สำนักงานทนายความ

ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sunny2841
« เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2013, 09:57:24 PM »

ขอโทดนะครับ ใครก็ได้ช่วยผมทีขอเร็วเลยนะครับ คือผมเผลอไปเเก้รหัสของทางราชการ(โรงดรียน)โดยไม่ตั้งใจประมาณว่าอยากลองโดยไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นผมควรทำไงดรสารภาพหรือเงียบไว้ เเล้วผมจะผิดข้อหาไรบ้างอะครับช่วยตอบหยงน่อยครับกลัว
ข้อความโดย: มินท์
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2013, 05:06:43 PM »

ขอบคุนคับ ตอนนี้ต้องการทนายช่วยด่วนๆเลยคับผม
ข้อความโดย: roddoodee
« เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 02:02:53 PM »

 8)แวะมาอ่านเอาความรู้ด้วยคนนะครับ ขอบคุณครับ
ข้อความโดย: Preecha Yokthongwattana
« เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2013, 11:09:11 AM »

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

กรณีมาตรา ๑๖ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฎเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่ผู้กระทำความผิดทำการตัดต่อ หรือดัดแปลงด้วยวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่น (เจ้าของภาพ) เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง มาตรานี้ยังคงมีความไม่ชัดเจนต่อกรณีนี้ ทั้งยังไม่เคยมีคดีตัวอย่างในการใช้บทบัญญัติมาตรานี้ ปัญหาว่า ผู้กระทำความผิด นำภาพถ่ายบุคคลอื่นไปใช้โดยมิได้มีการตัดต่อ และมิใช่เพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะมีความผิดหรือไม่ เมื่อกฎหมายฉบับดังกล่าวมีลักษณะเป็นกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายมหาชนต้องตีความโดยเคร่งครัดจะตีความโดยขยายความเพื่อเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดหรือจำเลยมิได้ อีกทั้งเมื่อกฎหมายไม่บัญญัติห้ามโดยชัดแจ้งย่อมไม่มีความผิด จึงเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวน่าจะไม่ผิดต่อบทบัญญัติมาตรานี้
แต่อย่างไรก็ดี การกระทำของผู้กระทำความผิดย่อมเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติกฎหมายแพ่ง เจ้าของภาพเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ มีสิทธิขัดขวางการใช้ภาพถ่ายของตนเองได้ การที่ผู้กระทำความผิดนำภาพของผู้อื่นไปใช้เพื่อแสดงว่าตนเป็นบุคคลอื่น เจ้าของภาพถ่ายที่แท้จริงย่อมได้รับความเสียหาย เป็นการจงใจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เป็นละเมิด เจ้าของภาพย่อมมีสิทธิฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้ (ถ้าหากตามตัวผู้กระทำความผิดได้) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๒๐ ครับ
ข้อความโดย: มินท์
« เมื่อ: เมษายน 27, 2013, 10:35:14 PM »

หมอเอารูปถ่ายหน้าผมก่อนและหลังการศัลยกรรมขึ้นเว็ปไซต์ของคลีนิค ผิด พรบ ไหมคับ ผมจะฟ้องได้ไหมคับ