สำนักงานทนายความ

ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Preecha Yokthongwattana
« เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 06:28:27 PM »

ส่วนแนวทางการแก้ไขคำพิพากษา ที่คุณดูมาก่อนแล้วนั้น ทางปฏิบัติจริงๆ ค่อนข้างยากครับ การแก้ไขยอดหนี้ตามสัญญายอมฯ มีแนวคำพิพากษาฎีกาออกมาแล้ว ว่าไม่ใช่การแก้ไขเล็กน้อยครับ
ข้อความโดย: Preecha Yokthongwattana
« เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 06:26:46 PM »

หากคุณชำระหนี้ไปจริงและมีหลักฐาน แต่เจ้าหนี้ไม่หักหนี้ให้แก่คุณ ทางออกที่เห็นว่าสมควรกระทำ คือ คุณต้องไปติดต่อ ติดตาม ทวงถามแบบจริงจัง และให้เจ้าหนี้ยืนยันยอดหนี้คงค้างมาเป็นหลักฐานครับ

หากยอดหนี้ที่สรุปออกมา ไม่มียอดหักชำระเงินจำนวน 70000 บาท ที่คุณชำระไปแล้ว คุณก็รวบรวมหลักฐานไปฟ้องเจ้าหนี้ โดยฟ้องเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนครับ อ้างเหตุว่าได้ชำระหนี้แล้ว แต่เจ้าหนี้ไม่ได้นำมาหักชำระหนี้ เท่ากับว่ารับเงินเราไปเปล่าๆ จึงขอให้เจ้าหนี้คืนเงินกลับมาก่อนครับ
ข้อความโดย: lop5593ครับ
« เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 02:11:14 PM »

มาตรา 143 ถ้าในคำพิพากษาหรือคำสั่งใด มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ และมิได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้าน คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เมื่อศาลที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งนั้นเห็น สมควรหรือเมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไข ข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลง เช่นว่านั้นให้ถูกก็ได้ แต่ถ้าได้มีการอุทธรณ์ หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น อำนาจที่จะแก้ไขข้อ ผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ย่อมอยู่แก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา และแต่กรณี คำขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ให้ยื่นต่อ ศาลดังกล่าวแล้ว โดยกล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา หรือโดยทำ เป็นคำร้องส่วนหนึ่งต่างหาก
การทำคำสั่งเพิ่มเติม มาตรานี้ จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้ คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม
เมื่อได้ทำคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว ห้ามไม่ให้คัดสำเนาคำพิพากษาหรือ คำสั่งเดิม เว้นแต่จะได้คัดสำเนาคำสั่งเพิ่มเติมนั้นรวมไปด้วย



ใช้มาตรานี้แก้ไขได้มั้ยครับ
ข้อความโดย: lop5593
« เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 09:33:02 AM »

 คือยอดหนี้ตอนที่เจ้าหนี้(กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา)ยื่นฟ้อง 350,000 บาท แต่ในระหว่างที่รอขึ้นศาล ผมได้ไปชำระหนี้ 70,000 บาท ซึ่งยอดหนี้ในธนาคารจะลดเหลือ 280,000 บาท และมีหลักฐาน Statement แต่ในวันประนอมหนี้ผมเอาหลักฐานไปขอลดหนี้วันประนอมหนี้ ทนายของโจทย์บอกว่า ต้องใช้ยอดหนี้ 350,000 บาท ตามที่ฟ้องไปก่อนเพราเขาเป็นฝ่ายกฏหมายไม่รับรู้เรื่องตัวเลข แล้วให้เรามาขอปรับยอดหนี้ตามความเป็นจริงที่ Update อีกที แต่เมื่อผมมาคุยกับทางธนาคาร บอกว่า ต้องปรับยอดหนี้จาก 280,000 บาท เป็น 350,000 บาท ตามสัญญาประนอมหนี้ ผมเลยขอปรึกษาว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ให้เงิน 70,000 บาทนั้นสูญเปล่าครับซึ่งผมมีหลักฐานการชำระเงินอยู่ ต้องขอประนอมหนี้รอบ2หรือ ต้องฟ้อง หรือต้องไปคุยกับทางเจ้าหนี้(กยศ)