เป็นการข่มขู่จริงหรือไม่ หากเป็นการข่มขู่จริงก็ต้องดูต่อไปว่าถึงขนาดที่จะทำให้ลูกจ้างเกิดความกลัวจนต้องยอมเขียนใบลาออกเลยหรือไม่ มีกรณีตัวอย่างคือคำพิพากษาฎีกาที่ 2053/2552 ลูกจ้างอ้างว่าโดนข่มขู่ให้เขียนใบลาออก เมื่อนายจ้างเลิกจ้างจึงเป็นกรณีที่เลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม แต่เมื่อพิจารณาถึงการข่มขู่ดังกล่าวที่ลูกจ้างอ้างมานั้น พบว่าแม้จะเป็นกระทำที่ใช้สิทธิเกินส่วนไปบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับว่าเป็นการข่มขู่ที่ถึงขนาดทำให้ลูกจ้างเกิดความกลัวจนต้องเขียนใบลาออกแต่อย่างใด กล่าวคือ ลูกจ้างถูกบุคคลหนึ่งขู่ว่าถ้าไม่ลาออกจะนำเรื่องที่ลูกจ้างนำเงินบริษัทไปใช้ส่วนตัวไปฟ้องศาล การข่มขู่ดังกล่าวนั้น ถือเป็นเพียงการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมเพียงเท่านั้น ซึ่งกลายเป็นว่าไม่มีการข่มขู่แต่อย่างใด เมื่อไม่มีการข่มขู่ก็หมายความว่าลูกจ้างยินยอมเขียนใบลาออกเองโดยสมัครใจ กรณีจึงไม่ใช่การเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด
รับอบรม กฎหมาย
รับรองลายมือชื่อ ทนาย

ร่าง/แปล สัญญา ไทย-อังกฤษ
รับปรึกษาคดีความ
ติดต่อ ทนายปรีชา 081-988-1845
ขอบคุณ สำนักงานทนายความ.com ที่ให้ใช้พื้นที่ ;D

 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ชื่อ: อีเมล์:
Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::