สำนักงานทนายความ

แสดงกระทู้

ส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถดูกระทู้ทั้งหมดสมาชิกนี้ โปรดทราบว่าคุณสามารถเห็นเฉพาะกระทู้ในพื้นที่ที่คุณเข้าถึงในขณะนี้


ข้อความ - Preecha Yokthongwattana

หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 15
301
คงเป็นเรื่องยากที่ธนาคารจะยอมเปลี่ยนคู่สัญญาครับ แต่ก็อาจต้องลองแจ้งดู ซึ่งหากจะเปลี่ยนคู่สัญญาโดยปกติธนาคารจะให้ปิดยอดเดิมและให้คนซื้อทำสัญญาใหม่ครับ ไม่งั้นก็คงต้องปล่อยให้ธนาคารยึดรถโดยทั้งผู้ซื้อและผู้ค้ำอาจถูกฟ้อง ซึ่งหากผู้ค้ำเป็นพ่อของแฟนก็ต้องโดนฟ้องด้วยครับ

302
กรณีนี้ยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยครับ แต่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าประมาณ 45 วัน ส่วนค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมมีสิทธิ์เรียกร้องได้ แต่ขึ้นอยู่กับศาลครับว่าจะพิจารณาให้หรือไม่ เท่าไร

303
บุตรมีสิทธิได้รับมรดกแทนที่บิดาครับ หากเค้าไม่โอนให้ก็อาจต้องฟ้องร้องเอา ส่วนเรื่องรถสามารถโอนได้ครับ

304
แนะนำให้ทำบันทึกข้อตกลงระหว่างกันก่อนจะโอนทรัพย์สินนะครับ โดยระบุรายละเอียดเป็นบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการหย่าไปเลย และระบุข้อตกลงต่างๆลงไป ลงนามไว้ทั้งสองฝ่ายครับ หากเค้าไม่ยอมเซ็นต์อาจจะไม่ค่อยบริสุทธิ์ใจต้องลองดูครับ

305
ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ซื้อบ้านและอยู่กินเป็นสามีภรรยา ก็ถือว่าบ้านเป็นกรรมสิทธิ์รวมที่ทั้งสองมีสิทธิคนละครึ่ง เมื่อแฟนไปแต่งงานใหม่ก็อาจมีปัญหาได้แนะนำให้ตกลงกันให้ชัดเจนและโอนให้เรียบร้อยครับ

306
เรื่องค่าเลี้ยงดูบุตรเป็นเรื่องที่มีปัญหามากครับ เพราะเป็นเรื่องของความรับผิดชอบของแต่ละคนด้วย กรณีนี้หากยังไม่หย่าและไม่เคยตกลงกันในศาลก็คงทำได้เพียงติดตามทวงถามครับ หรือจะมาทำเป็นบันทึกข้อตกลงระหว่างกัน หรือลองให้ลูกสาวได้คุยได้อยู่กับพ่อบ้าง (ไม่ได้หมายถึงทวงค่าเลี้ยงดูนะครับ)อาจดีขึ้น แต่หากมีการหย่าก็สามารถตกลงเรื่องค่าเลี้ยงดูและบังคับตามข้อตกลงได้ครับ

307
ไม่ได้ครับ เพราะถือเป้นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นสาระสำคัญ ลูกจ้างจะต้องยินยอมครับ

308
แม้อยู่ในช่วงทดลองงานนายจ้างก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และมีเหตุในการเลิกจ้างนะครับ ไม่งั้นอาจเป้นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้ ส่วนเรื่องค่าชดเชยต้องดูอายุงานด้วยครับว่าทำมากี่เดือน ปกติหากเกิน 120 วัน มีสิทธิ์ได้ค่าชดเชย 1 เดือนครับ

309
โทษทีครับ อันนี้ผ่านมาแล้ว ทุกปีก็มีการอภัยโทษนะครับ ส่วนหลักเกณฑ์ต่างๆสอบถามทางเรือนจำได้โดยตรงครับ

310
โดนฟ้องด้วยครับ คนซื้อและคนค้ำรับผิดเสมือนลูกหนี้ร่วมกันครับ

311
ต้องดูว่าเป็นกิจการประเภทไหนครับ หุ้นส่วนบริษัท หรือบริษัท และเป็นหุ้นส่วนประเภทใดครับ

312
ภรรยาก็มีสิทธิครึ่งหนึ่งครับ ถือเป็นสินสมรส

313
จะใช้นามสกุลเดิม หรือนามสกุลสามี หรือนามสกุลใหม่ของพ่อก็ได้ครับ ไม่มีกฎหมายห้าม เดี่ยวนี้ผู้หญิงที่จดทะเบียนสามารถใช้นามสกุลตัวเองได้ครับ

314
หากไม่ผ่อน รถก็โดนยึด ก็ไปเคลียร์กับไฟแนนซ์ได้ครับก่อนที่เค้าจะฟ้องคดี ถ้าไม่ได้ใช้รถเองก็ไม่น่าจะต้องผ่อนนะครับ ยกเลิกสัญญาไปเลยดีกว่า ลองติดต่อบริษัทดูครับ

315
ยื่นขอประกันตัวชั้นฎีกาต่อได้เลยครับ ไม่ได้มีกำหนดว่าภายในกี่วัน แต่คดีนี้เป็นคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องขอศาลเพื่อรับรองให้ฎีกา อาจต้องขอให้ศาลรับรองก่อนแล้วค่อยยื่นประกันตัว ส่วนเรื่องคดีเนื่องจากไม่ได้เห็นสำนวนทั้งหมด เลยแนะนำได้เพียงว่าก็ต้องดูแนวจากคำพิพากษาทั้งสองศาลว่ามีประเด็นที่จะต่อสู้ได้อีกหรือไม่ แนะนำให้ขอเรื่องการรอลงลงอาญาไปด้วยครับ

316
ทำไมโดนเรียกเงินประกันสูงมากๆเลยครับ น่าจะเป็นประกันตัวชั้นตำรวจ ไม่ทราบได้ให้การอะไรในชั้นตำรวจหรือยังครับ แต่หากตำรวจแจ้งว่าจะส่งเรื่องให้อัยการ ก็น่าจะต้องขึ้นศาลเพื่อสู้คดี เว้นแต่อัยการจะสั่งไม่ฟ้องครับ ส่วนโทษคดีรับของโจรจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไงก็คงต้องสู้เรื่องเจตนาเป็นหลักครับ

317
เรื่องหนี้นอกระบบ แนะนำว่าให้จัดการตัวเองด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งนะครับ การทวงหนี้นอกระบบที่เราๆท่านๆอาจจะเคยได้เห็นผ่านๆมา ก็จะมีหลายรูปแบบ ทั้งถูกกฎหมาย ผิดกฎหมาย บางครั้งก็มีอันตรายถึงทำร้ายหรือทำให้เสียชีวิต ดังนั้น คำแนะนำที่ดีที่สุด คือ รีบใช้หนี้ให้หมดครับ

ส่วนหลักฐานทางกฎหมายก็คงว่ากันไปตามกระบวนการศาลครับ เรื่องนี้ไม่ค่อยมีปัญหาครับ

318
การรับบุตรบุญธรรมมีเงื่อนไขตามกฎหมายครับ และผลของการรับบุตรบุญธรรมโดยสมบูรณ์ จะทำให้บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายหมดอำนาจปกครองลง

ดังนั้น หากการรับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ตัวบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ (อายุไม่เกิน 20 ปี) การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายนะครับ

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของคุณนิด หากฝ่ายบิดา ไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้มีส่วนได้เสีย เช่นผู้รับบุตรบุญธรรม อาจร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้ความยินยอมแทนบิดาได้ครับ

319
การกำหนดข้อตกลงหรือข้อบังคับในการทำงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างย่อมทำได้โดยชอบอยู่แล้วครับ

การเล่นอินเตอร์เน็ตในที่ทำงาน หากไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ ย่อมส่งผลเสียแก่การทำงานอยู่แล้วนะครับ นายจ้างย่อมสามารถออกข้อบังคับห้ามเล่นอินเตอร์เน็ตที่ไม่เกี่ยวกับงานได้ครับ ส่วนโทษและวิธีการบังคับจะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับนายจ้างจะกำหนดครับ

ทางที่ดีหากเป็นฝ่ายนายจ้าง ก็ควรมีส่วนงาน IT ที่คอยควบคุมการเข้าเว็บไซต์ของพนักงานนะครับ จะได้ตัดปัญหาการเล่นเน็ตในเวลางาน เช่น เปิดให้เล่นเป็นการทั่วไปได้เฉพาะเวลาพัก หรือหลังเลิกงานแล้ว เช่นนี้ก็จะแก้ปัญหาได้ครับ แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นเรื่องในการบริหารงานของฝ่ายนายจ้างโดยแท้ครับ

320
การลงนามในสัญญา ถ้ามีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ไม่ต้องลงนามต่อหน้าก็มีผลใช้ได้ปกติครับ

ปัญหาที่จะเกิดขึ้น มักจะเป็นเรื่องการปลอมลายมือชื่อ หรือชื่อคู่สัญญากับคนลงนาม ไม่ตรงกัน ซึ่งหากไม่ได้ลงนามต่อหน้าเรา เราก็ไม่สามารถยินยันความถูกต้องของลายมือชื่อคู่สัญญาได้ ดังนั้นหากคุณไม่แน่ใจ ขอแนะนำให้ลงนามต่อหน้าครับ

แต่ในทางปฏิบัติ หากเป็นการทำสัญญากับพวกบริษัทห้างร้านใหญ่ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ เขามักจะใช้วิธีให้ลูกค้าลงนามไว้ก่อน และจึงค่อยนำเสนอสัญญาให้ผู้มีอำนาจลงนาม อันนี้เป็นเรื่องปกติทางการค้านะครับ

แต่หากเป็นสัญญาระหว่างบุคคล ก็แนะนำให้ใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นสักหน่อยครับ

321
อำนาจปกครอง เป็นไปตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งศาลเท่านั้นนะครับ

ที่สำคัญคืออำนาจปกครองจะสิ้นสุดลงทันทีที่ผู้ปกครองตายครับ จึงไม่อาจทำพินัยกรรมยก หรือตกลงให้อำนาจปกครองผิดแปลกไปจากที่กฎหมายกำหนดได้ครับ

วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง คือการตกลงหย่า โดยมีข้อตกลงเรื่องอำนาจปกครองบุตรไว้ครับ ซึ่งจะต้องเลือกว่า จะปกครองทั้งคู่ / ให้อยู่กับพ่อฝ่ายเดียว หรือให้อยู่กับแม่ฝ่ายเดียวครับ ไม่สามารถตกลงยกอำนาจปกครองให้แก่บุคคลภายนอกได้ครับ

และแม้ศาลจะมีอำนาจในการกำหนดหรือมีคำสั่งในเรื่องอำนาจปกครอง แต่ในกรณีที่เด็กยังมีบิดามารดา หรือมีบิดาหรือมารดา (กรณีฝ่ายหนึ่งตายไปก่อน) ศาลก็ไม่อาจไปยกเลิกเพิกถอนอำนาจปกครองได้โดยไม่มีเหตุอันสมควร

การฟ้องให้เพิกถอนอำนาจปกครอง ก็สามารถทำได้ครับ แต่ต้องเป็นเหตุร้ายแรงอย่างยิ่ง เช่น เด็กมีพ่อ แต่พ่อติดสุราเป็นอาจิณ เลิกไม่ได้ เมาทุกวัน พอเมาได้ที่ก็ทำร้ายบุตรเป็นอาจิณ กรณีเช่นนี้ ญาติ หรือผู้มีส่วนได้เสีย สามารถร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองได้ครับ เป็นกรณีตัวอย่างพอให้เห็นภาพนะครับ

323
โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.4 ตามมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้ให้ความหมายว่าเป็น หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ ผู้มีชื่อในหนังสือสำคัญนี้สามารถใช้ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นยันแก่บุคคลทั่วไปได้ นอกจากนี้ ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินยังสามารถทำนิติกรรมใด ๆ ก็ได้ เว้นแต่จะมีกรณีที่กฎหมายที่ดินบางมาตราห้ามไว้โดยเฉพาะ เช่น ตามมาตรา 31 และมาตรา 58 ทวิ วรรคห้าแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 เป็นต้น และการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีโฉนดที่ดินจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติว่า "นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งมีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ มาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังได้บัญญัติไว้ว่า "การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไซร้ ท่านว่า เป็นโมฆะ....." แม้โฉนดที่ดินจะเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่ตราบใดที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินยังไม่ได้รับแจกโฉนดที่ดินจากทางราชการมาไว้ในครอบครอง ก็ยังถือไม่ได้ว่า ราษฎรผู้นั้นมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ถึงแม้ว่าเจ้าพนักงานที่ดินจะออกใบไต่สวนให้แล้ว แต่ใบไต่สวนหาใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่อย่างใดไม่


324
ตอบ
4.1 หากจะแปลความตามข้อสัญญานั่นหมายถึงผู้จะขายมีสิทธิริบได้ครับ ส่วนเรื่องของการอะลุ่มอะล่วยกันคงต้องเจรจากันไม่เกี่ยวกับข้อสัญญาครับ
4.2 ในส่วนความรับผิดของผู้จะขายหากไม่สามารถโอนได้ไม่ได้ระบุไว้ในข้อสัญญาหรือเปล่าครับ ดังนั้นเรียกการเรียกค่าเสียหายก็ต้องพิสูจน์ แต่กรณีที่ผู้ขายไม่สามารถโอนได้ภายในกำหนดก็เป็นกรณีผิดสัญญาจะซื้อจะขายได้ครับ แต่ต้องดูที่เหตุแห่งการผิดสัญญาด้วยว่าเป็นเหตุที่ผู้ขายจะต้องรับผิดหรือไม่ หรือเป็นเหตุสุดวิสัย เช่น หากเป็นเรื่องเจ้าหน้าที่อาจไม่ใช่ความผิดผู้ขายครับ
5.1หลักฐานการดอนก็เป็นหลักฐานการชำระเงินได้รับ แต่ระวังนะครับสลิปเอทีเอ็มจะจางได้ง่าย ยังไงก็ต้องรบถ่ายเป็นสำเนาเอกสารเก็บไว้ และให้เค้าออกใบเสร็จรับเงินมาให้ก็ดีครับ ไม่มีสำเนาก็ไม่เป็นไร ขอให้เป็นเอกสารที่มีลายเซ็นต์เค้าก็พอครับ
5.2 หากไม่สามารถโอนได้ก็เป็นเรื่องผิดสัญญา สามารถฟ้องร้องเรียกเงินคืนและเรียกค่าเสียหายได้ครับ เรื่องอะลุ่มอะล่วยก็ขึ้นอยู่กับคู่สัญญาครับ

325
อันนี้ต้องร้องต่อศาลเพื่อขอเป็นผู้เลี้ยงดุบุตรอย่างเดียวครับ แล้วพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ศาลเห็นครับ

326
ข้อเท็จจริงลักษณะนี้คล้ายๆในละครนะครับ ซึ่งต้องพิจารณาโดยละเอียดเพราะเป็นเรื่องคดีอาญา โดยต้องแยกแยะระหว่างเจตนาทำร้ายร่างกาย และเรื่องสมัครใจทะเลาะวิวาท
ข้อเท็จจริง หากเมียน้อยบุกเข้ามาตบถึงบ้าน เมียหลวงอาจดำเนินคดีข้อหาบุกรุก และเจตนาทำร้ายร่างกายได้ครับ ในส่วนการอ้างป้องกันตัวนั้นต้องดูระดับความร้ายแรงของการถูกกระทำ หากเป็นแค่การถูกตบอาจป้องกันตัวโดยการผลักหรือดันได้ แต่การตบกลับอาจมองได้ว่าเป็นเรื่องสมัครใจทะเลาะวิวาท หรืออาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้ครับ แต่เป็นเพียงเหตุลดโทษเท่านั้นนะครับ เป็นเมียหลวงต้องมีสตินะครับ

327
สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ครับ ไม่น่าจะมีข้อมูลแจ้งไปยังตม.ของประเทศนั้นๆ แต่การถูกดำเนินคดีอาญาจะมีข้อมูลอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งหากไม่ได้เป็นชาวต่างชาติเค้าก็ไม่ต้องแจ้งตม. ส่วนเรื่องการบำเพ็ญประโยชน์ไม่ครบต้องแจ้งพนักงานควบคุมความประพฤตินะครับ เพราะหากจงใจเดินทางไปต่างประเทศโดยไม่แจ้ง อาจเป็นกรณีไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษา ศาลอาจเรียกมาสอบถามและเปลี่ยนเป็นโทษจำคุกได้นะครับ

328
รีบไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดีเลยครับ เพราะดูท่าเค้าอาจมีเจตนาไม่คืนรถเราแล้วครับ แจ้งดำเนินคดียักยอกทรัพย์ไปเลยครับ ต้องรีบแจ้งก่อนสามเดือนนับแต่ที่เค้าไม่ยอมคืนนะครับ

329
จากการดูเอกสารแล้ว จริงหรือปลอมไม่สามารถฟันธงให้ได้ครับ เพราะเป็นลักษณะแบบฟอร์มที่กรมใช้ อย่างไรต้องได้ดูเอกสารจริงๆเพื่อเปรียบเทียบครับ หรือแนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลทะเบียนบริษัท ในเวปกรมได้นะครับ เพื่อดูว่าเลขทะเบียนตรงกันหรือไม่ เพราะหากเค้าได้จดทะเบียนถูกต้อง กรมฯก็ต้องออกเอกสารให้เค้าจริง
หากไม่มีข้อมูลในระบบของกรมก็อาจเป็นการปลอมได้ครับ หากปลอมก้มีความผิดอาญาครับ ข้อหาปลอมแปลงเอกสาร และปลอมตราประทับครับ ส่วนเรื่องใช้ตราครุฑแล้วเป็นหมิ่นเบื้องสูงอันนี้ไม่เกี่ยวกันครับ

330
ถ้ายังไม่มีคดีอาญาก็ไม่น่าจะมีปัญหาการเดินทางเข้าออกต่างประเทศครับ

หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 15