สำนักงานทนายความ

ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: PinterDarcey
« เมื่อ: มีนาคม 05, 2015, 11:02:22 AM »

ทำอะไรก็ระวังกันนะครับ หาคนปรึกษาก่อนก็ดี
ข้อความโดย: Preecha Yokthongwattana
« เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2011, 02:13:21 PM »

เป็นคำถามที่มักมีผู้สงสัยสอบถามเข้ามาจำนวนมากครับ

เมื่อท่านถูกฟ้องล้มละลาย และศาลยังม่ได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ท่านยังสามารถทำนิติกรรมได้ครับ

แต่... ในการทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์บางรายการในระหว่างที่ถูกฟ้องล้มละลาย รวมถึงถูกฟ้องบังคับชำระหนี้ในคดีแพ่งทั่วไปด้วย เช่น การโอนขาย/ยกให้ ที่ดิน บ้าน รถยนต์ หรือทรัพย์ที่มีทะเบียนที่สามารถตรวจสอบได้โดยง่าย ท่านอาจเข้าข่ายมีความผิดอาญาในข้อหา "โกงเจ้าหนี้" ได้นะครับ

ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ กรณีนี้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ซึ่งหากท่านมีเจตนาที่จะไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว ก็เข้าข่ายเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรานี้ครับ สำหรับบทกำหนดโทษ ก็คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ ความผิดฐานนี้เป็นความผิดที่สามารถยอมความกันได้ครับ

ใครที่คิดจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ ได้โปรดพึงระวังไว้สักนิดครับ เพราะความผิดอาญามีผลกระทบถึงสิทธิส่วนตัว คือมีโทษถึงจำคุกนะครับ

นอกจากนี้ การโอนทรัพย์สินออกไปในระหว่างที่ถูกฟ้องคดี นิติกรรมการโอนทรัพย์ ก็อาจถูกเพิกถอนได้ด้วยเช่นกันครับ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามพระราชบัญญัติล้มละลาย

สำหรับความเสี่ยงต่อคดีอาญานอกเหนือจากนี้ ซึ่งผมขอแนะนำให้พึงระวัง คือการไปหลอกขายทรัพย์ให้บุคคลภายนอกครับ ตรงนี้นอกจากเจ้าหนี้จะดำเนินคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ได้แล้ว ท่านอาจถูกผู้ซื้อทรัพ์ดำเนินคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงซ้ำอีกกระทงก็เป็นได้นะครับ