สำนักงานทนายความ

แสดงกระทู้

ส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถดูกระทู้ทั้งหมดสมาชิกนี้ โปรดทราบว่าคุณสามารถเห็นเฉพาะกระทู้ในพื้นที่ที่คุณเข้าถึงในขณะนี้


ข้อความ - Preecha Yokthongwattana

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 15
151
ที่ส่วนเกินจากที่แจ้งไว้เดิม โดยมากเจ้าพนักงานที่ดินมักไม่ออกโฉนดให้ครับ โดยอาจเรียกที่ดินประเภทนี้ว่า ที่ตกสำรวจ

คุณสามารถครอบครองทำกินต่อไปได้ และหากสามารถนำเจ้าพนักงานที่ดินมาเดินสำรวจออกโฉนดได้ก็ดีครับ ทางที่ดี ควรไปเสียภาษีบำรุงท้องที่ไว้ด้วยจะดีที่สุดครับ

152
ขอตอบคำถามที่ตกหล่นครับ

กรณีการครอบครองปรปักษ์ มีหลักคือ ครอบครองที่ของบุคคลอื่นโดยสงบ โดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน ถ้าครอบครองเกินกว่า 10 ปี ผู้ครอบครองย่อมได้กรรมสิทธิ์ และมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลสั่งให้ตนเองได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้ครับ

กรณีตัวอย่างที่เล่ามา อ่านฟ้องแล้วยังมีข้อให้ต้องพิจารณาครับ ว่าเนื้อหาที่บบรยายฟ้อง จะเข้าลักษณะเป็นการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายหรือไม่

หวังว่าคดีคงจะจบในรูปแบบที่ไม่เสียหายนะครับ

153
-หลักปฏิบัติเบื้องต้น นายจ้างต้องกำหนดเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวันให้ชัดเจนครับ การกำหนดเวลาทำงานเป็นแบบวันต่อวันอย่างที่เล่ามา ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายครับ

-การทำงานล่วงเวลา ตามหลักแล้วห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ลูกจ้างยินยอมด้วยนะครับ คุณสามารถปฏิเสธการทำงานล่วงเวลาได้ครับ แต่การไม่ให้ความร่วมมือแก่นายจ้าง ก็อาจมีผลกระทบตามมาได้ครับ

-หากนายจ้างไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ลูกจ้างสามารถตั้งเรื่องฟ้องคดีได้ครับ หรืออาจไปยื่นเรื่องให้พนักงานตรวจแรงงานท้องที่ดำเนินการเรียกร้องให้ก็ได้ครับ

154
ขอสอบถามเพิ่มเติมว่า
รถจักรยานยนต์ที่ผ่อนอยู่ได้มาใช้เป็นการส่วนตัว หรือใช้ในหน้าที่การทำงานครับ จะได้พิจารณาลักษณะของสัญญาได้ถูกต้องครับ

155
ปัญหาทางแรงงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อนครับ
ฝั่งนายจ้างก็เป็นห่วงธุรกิจของตน ฝั่งลูกจ้างก็ต้องการทำงานที่สะดวกสะบาย ค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์สูง
อย่างไรก็ตาม หลักบังคับง่ายๆคือ ข้อสัญญาที่นายจ้างทำกับลูกจ้าง หากมีลักษณะเอาเปรียบ หรือสร้างภาระให้กับลูกจ้างมากเกินสมควร ข้อกำหนดเช่นนั้น จะใช้บังคับไม่ได้ หรือใช้ได้ไม่สมบูรณ์ครับ

ส่วนว่าการห้ามค้าแข่ง หรือทำงานกับคู่แข่งทางการค้า โดยหลักทั่วไปแล้วสามารถบังคับได้ครับ แต่ก็อย่างที่บอกครับ ศาลก็จะเป็นผู้พิจารณาว่า "ระยะเวลาแค่ไหน เพียงใด" ถึงจะเรียกว่าเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายครับ การกำหนดยาวนานเกิน ใช่ว่านายจ้างจะบังคับได้ทั้งหมดนะครับ มีหลายองค์ประกอบให้พิจารณา ทั้งลักษณะงาน ตำแหน่งหน้าที่ ค่าตอบแทน ฯลฯ

ขอให้มีความสุขในการทำงานครับ

156
สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน มีบัญญัติเป็นหลักไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ครับ

การเลิกห้าง หากในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนไม่มีตกลงเป็นอย่างอื่น ก็บังคับตามกฎหมายได้ครับ

ข้อเท็จจริงยังน้อยไปหน่อยครับ แต่ถ้าอยากดำเนินการจริง สามารถปรึกษาทนายความหรือผู้รู้ให้ดำเนินการได้ครับ การฟ้องหรือการแจ้งขอเลิกห้างในชั้นที่สุดคงหนีไม่พ้นการฟ้องคดีต่อศาลครับ

157
กรณีเช่นนี้ต้องขออนุญาตจากศาลเพื่อให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมครับ ส่วนหนทางอื่นล้วนแล้วแต่จะเกิดปัญหาในอนาคตได้ทั้งสิ้นครับ

158
ทางแก้ก็คือ ต้องให้แม่ทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองไว้ที่อำเภอ เพื่อยกที่ดินนี้ให้แก่คุณครับ แต่ถ้ากลัวมีปัญหารอเก็บเงินซื้อเองดีกว่าครับ

159
ถ้าหากไม่ได้ระบุในโฉนดว่าเป็นทางสาธารณะ ที่ดินยังเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของชื่อในโฉนดครับ แต่หากระบุแล้วจะเปลี่ยนมาเป้นทรัพย์สินส่วนบุคคลไม่ได้ ส่วนเรื่องที่นาย ข มาใช้ คงต้องพูดคุยกัน เพราะทางสาธารณะประช่าชนมีสิทธิ์ใช้ร่วมกันเพื่อประโยชน์สาธารณะไม่มีสิทธิใช้ในทางส่วนตัวจนทำให้คนอื่นเดือดร้อนครับ

160
ที่ดินตาบอด มีทางแก้ไขครับ คือต้องใช้สิทธิฟ้องศาล ขอให้ที่ดินข้างเคียงเปิดทางให้สัญจรได้

แยกเป็น 2 กรณีครับ คือ ทางภาระจำยอม กับทางจำเป็น

แนะนำให้ปรึกษาทนายความ เพื่อดำเนินการได้ครับ

161
คงต้องทำพินัยกรรมครับ สามารถระบุให้ชัดเจนได้เลยครับ

ควรทำให้ถูกต้องตามแบบของพินัยกรรมนะครับ

หากไม่มั่นใจปรึกษาทนายความหรือผู้รู้จะดีที่สุดครับ

162
ถ้ามีพินัยกรรมดังที่ว่ามา ทายาทคนอื่นย่อมถูกตัดมิให้รับมรดกทั้งหมดครับ

163
ประเด็นสำคัญ หากบุตรชายได้ยินยอมที่จะไม่รับมรดกเสียแล้ว การจัดการมรดกก็ถือว่าชอบแล้ว บุตรทั้งสองคน ไม่ถือเป็นทายาทครับ แม้บุตรชายซึ่งบิดาจะรับรองบุตร แต่ก็เป็นคนละเรื่องกับสิทธิในการรับมรดกครับ


164
คุณกับพี่สาวควรไปทำเรื่องตั้งผู้จัดการมรดกคุณแม่ แล้วเอาคำสั่งศาลไปรับโอนมรดกที่ดินในส่วนของแม่มาเป็นชื่อของตนเอง จะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุดครับ

165
พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาของผู้ตายครับ คงเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ครับ กฎหมายให้บังคับไปตามนั้นครับ

ส่วนที่มีคนตายได้รับมรดกตามพินัยกรรม หากปรากฏว่าตายก่อน ก็ถือว่าข้อกำหนดนั้นเป็นอันตกไป ทรัพย์มรดกเฉพาะที่ระบุไว้ ก็จะกลับกลายมาเป็นมรดกที่จะต่องแบ่งปันแก่ทายาทตามกฎหมายต่อไปครับ

166
น่าจะเป็นเรื่องการพิสูจน์สิทธิ์ในชั้นศาลนะครับ

กรณีนี้ต้องใช้ทนายความช่วยเป็นสำคัญครับ

แต่หลักกฎหมายโดยสังเขป คือ บุตรชอบด้วยกฎหมาย กับบุตรตามความจริง ไม่เหมือนกันครับ การพิสูจน์ว่าไม่ใช่บุตร คงน่าจะยากมากๆครับ เพราะตามที่เล่ามา ยายก็เสียชีวิตไปแล้วครับ

ผมคงจะไม่ตอบลึกไปถึงผลทางคดีนะครับ เพราะเป็นเรื่องวิชาชีพทนายความ อย่างไรขอให้ปรึกษาทนายความเพื่อต่อสู้คดีจะดีที่สุดครับ

167
การแบ่งมรดก ต้องทำตามแบบของกฎหมายครับ เช่น ทำด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ

ดังนั้น การแบ่งแบบที่ประชาชนทั่วไปทำกัน คือ ต่างคนต่างอยู่ ไม่ถือว่าเป็นการแบ่งมรดกนะครับ ตามกฎหมายถือว่าต่างคนต่างครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทคนอื่นๆ

ดังนั้น มรดกของปู่ เมื่อยังไม่มีการแบ่ง ก็ต้องตกทอดสู่ทายาทตามกฎหมานครับ

ในกรณีนี้ หากพ่อเสียชีวิตหลังจากปู่ ลูกของพี่คนโต มีสิทธิตามกฎหมายที่จะรับมรดกแทนที่ของพ่อจากทรัพย์มรดกปู่ได้ครับ

แต่ถ้ากรณีเปลี่ยนเป็น พ่อเสียชีวิตก่อนปู่ ทรัพย์มรดกก็จะตกแก่น้องพ่อทั้งหมดนะครับ

168
ต้องพิจารณาถึงตำแหน่งหน้าที่ด้วยครับ ถ้าเป็นงานผลิต ควรจะต้องได้ค่าล่วงเวลาครับ แต่ถ้าเป็นงานสำนักงานที่มีลักษณะงานต่อเนื่อง อาจถือเป็นงานค้างที่พนักงานต้องมาสะสาง ก็ไม่ใช่เรื่องการทำงานล่วงเวลาครับ ลองปรึกษาสำนักงานคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ดูครับ

169
ฟ้องได้ครับ ก็ลองคุยกันดีๆ เสนอดอกเบี้ยตามกฎหมายให้เขาไป ร้อยละ 7.5 ครับ เผื่อเขาจะยอมโดยดี

170
ยกเลิกและจดใหม่ได้ครับ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางคุณ และเพื่อนบ้านที่จะต้องร่วมกันดำเนินการ เพื่อป้องกันปัญหาผมแนะนำว่า ให้ทำเอกสารบันทึกระหว่างกันว่าเพื่อกำหนดเวลาในการให้ใช้ภาระจำยอม เช่น 1 ปี และหลังจากนั้นต้องจดใหม่ โดยเตรียมเอกสารที่จะต้องจดใหม่ไว้ให้เรียบร้อยในคราวเดียวกับที่จะต้องจดรอบแรก เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต โดยเมื่อครบกำหนดเวลา ทางเราเองสามารถไปดำเนินการจดเปลี่ยนแปลงได้เลยครับ

171
ผู้เช่าที่ดินรายใหม่ หมายถึง ผู้เช่าจากวัดหรือเปล่าครับ ถ้าเป็นเช่นนี้น่าจะไปคุยกับทางวัดเพื่อขอเดินผ่าน คงจะไม่มีปัญหาถ้าวัดอนุญาต ผู้เช่าจะมาเก็บเงินไม่ได้ครับเพราะวัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ครับ

172
ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินครับ กำหนดงวดการชำระเงิน และเงื่อนไขต่างๆ อย่างน้อยงวดแรกก่อนโอนน่าจะมีชำระสักก้อนหนึ่งนะครับ ต้องระบุให้ชัดเจนว่า หากไม่สามารถชำระเงินได้ครบจำนวนจะต้องดำเนินการโอนที่ดินกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขาย และทางผู้ขายเองก็ควรไปที่ ธกส. กับคนที่จะซื้อด้วย เพื่อจะได้ทราบระยะเวลา และยอดเงินอนุมัติกู้ครับ หากต้องการสัญญาก็ลองติดต่อมาอีกครั้งครับ

173
หนี้นอกระบบ หมายถึง การกู้ยืมเงินนอกระบบของการกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่ให้กู้ยืม โดยมีหลักเกณฑ์ของกฎหมายและระเบียบหน่วยงานใช้บังคับ เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคารจะมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแลและกำหนดหลักเกณฑ์ แต่หนี้นอกระบบจะเป็นการให้กู้ยืมเงินกันเองระหว่างประชาชนด้วยกัน ทั้งเป็นรูปแบบบุคคลธรรมดา และกลุ่มบุคคล หลักเกณฑ์ต่างๆนั้นไม่สอดคล้องกับกฎหมาย เช่น เรื่องดอกเบี้ย แม้จะมีกฎหมายในเรื่องการกู้ยืมเงินใช้บังคับ แต่กระบวนการติดตามทวงหนี้นั้นอาจไม่ใช้กระบวนการทางกฎหมายอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น จึงเกิดกรณีการทวงหนี้แบบโหด การคิดดอกเบี้ยทบต้น คนที่มีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินนอกระบบนั้นส่วนใหญ่จะเป็นคนที่เข้าถึงเงินกู้ในระบบได้ยาก เช่น ชาวบ้านที่มีฐานะยากจน ติดปัญหาในเรื่องหลักเกณฑ์ในการกู้ในระบบ เช่น ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน การกู้นอกระบบจึงเป็นทางออกที่จำเป็น แม้อาจจะไม่อยากกู้ก็ตาม

174
การชำระค่างวดรถยนต์ ถ้าหลีกเลี่ยงที่จะค้างชำระไม่ได้ อย่างเช่นกรณีของคุณสุเมธนี้ ผมคงแนะนำอะไรมากไม่ได้ เพราะเป็นความผิดพลาดของฝ่ายผู้เช่าซื้อครับ

แต่จะให้ดีที่สุดตามหลักมาตรฐานสากล การชำระหนี้ใดๆ ลูกหนี้พึงจำไว้เสมอว่า ควรเรียกให้ผู้รับชำระออกหลักฐานการชำระหนี้ด้วยเสมอนะครับ เพราะหากเราไปชำระให้ใครก็ไม่รู้ ตามกฎหมายแล้ว เขาเรียกว่าชำระตามอำเภอใจ อาจไม่ถือเป็นการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เพราะขาดหลักฐานการรับชำระหนี้ และซ้ำร้าย อาจเรียกคืนไม่ได้ด้วยนะครับ

175
คุณอู่มีความเข้าใจถูกต้องครับ ทางสาธารณะเอกชนไม่สามารถใช้สิทธิหวงกันได้ครับ

กรณีนี้ต่างจากที่สาธารณะครับ ที่สาธารณะที่ไม่ใช่ทางสัญจร เอกชนเข้าครอบครองได้ครับ และบางกรณีสามารถใช้สิทธิครอบครองหวงกันเอกชนรายอื่นได้ด้วยครับ แต่ไม่สามารถใช้โต้แย้งรัฐ (หน่วยงานราชการใดๆผู้มีสิทธิโดยตรง) ได้นะครับ

176
เป็นหมู่บ้านเก่าใหม่แค่ไหนครับ เป็นหมู่บ้านจัดสรรตามพรบ.จัดสรรที่ดินฯ หรือมีนิติบุคคลหมู่บ้านหรือไม่

เบื้องต้น ถ้าเอาตามกฎหมายพื้นฐานแล้ว ข้างบ้านที่ส่งเสียงดังรบกวน อาจเข้าลักษณะเป็นการใช้สิทธิส่วนตน เกินกว่าเหตุ อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดอย่างหนึ่งครับ สามารถใช้สิทธิทางศาลฟ้องให้หยุดกระทำการได้ครับ เป็นคดีส่วนแพ่งนะครับ

แต่หากเป็นหมู่บ้านจัดสรรที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยแล้ว การประกอบธุรกิจที่เป็นที่เดือดร้อง ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเขต ก็ย่อมมีส่วนต้องให้ความเป็นธรรมด้วยครับ ปัญหาแบบนี้น่าเห็นใจนะครับ

177
กำแพงบ้านในหมู่บ้านจัดสรรนั้น ถ้าหมุดเขตที่ปักแสดงอาณาเขตอยู่นอกกำแพง กำแพงย่อมเป็นทรัพย์สินของผู้ซื้อที่ดินครับ รื้อถอนได้ ไม่ต้องขออนุญาตจากนิติบุคคลครับ แต่โดยมารยาทและเพื่อความเป็นสุขในสังคมส่วนรวม แจ้งไว้สักหน่อยก็จะดีไม่น้อยครับ

แต่ถ้าหลักเขต อยู่ก้ำกึ่ง หรืออยู่ในกำแพงเป็นต้นไป กำแพงอาจเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินส่วนรวมครับ อย่างนี้แม้จะขออนุญาต ก็รื้อไม่ได้ครับ ถือเป็นทรัพย์สินที่มีไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกันครับ

178
1. คุณควรไปตรวจสอบสถานะการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่สนง.ที่ดินครับ ว่ากรรมสิทธิ์ถูกโอนไปยังบุคคลภายนอกหรือยัง?

2. หากปรากฏว่ามีการโอนที่ดินไปแล้วโดยปราศจากความยินยอมของคุณแล้ว คุณต้องคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องออกมาทั้งหมด และนำไปแจ้งความเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องครับ ข้อหาก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นครับ ในทางคดีอาญาใช้กลไกทางตำรวจน่าจะดีกว่าไปฟ้องเองครับ

3. (กรณีที่ดินถูกโอนไปแล้ว) ในส่วนทางคดีแพ่ง หากคุณต้องการกรรมสิทธิ์คืน ต้องฟ้องเพิกถอนการโอนครับ

4. ถ้าโชคดีหน่อย หากตรวจสอบพบว่าที่ดินยังไม่ถูกโอนไป ก็อาจจะแบ่งได้เป็น 2 กรณี ครับ คือ มีการนำโฉนดไปวางขอกู้เงิน (มอบอำนาจโอนลอย) หรือไม่ก็มีการนำที่ดินไปจดจำนองกับบุคคลภายนอกไว้ (จะมีการระบุการจดจำนองไว้หลังโฉนดครับ) ในส่วนการจำนองนี้ คุณคงต้องดำเนินการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม หรือหากเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน คุณสามารถแจ้งขอออกโฉนดฉบับใหม่ โดยอ้างว่าโฉนดหายได้เลยครับ
 

179
ซื้อบ้านต่อก็ควรดำเนินการให้ถูกต้องนะครับ ติดต่อธนาคารและดำเนินการที่ที่ดินครับ ตามกฎหมายบ้านเป็นอสังหาริมทรัพย์การซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนครับ

180
เป็นเงินที่คุณไม่มีสิทธิ์ยึดไว้ หากเจ้าของเรียกคืนก็ต้องคืนครับ เจ้าของหรือมหาลัยมีสิทธิ์ในการดำเนินคดีได้ครับ

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 15