สำนักงานทนายความ

แสดงกระทู้

ส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถดูกระทู้ทั้งหมดสมาชิกนี้ โปรดทราบว่าคุณสามารถเห็นเฉพาะกระทู้ในพื้นที่ที่คุณเข้าถึงในขณะนี้


ข้อความ - Preecha Yokthongwattana

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 15
121
ขออภัยครับ อ่านคำถามไม่ค่อยเข้าใจ แต่โดยสรุปถ้ามีเรื่องในทางศาลก็ต้องสู้คดี หรือไกล่เกลี่ยในทางศาลครับ

122
ผู้กู้เดิมเสียชีวิต สัญญากู้เดิมจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น หากจะมีการผ่อนชำระต่อต้องทำสัญญาใหม่กับธนาคารครับ

123
ในส่วนนี้น่าจะตกลงกันให้ได้นะครับ เรื่องผ่านมานานมากแล้ว การจะไปฟ้องร้องในทางคดีแรงงานก็นานเกินไป ดังนั้น คุณเคยจะไปตกลงเรื่องที่ดิน และดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อให้เรียบร้อย จะเรียกร้องค่าตอบแทนหรือไม่อย่างไรก็ตามความเหมาะสมน่าจะคุยกันได้ครับ

124
ประเด็นแรก ทางนายกจะยกที่ดินให้ได้เช่นไรครับ เพราะที่ดินเป็นที่สาธารณะนะครับ ไม่สามารถยกให้ใครเป็นเจ้าของได้ ดังนั้นที่ส่วนเกินที่เป็นไหล่ทางก็ถือเป็นที่สาธารณะอยู่ดีครับ

125
ในส่วนการครอบครองปรปักษ์ที่ดินนั้นมีหลักสั้นๆคือ ครอบครองโดยสงบ มีเจตนาเปิดเผย และมีเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาติดต่อกัน 10ปีขึ้นไป ในกรณีที่อยู่โดยเจ้าของอนุญาตนั้นไม่สามารถเป็นการครอบครองปรปักษ์ได้ ดังนั้นต้องลองเจรจาให้ออก และอาจต้องฟ้องขับไล่ครับ

126
ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายล่ะครับ ในเมื่อทางการจะดำเนินการจัดสรรและออกโฉนดให้ถูกต้อง หากมีคนเดียวที่ไม่ยอมก็คงต้องประสานหน่วยงานที่จะดำเนินการว่าจะทำเช่นไรได้บ้างครับ สามารถยกเว้นไว้คนหนึ่งได้หรือไม่

127
เบื้องต้นกรณีที่ 2 น่าจะถูกกว่าครับ และลูกชายคุณสามารถทำนิติกรรมในการรับโอนที่ดินได้หรือยังครับ ถ้าให้ชัวร์ไปเช็คที่สำนักงานที่ดินเลย เพราะจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระยะเวลาการถือครองในการคำนวณภาษีด้วยครับ

128
ในกรณีนี้สามารถฟ้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ครับ เพราะคุณมีสิทธิครอบครองในที่ดินประเภท น.ส.3 เจ้าของเดิมได้ส่งมอบการครอบครองแล้ว และมีการสร้างบ้านอยู่อาศัยมาเป็นระยะเวลานาน อย่างไรจะให้ทีมทนายลองติดต่อไปครับ

129
ตามกรณีที่คุณโอลิถามมานั้น
คำตอบ ตามกฏหมายแล้ว หากไม่มีการใช้ประโยชน์ในภาระจำยอมต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี ภารจำยอมจะถือว่าหมดสิ้นไปตามผลของกม. เราสามารถไปดำเนินการเพิกถอนภาระจำยอมที่สำนักงานที่ดินได้ แต่โดยปกติแล้วสำนักงานที่ดินจะรับเพิกถอนต่อเมื่อมีคำสั่งศาลไปแสดง ดังนั้นจึงควรดำเนินการร้องศาลเพื่อให้มีการเพิกถอนและนำคำสั่งศาลไปยื่นที่ดิน อย่างไรก็ตามลองไปติดต่อที่ดินก่อนว่าจะรับจดโดยไม่มีคำสั่งศาล แต่ใช้วิธิประกาศ ณ สำนักงานที่ดินได้หรือไม่

130
แนะนำให้หางานทำนะครับ จะได้มีรายได้ และสามารถจ่ายหนี้ กยศ. เพราะเราเองก็ได้รับโอกาสในการศึกษามาแล้ว ลองพยายามดูครับ

131
ถ้าอยากทราบเรื่องสถานะที่ดินก็สามารถไปตรวจสอบได้ที่สำนักงานที่ดินครับ
ในส่วนของการจัดการมรดก ป้าในฐานะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการมรดก หากไม่ดำเนินการทายาทสามารถไปร้องต่อศาลเพื่อให้ผู้จัดการมรดกทำหน้าที่ หรือร้องเพื่อเพิกถอนผู้จัดการมรดกได้ครับ

132
ทำสัญญาซื้อขายหรือบันทึกข้อตกลงระหว่างกันไว้ครับ

134
ทำเป็นบันทึกข้อตกลงระหว่างกัน และเซ็นชื่อกันไว้ครับ ที่เหลือก็ต้องอาศัยความเชื่อใจกันระหว่างพี่น้องครับ

135
ในกรณีนี้บิดาสามารถฟ้องเพื่อรับรองบุตร และขอให้ตนมีอำนาจในการปกครองบุตรได้ครับ โดยเบื้องต้นหากยังไม่อยากว่าจ้างทนายความอาจไปปรึกษานิติกรที่ศาลเยาวชนและครอบครัวก่อนได้ครับ


136
ผิดเพราะไว้ใจ เชื่อใจ และประมาท (การร่วมทุนทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงเสมอ)

เรื่องนี้เป็นการตกลงใจเข้าร่วมทำธุรกิจด้วยกัน ระหว่างผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจประเภทเดียวกัน โดยการประสานและชักชวนของนายโกง (นามสมมุติ) หลังจากรู้จักกันมาปีกว่าๆ เนื่องจากนายโกงนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรม ซึ่งได้ขายโปรแกรมให้แก่ผู้ที่ทำธุรกิจในแวดวงหนึ่งจนได้รู้จักกับผู้ประกอบธุรกิจหลายราย หลังจากนั้นนายโกงก็ได้ชักชวนนายเอ นายบี นายซี มาร่วมทุนกับตน โดยลงเงินคนละ 2 ล้าน ซึ่งไม่ต้องจ่ายเต็มก็ได้ ผ่อนๆไป นายเอ นายบี นายซี เพียงแค่ลงเงินเท่านั้น เพราะตนรู้ว่าทั้งสามไม่ค่อยมีเวลา อีกทั้งอยู่ต่างจังหวัด ตนจะเป็นผู้บริหารธุรกิจเองโดยคิดค่าจ้างบริหารเดือนละหนึ่งแสนบาท และให้พ่อตนเข้าร่วมเป็นผู้ถือหุ้น

นายโกงและแม่สร้างความสนิทคุ้นเคยกับเอ บี ซี และพาเอ บี ซีไปออกหน้าร่วมในเคมเปญต่างๆทางธุรกิจตลอด โดยภาพลักษณ์เป็นไปอย่างสวยงาม ถึงขั้นมีทริปไปดูงาน (เที่ยว) ต่างประเทศ ระหว่างนั้นการทำธุรกิจเป็นภาพที่สวยงามมาก แต่ก็ไม่มีการปันผลใดๆ นั้นหมายถึงทุกคนยังไม่ได้ผลตอบแทน เพราะนายโกงบอกว่าอยู่ในระหว่างการระดมทุน การโฆษณา ในการดำเนินธุรกรรมต่างๆนายโกงจะเป็นผู้ทำทั้งสิ้น โดยนายโกงได้ขอเอกสารส่วนตัวจากผู้ร่วมลงทุนไปคนละชุดตั้งแต่ครั้งแรกที่จัดตั้งบริษัท

เมื่อถึงเวลาสิ้นปีนายโกงได้เรียกระดมทุนเพิ่ม เพราะอ้างว่าธุรกิจขาดทุน จนหุ้นส่วนทุกคนงงมาก จึงเป็นที่มาของการขอตรวจสอบบัญชี และพบการทำธุรกรรมทางการเงิน การเปิดบัญชีในนามหุ้นส่วนคนหนึ่งโดยปลอมลายมือชื่อและเบิกถอนเงินมาโดยตลอด ชนิดที่เรียกว่าลายมือที่แท้จริงยังสู้ลายมือปลอมไม่ได้ ถึงขั้นมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันหลายคดี เพราะนายโกงกับแม่ก็สู้ยิบตาเหมือนกัน

ความซวยมาตกที่หุ้นส่วนตรงที่การออกหน้ากับลูกค้าต่างๆในนามบริษัท นายโกงได้ให้หุ้นส่วนทั้งหมดเป็นผู้ออกหน้า อีกทั้งเมื่อธุรกิจส่อเค้าไม่ดี นายโกงก็ปิดเวปไซส์และยังใส่ข้อมูลชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรของหุ้นส่วน เผื่อให้ลูกค้าติดต่อ จนหุ้นส่วนทุกคนต้องรับโทรศัพท์กันหัวหมุน ปัญหาสำคัญในการฟ้องร้องดำเนินคดีคือ นายเอ บี ซี แทบจะไม่มีเอกสารเกี่ยวกับบริษัท เพราะไว้ใจ เพราะไม่มีเวลา เพราะไม่รอบคอบ แต่อยากทำธุรกิจ

เรื่องนี้มีความซับซ้อนอีกมาก ขอเล่าเบาๆเพียงเท่านี้นะคะ

ข้อคิดดีๆ คือ การคิดทำธุรกิจเราควรเริ่มจากตัวเราเองเป็นหลัก เมื่อไรก็ตามที่มีการร่วมหุ้น ร่วมทุน ทุกอย่างต้องชัดเจน เราเองก็ต้องมีความสนใจ ใส่ใจ รอบคอบ เรื่องเอกสารเป็นสิ่งสำคัญอย่าปล่อยปละละเลย ถ้าเราสร้างความชัดเจนตั้งแต่ต้นปัญหาจะลดน้อยลง เงินเป็นสิ่งที่ไม่เข้าใครออกใคร และทำให้จิตใจคนเปลี่ยนค่ะ

ขอบคุณในการติดตามอ่านค่ะ

ทนายพี่เปิ้ล

SPLA LAW Co.,Ltd

Tel.089-7881248

ติดตามอ่านเรื่องเล่าดีๆเกี่ยวกับปัญหากฎหมายได้ที่ http://www.oknation.net/blog/pieapplelaw/2014/10/16/entry-1
นะครับ>>>ทนายปรีชาแนะนำครับ

137
ถ้าหลักฐานทางทะเบียนเป็นชื่อน้า และตายายไม่ทำพินัยกรรมใดๆเอาไว้ คงต้องทำใจครับ เพราะการที่เราจะกล่าวอ้างเพียงคำพูดของคนที่เสียชีวิตไปแล้วในทางศาลไม่อาจรับฟังได้ค่ะ หลักฐานทางทะเบียนจะเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้มากกว่า
ในกรณีที่หลักฐานทางทะเบียนไม่ได้เป็นชื่อน้า ก็ไปว่าเรื่องของการแบ่งมรดก ซึ่งในส่วนนี้คุณมีสิทธิรับมรดกแทนที่แม่ซึ่งเสีย
ชีวิตไปแล้วได้ครับ
สรุป คุณต้องตรวจหลักฐานทางทะเบียนก่อนครับ

138
ผิดกฎหมายครับ ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิได้ 2 คือ
1.ฟ้องต่อศาลแรงงาน
2.ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่

สามารถเลือกดำเนินการได้ทางใดทางหนึ่งครับ

139
กรณีลูกจ้างรายเดือน จะได้รับสิทธิหยุดในวันหยุดตามประเพณีอยู่แล้วครับ หากนายจ้างให้มาทำงานในวันหยุดจะต้องจ่ายค่าจ้าง 1 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงตามจำนวนชั่วโมงที่ให้ทำครับ ถ้านายจ้างไม่จ่ายมีความผิดตามกฎหมายแรงงาน

140
เหตุฟ้องหย่า มีดังต่อไปนี้
          (๑)* สามีหรือภริยา อุปการะเลี้ยงดู หรือ ยกย่อง ผู้อื่น ฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้ หรือ มีชู้ หรือ ร่วมประเวณีกับ ผู้อื่น เป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
          (๒) สามีหรือภริยา ประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้น จะเป็น ความผิดอาญา หรือไม่ ถ้า เป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
              (ก) ได้รับ ความอับอายขายหน้า อย่างร้ายแรง
              (ข) ได้รับ ความดูถูกเกลียดชัง เพราะเหตุที่ คงเป็น สามีหรือภริยา ของฝ่ายที่ประพฤติชั่ว อยู่ต่อไป หรือ
              (ค) ได้รับ ความเสียหาย หรือ เดือนร้อนเกินควร ในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบ
          อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
          (๓) สามีหรือภริยา ทำร้าย หรือ ทรมาน ร่างกายหรือจิตใจ หรือ หมิ่นประมาท หรือ เหยียดหยาม อีกฝ่ายหนึ่ง หรือ บุพการี ของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้า เป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
          (๔) สามีหรือภริยา จงใจละทิ้งร้าง อีกฝ่ายหนึ่งไป เกิน หนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
          (๔/๑) สามีหรือภริยา ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุด ให้จำคุก และ ได้ถูกจำคุกเกิน หนึ่งปี ในความผิด ที่อีกฝ่ายหนึ่ง มิได้มีส่วน ก่อให้เกิด การกระทำความผิด หรือ ยินยอม หรือ รู้เห็นเป็นใจ ในการกระทำความผิดนั้นด้วย และ การเป็นสามีภริยากันต่อไป จะเป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง ได้รับความเสียหาย หรือ เดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
          (๔/๒) สามีและภริยา สมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา ได้โดยปกติสุข ตลอดมาเกิน สามปี หรือ แยกกันอยู่ ตามคำสั่งของศาล เป็นเวลาเกิน สามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
          (๕) สามีหรือภริยา ถูกศาลสั่งให้เป็น คนสาบสูญ หรือ ไปจาก ภูมิลำเนา หรือ ถิ่นที่อยู่ เป็นเวลาเกิน สามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่า เป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
          (๖) สามีหรือภริยา ไม่ให้ ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู อีกฝ่ายหนึ่ง ตามสมควร หรือ ทำการเป็นปฏิปักษ์ ต่อการที่เป็น สามีหรือภริยากัน อย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้า การกระทำนั้น ถึงขนาดที่ อีกฝ่ายหนึ่ง เดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
          (๗) สามีหรือภริยา วิกลจริต ตลอดมาเกิน สามปี และ ความวิกลจริตนั้น มีลักษณะ ยากจะหายได้ กับทั้ง ความวิกลจริต ถึงขนาดที่จะ ทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา ต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
          (๘) สามีหรือภริยา ผิดทัณฑ์บน ที่ทำให้ไว้ เป็นหนังสือ ในเรื่อง ความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
          (๙) สามีหรือภริยา เป็นโรคติดต่อ อย่างร้ายแรง อันอาจเป็นภัย แก่อีกฝ่ายหนึ่ง และ โรคมีลักษณะ เรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
          (๑๐) สามีหรือภริยา มีสภาพแห่งกาย ทำให้ สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณี ได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้

ในกรณีสามีมีชู้สามารถฟ้องหย่าได้ตามเหตุข้อทีี่ 1. ครับ และสามารถเรียกค่าเสียหายจากหญิงที่มาเป็นชู้ได้ด้วย
ในกรณีสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ เกินกว่า 3 ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิในการฟ้องหย่าได้ครับ

ในกรณีอัตราค่าวิชาชีพทนายความในการทำคดีฟ้องหย่า อยู่ในอัตรา 50,000 บาทขึ้นไปครับ ต้องพิจาณาว่าต้องฟ้องที่จังหวัดใดด้วยครับ

141
รูปแบบองค์กรธุรกิจในประเทศเวียดนามมี 5 รูปแบบ ดังนี้
1. ธุรกิจในครัวเรือน (Household Business)
ธุรกิจที่มีการจ้างแรงงานไม่เกิน 10 คน และประกอบธุรกิจได้เพียงแห่งเดียวในเวียดนามเท่านั้น
บุคคล คณะบุคคล หรือครัวเรือนที่มีสัญชาติเวียดนามและมีอายุเกิน 18 ปีสามารถจดทะเบียนเป็นธุรกิจใน
ครัวเรือนได้ เจ้าของธุรกิจในครัวเรือนมีภาระต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นของธุรกิจด้วยทรัพย์สินของตัวเอง

2. กิจการเจ้าของเดียว (Private Enterprise)
ธุรกิจที่เจ้าของกิจการมีภาระต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นของกิจการด้วยทรัพย์สินของตัวเอง โดย
ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล และไม่สามารถออกหุ้นได้

3. ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
ธุรกิจที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนตัง้ แต่ 2 คนขึน้ ไปเป็นเจ้าของและดำเนินกิจการร่วมกันภายใต้ชื่อกิจการ
เดียวกัน ห้างหุ้นส่วนไม่สามารถออกหุ้นได้
สำหรับหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ ผู้เป็นหุ้นส่วนมีภาระต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นของ
ห้างหุ้นส่วนด้วยทรัพย์สินอย่างไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามารถมีหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดได้
ซึ่งหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบมีภาระต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นเท่ากับจำนวนเงินที่ลงทุนไว้เท่านัน้

4. บริษัทจำกัด (Limited Liability Company)
บริษัทที่ตัง้ ขึน้ ด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่
เกินจำนวนเงินที่ตนยังชำระไม่ครบตามมูลค่าหุ้นที่ตนได้ถืออยู่ มีสถานะเป็ นนิติบุคคลนับตัง้ แต่วันออก
หนังสือรับรองการจดทะเบียน บริษัทจำกัดไม่สามารถออกขายหุ้นสู่สาธารณะได้
บริษัทจำกัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) บริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นมากกว่าหนึ่งราย(Limited
liability company with more than one member) และ (2) บริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นรายเดียว (Limited
liability company with one member)
โดยผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นและภาระอื่นๆของบริษัทไม่เกินกว่าจำนวน
เงินลงทุนที่ได้ให้ไว้กับบริษัท

5. บริษัทถือหุ้น (Shareholding Company)
บริษัทถือหุ้นหรือบริษัทมหาชน เป็นกิจการที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลนับตัง้ แต่วันออกใบรับรองการ
จดทะเบียน เงินลงทุนของบริษัทถูกแบ่งออกเท่าๆ กันเป็นหุ้น บริษัทสามารถออกหุ้นสู่สาธารณะเพื่อเพิ่มทุนได้
ผู้ถือหุ้นมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทตามสัดส่วนของหุ้นที่ซือ้ ไว้ บริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 ราย
ขึน้ ไป ผู้ถือหุ้นต้องรับผิดชอบต่อหนีสิ้นและภาระอื่นๆของบริษัทไม่เกินกว่าจำนวนเงินลงที่ได้ให้ไว้กับบริษัท

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าครับ

142
คุณต้องไปดำเนินการคัดรับรองคำพิพากษาจากศาล เพื่อนำไปยื่นเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ที่ดินครับ แต่ที่สำคัญไม่ทราบว่าคดีถึงที่สุดหรือยัง อีกฝ่ายใช้สิทธิอุทธรณ์ไหม คงต้องไปตรวจสำนวนด้วยครับ ถ้าอีกฝ่ายอุทธรณ์อาจต้องขอศาลเพื่อคุ้มครองชั่วคราวไว้เพื่อไม่ให้มีการโอนครับ

143
ไม่ทราบว่าลักษณะของเส้นทางที่ตั้งเป็นอย่างไรครับ ถ้าเป็นรถสายตรวจ ผมมองว่าเป็นเรื่องดีนะครับที่เขาเข้ามาตรวจตราพื้นที่ให้ แต่ถ้าไม่ใช่ ทางคุณก็มีสิทธิปิดกั้นพื้นที่ส่วนบุคคลได้โดยชอบครับ ส่วนวิธีการก็แล้วแต่จะดำเนินการครับ

144
เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจากการทำงานของผู้เขียน ซึ่งได้รับการติดต่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย เมื่ออยู่มาวันหนึ่งคุณป้าซินเดอเรล่า (นามสมมุติ) ได้รับเอกสารแจ้งหนี้จากบริษัทบริหารจัดการหนี้ว่า คุณป้ามียอดหนี้ตามคำพิพากษา 70 กว่าล้านบาท ขอให้ติดต่อชำระ  มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย คุณป้าซินเดอเรล่าผู้เป็นข้าราชการบำนาญ มีตำแหน่างอดีตอาจารย์มหาลัยชื่อดังผู้ซึ่งมีระเบียบการใช้เงินเป็นอย่างดี แม้แต่บัตรเครดิตป้าแกยังไม่กล้าใช้ ป้างงมากว่าเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวได้อย่างไร
เราเลยไปสืบหาความจริงกัน โดยไปขอสืบค้นและคัดถ่ายเอกสารตามเลขคดีซึ่งบริษัทบริหารจัดการหนี้ได้อ้างอิงมา จึงพบเอกสารสำคัญซึ่งทำให้คุณป้าเป็นหนี้ นั่นคือ เอกสารการยินยอมให้สามีของคุณป้ากู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง จนมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น เอกสารที่คุณป้าลงนามแต่งตั้งทนายความเข้ามาในคดี ซึ่งคุณป้าไม่เคยทราบมาก่อน
ต้นสายปลายเหตุมาจากการที่คุณป้าแกไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวในธุรกิจของสามีเลยตลอดระยะเวลาการเป็นสามีภรรยากัน เนื่องด้วยไม่มีความชอบและไม่สนใจ แกทำงานในอาชีพอาจารย์ที่แกรัก และไม่ได้พูดคุยกับสามีในเรื่องธุรกิจ รู้เพียงสามีทำธุรกิจใหญ่ มีลูกน้องหลายคนที่มาหากันบ่อย จนเมื่อสามีเสียชีวิตได้มีการจัดการทรัพย์เรียบร้อย แกก็ย้ายออกมาจากบ้านทรายทอง ออกมาอยู่บ้านที่แกซื้อไว้กับลูกชาย โดยที่แกหารู้ไม่ว่าการทำธุรกรรมบางอย่างของสามีนั้นจะต้องมีภรรยาเซ็นยินยอม และสามีแกเป็นคนเซ็นมาโดยตลอด
วันดีคืนดีแกเลยมีหนังสือแจ้งหนี้มา 70 กว่าล้านบาท (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเกือบสิบปี) หลังจากนั้นคุณป้าได้ถูกฟ้องในคดีล้มละลาย และในคดีแพ่งที่ศาลได้พิพากษาแล้วก็ได้มีการยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ต่อศาลไว้ แต่เหนือฟ้ายังมีฟ้า เรียกว่า ป้าแกมากับดวง หรือคนดีผีคุ้มก็ว่าได้ ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น...
ในวันแรกของนัดพิจารณาคดีที่ศาลล้มละลาย ทั้งคุณป้า เพื่อนข้างบ้าน และทนายเดินทางไปศาล และนั่งรอในห้องพิจารณาคดี รอไปเรื่อยๆเพราะคดีค่อนข้างเยอะ รอไปจนเหลือคดีของป้าคดีเดียว ก็ไม่มีทนายฝ่ายโจทก์เดินทางมา จนศาลก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ศาลโทรไปถาม จึงรู้ว่าทนายฝ่ายโจทก์ตกนัด นั่นหมายถึงหลงลืมนัด ศาลจึงกำหนดเวลาให้ทนายเดินทางมา ระหว่างนั่งรออย่างใจจดจ่อ ความรู้สึกว่าทำไมเวลาเดินช้าจริงๆ ป้านั่งกุมมือเพื่อนบ้าน ส่วนเพื่อนบ้านอีกคนก็เดินไปดูต้นทางหน้าห้อง ไม่มีใครเดินมาที่ห้องนี้ ...จนถึงเวลาที่ศาลได้สั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องด้วยโจทก์ขาดนัดในนัดแรก ... ป้าดีใจจนน้ำตาไหล
โชคดีอีกประการหนึ่งคือ คดีนี้ได้ขาดอายุความไปแล้ว นั่นหมายถึง โจทก์ไม่สามารถนำมาฟ้องเป็นคดีใหม่ได้อีก ...คุณป้าจึงรอดจากปัญหานี้มาได้อย่างปาฎิหารย์ ...จากคดีนี้สอนอะไรเราได้หลายอย่าง ในเรื่องของการเป็นสามีภรรยาจะต้องพูดคุยกันให้มาก โดยไม่ปิดบังระหว่างกัน และที่สำคัญคือ จงเชื่อมั่นในความดี ...สวัสดีค่ะ

ติดตามอ่านเรื่องราวกฎหมายเพื่อเป็นอุทธาหรณ์สนอใจได้ที่นี้นะครับhttp://www.oknation.net/blog/pieapplelaw/2014/09/16/entry-1
เขียนโดกยคุณเปิ้ล ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ บริษัท เอสพีแอลเอ ลอว์ ครับ....

145
เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงจากประสบการณ์ทำงานของผู้เขียนเอง ซึ่งยิ่งกว่าในละคร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในครอบครัวหนึ่ง เริ่มจากการตายของพ่อจึงมีการนัดเปิดพินัยกรรมฝ่ายเมืองขึ้นที่อำเภอ เมื่อทายาทไปถึงอำเภอครบทุกคน เจ้าหน้าที่ก็เอาซองพินัยกรรมมาเปิด แต่เจ้ากรรมซองที่เจ้าหน้าที่เปิดนั้นกลับเป็นพินัยกรรมของแม่ซึ่งนั่งอยู่ในห้องนั้นด้วย เรื่องจึงแดงขึ้นว่าลูกๆฝ่ายหนึ่งได้พาพ่อไปทำพินัยกรรมเพราะพ่อป่วยหนัก และบอกว่าจะพาแม่ไปลงนามเป็นพยาน โดยที่แม่นั้นไม่สามารถเขียนหรืออ่านหนังสือได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ให้พิมพ์ลายนิ้วมือลงไปก็แม่ก็พิมพ์ โดยเข้าใจว่าพิมพ์เป็นพยาน แต่กลับเป็นพินัยกรรมอีกฉบับที่มีเนื้อหาเหมือนกันกับฉบับของพ่อ
เมื่อพินัยกรรมแม่ถูกเปิด และแม่ยังไม่ตายพินัยกรรมเป็นอันตกไป ต่อมาแม่เองไม่สบายใจเพราะทรัพย์สินตามพินัยกรรมพ่อนั้นได้ระบุยกให้ลูกฝ่ายหนึ่งมากเกินไป และตนเองก็ไม่มีส่วนในทรัพย์สินที่จะสามารถแบ่งให้ลูกอีกฝ่ายได้ เสมือนว่าทรัพย์สินทั้งบ้านและที่ดินเป็นของพ่อผู้เดียว เมื่อแม่เริ่มพูดถึงการแบ่งให้ลูกอีกฝ่าย อีกฝ่ายก็ไม่พอใจถึงขั้นพูดว่า ?ให้แม่อยู่เฉยๆไม่อย่างนั้นจะไล่ออกจากบ้าน รู้ไหมว่าบ้านนี้ก็ไม่ใช่บ้านของแม่? แม่เสียใจกับคำพูดนั้นมาก และตัดสินใจที่จะดำเนินการทางกฎหมายเพื่อทวงคืนทรัพย์สินในส่วนของแม่ เนื่องจากตั้งใจจะยกให้แก่ลูกๆอีกฝ่ายให้เท่าเทียม
ศึกสายเลือดจึงเริ่มขึ้น!!!แม่ต้องฟ้องลูกเพื่อขอแบ่งทรัพย์สินส่วนของแม่ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมที่ทำมาหาได้กับพ่อ ที่ดินจำนวนมากมูลค่าสูงหลายสิบล้าน แม่เล่าว่าสมัยก่อนไปเอาเงินใส่กระบอกไม้ไผ่ไปซื้อที่ดิน เพราะเป็นคนเก็บเงินเก่งและชอบซื้อที่ดินเก็บไว้จึงมีที่ดินจำนวนมาก ระหว่างการพิจารณาคดีบรรยากาศเป็นไปด้วยความร้อนระอุ พี่น้องแม่ลูกแทบจะไม่มองหน้ากัน วันหนึ่งที่จำได้และรู้สึกแย่มากคือวันที่แม่ต้องมาเบิกความในศาล ลูกฝ่ายที่ถูกฟ้องมายืนจ้องหน้าแม่ ไม่พูดไม่จา เห็นภาพแล้วเศร้ายิ่งนัก และในทางการนำสืบก็เน้นไปว่าทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของพ่อที่ได้จากปู่ แม่จนมาตัวเปล่าไม่มีทรัพย์สินใด (ไอ้ลูกพวกนี้ เวรกรรมจริงๆ)
ที่ดราม่ามากกว่านั้นคือ ในระหว่างการพิจารณาคดี แม่ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งและต้องออกมาจากบ้านที่ตนอยู่มาตลอดเพื่ออยู่กับลูกอีกที่หนึ่ง ดูแล้วแม่ค่อนข้างตรอมใจและเสียใจมาก ในการทำคดีต้องขอให้มีการสืบพยานแม่ไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นไปตามคาดเมื่อแม่ได้สืบพยานเสร็จก็เสียชีวิตในอีกไม่นาน แม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้เป็นที่เรียบร้อย ในพินัยกรรมยังระบุแบ่งทรัพย์สินให้ลูกทุกคน นี้แหละหนา หัวอกคนเป็นแม่ จำเป็นต้องทำสิ่งที่เป็นธรรม แต่หัวใจนั้นรักลูกทุกคนตราบจนวันตาย....

ติดตามอ่านเรื่องราวกฎหมายที่เกิดขึ้นจริงได้ที่ http://www.oknation.net/blog/pieapplelaw/2014/10/07/entry-2
โดยคุณเปิ้ล ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ บริษัท เอสพีแอลเอ ลอว์ จำกัด ครับ....


146
ในกรณีเช่นนี้ควรทำให้ถูกต้องนะครับ ในส่วนของภรรยาและลูกควรรับผิดชอบ หากจะหย่าก็ควรแบ่งปันทรัพย์สินกันให้เรียบร้อย และควรต้องดูแลบุตรในฐานะพ่อ ทั้งการส่งเสียเลี้ยงดู และการให้ความอบอุ่นดูแลเขาด้วยครับ

147
ในกรณีนี้ขอตอบตามแนวทางกฎหมายนะครับ การเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนสมรสเท่านั้นครับ ดังนั้นในกรณีนี้เมื่อทั้งคู่ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของแม่เท่านั้นครับ หากต้องการเรียกค่าเลี้ยงดูก็ต้องฟ้องศาลเพื่อพิสูจน์ว่าลูกเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชาย และเรียกค่าเลี้ยงดูไปในคราวเดียวกันครับ

ในส่วนของสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั้น หากมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน สามารถฟ้องร้องให้มีการแบ่งกันได้ โดยถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมครับ

148
ตามหลักกฎหมายแล้ว การที่ผู้ขับขี่ขับรถโดยประมาท และเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย มีความผิดตามกฎหมายอาญาครับ แม้ไม่ชนกัน แต่การกระทำโดยประมาท ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นแล้ว สามารถดำเนินคดีอาญาเอาผิด และเรียกร้องค่าเสียหายได้ครับ

อย่างไรก็ต้องไปดูพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นจริงด้วยนะครับ ว่าเข้าลักษณะเป็นการขับขี่โดยประมาทหรือไม่

149
อ่านดูแล้ว เข้าลักษณะเป็นการส่งมอบพื้นที่เช่าไม่เรียบร้อย ไม่สามารถใช้การได้ คุณสามารถบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนได้ครับ

150
เมื่อส่งสินค้าให้เรียบร้อยแล้ว สามารถให้ทนายความทำเรื่องฟ้องคดีเรียกค่าสินค้าได้ครับ

นำข้อเท็จจริงไปปรึกษาทนายความได้เลยครับ

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 15