สำนักงานทนายความ

ตอบ

คำเตือน - มีกระทู้ตอบใหม่ ขณะที่คุณกำลังอ่านหัวข้อนี้ อยากให้คุณแสดงตัวอย่างก่อนตั้งกระทู้
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Supachai Tongpin
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2020, 04:18:10 AM »

กรณีฝ่ายบุคคลไม่เคยบอกไม่เคยมีเอกสารให้ลูกจ้างอ่านในกรณีกฏและขอ
ระเบียบของโรงแรม และไม่เคยชี้แจงในกรณีออกใบเตือนและกรณีหักเงินเดือนและไม่มีใบบันทึกสัญญาจ้างให้เซ็นให้อ่านทางนายจ้างมีสิทษ์มาหักค่าเซอร์วิส100%ไหมครับ
ข้อความโดย: นายจ้าง
« เมื่อ: กันยายน 20, 2018, 01:56:26 PM »

ได้ความรู้มากครับ
ข้อความโดย: Preecha Yokthongwattana
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2013, 02:59:57 PM »

S & P Legal Alliance
24 Ratchadamnern Klang Road, Phranakorn District, Bangkok 10200
Mail : splalaw@gmail.com Tel +66 2225 5485 Mobile phone: 0819881845 , 0897881248

การลงโทษพนักงานกระทำความผิด                       
การสอบสวนและการลงโทษกรณีพนักงานกระทำความผิดนั้น มีเครื่องมือในการดำเนินการ คือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของพนักงาน และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน   
   
ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขององค์กรนั้น จะต้องระบุถึงโทษทางวินัยที่ชัดเจนเป็นลำดับความหนักเบา โดยปกติก็จะมีโทษสถานเบาที่สุดถึงมากที่สุด ได้แก่

- การตักเตือนด้วยวาจาอย่างไม่เป็นทางการ กรณีนี้ไม่ต้องบันทึกเป็นเอกสารใด ๆ เพียงแต่เรียกพนักงานผู้กระทำความผิดมาชี้แจง ทำความเข้าใจในสิ่งที่เขาได้กระทำผิดพลาดหรือบกพร่องเท่านั้น ซึ่งจะใช้ในกรณีที่เป็นโทษสถานเบา หรือ กรณีที่การกระทำความผิดนั้น องค์กรยังไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดเป็นข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติอย่างชัดเจนในเรื่องนั้น ๆ เพียงแต่พฤติการณ์ของพนักงาน อาจทำให้ส่งผลเสียได้ต่อองค์กรได้ แต่การที่องค์กรยังไม่ชัดเจนในข้อบังคับ จึงไม่สามารถพิจารณาลงโทษอย่างเป็นทางการได้เช่นเดียวกัน อย่างมากก็แค่ เป็นข้อหารือกับพนักงานและชี้ให้เค้าเห็นถึงผลเสียต่อองค์กรเท่านั้น การตักเตือนด้วยวาจาอย่างไม่เป็นทางการหัวหน้างานสามารถตักเตือนได้

- การตักเตือนด้วยวาจาอย่างเป็นทางการ กรณีนี้เช่นเดียวกับกรณีแรกที่เป็นการพิจารณาลงโทษในสถานเบา แต่ว่าต่างกับข้อแรกตรงที่ กรณีนี้จะมีการบันทึกในหนังสือเตือนหรือหนังสือลงโทษทางวินัยขององค์กรไว้เป็นหลักฐาน การตักเตือนด้วยวาจาโดยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นหัวหน้างานควรแจ้งไปยังฝ่ายบุคคลเพื่อดำเนินการ

- การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร จะคล้ายกับการตักเตือนด้วยวาจาอย่างเป็นทางการในข้างต้น แต่ว่าจะมีความแรงกว่าการตักเตือนเป็นด้วยวาจาอย่างเป็นทางการตรงที่ โทษในขั้นนี้จะมีกฎหมาย พรบ.คุ้มครองแรงงานรองรับใน มาตรา 119 ( 4 ) เรื่องข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง คือ หากพนักงานกระทำความผิดซ้ำคำเตือนและนายจ้างมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่แสดงว่าได้มีการตักเตือนพนักงานเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ตามมาตรานี้ อย่างไรก็ดีมีข้อสังเกตสำคัญที่เป็นบรรทัดฐานในการวินิจฉัยของศาลว่า ในหนังสือเตือนลูกจ้างนั้นจะต้องมีข้อความระบุว่า ห้ามมิให้ลูกจ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือนอีก
ในบางองค์กร อาจมีโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ก่อนที่จะเป็น
การลงโทษโดยการพักงานก็มี เพื่อให้โอกาสพนักงานมากขึ้นอีกหน่อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมใน
แต่ละองค์กร การตักเตือนเป็นหนังสือนั้นถือเป็นการลงโทษที่แรงขึ้นเพราะอาจส่งผลต่อการเลิกจ้างได้ จึงควรมีการสอบสวนถึงการกระทำผิดในเบื้องต้น โดยจะต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริงจากหัวหน้างาน ผู้ร่วมงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ซึ่งฝ่ายบุคคลควรเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนและสรุปผลการสอบสวนเพื่อเสนอผู้จัดการ และออกหนังสือเตือนแก่พนักงานต่อไป

- การสั่งพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง เป็นโทษที่แรงขึ้นมา ซึ่งในทางปฏิบัติใช้กับกรณีที่พนักงานกระทำความผิดตามข้อบังคับ แล้วทำให้เกิดผลเสียต่อองค์กรในระดับหนึ่ง หรือใช้กับกรณีที่พนักงานคนดังกล่าวได้กระทำความผิดซ้ำอีกในข้อหาเดียวกัน ซึ่งองค์กรควรกำหนดให้ชัดเจนไปด้วยว่าจะพักงานกี่วัน อาจจะเป็น 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน ก็แล้วแต่จะลงโทษ แต่ควรกำหนดให้แน่ชัดลง เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากหรือเกิดปัญหาว่าพนักงานได้รับโทษพักงานไม่เท่ากันในข้อหาเดียวกันได้
การพักงานนี้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน จะมีอยู่ในมาตรา 116 และมาตรา 117 แต่ในมาตราทั้งสองนี้เป็นการพักงานเพื่อการสอบสวน ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่กฎหมายกำหนดในระหว่างที่พนักงานถูกสั่งพักงานด้วย ซึ่งจะเป็นคนละกรณีกับโทษการสั่งพักงานที่นายจ้างได้วินิจฉัยแล้วพนักงานมีความผิด การพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างก็ถือเป็นมาตราการลงโทษที่มีผลกระทบแก่ชีวิตของลูกจ้าง จึงควรมีการสอบสวนความผิดในเบื้องต้นและสรุปการลงโทษโดยฝ่ายบุคคลเพื่อเสนอผู้จัดการ และดำเนินการลงโทษต่อไป

- การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เป็นการลงโทษสถานหนักที่สุด แต่ทั้งนี้นายจ้างจะลงโทษนี้กับลูกจ้างได้ก็ต่อเมื่อลูกจ้างมีความผิดตามมาตรา 119 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานเท่านั้น
หากว่าจะเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้มีความผิดตามมาตรา 119 นายจ้างก็สามารถ
เลิกจ้างได้ แต่จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 จ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ( ถ้าลูกจ้างยังมีสิทธิอยู่ ) ตามมาตรา 67 และหากว่าลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถฟ้องต่อศาลแรงงานกลางหรือเจ้าพนักงานตรวจแรงงานได้ ตามมาตรา 46 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีแรงงาน การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้นจะต้องเป็นเหตุตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น และมีการสอบสวนโดยละเอียดถึงการกระทำความผิด โดยการจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและการลงโทษ อาจจะมีผู้จัดการเข้าร่วมเป็นกรรมการการสอบสวน และการลงโทษเลิกจ้างอาจจำเป็นต้องนำเสนอแก่กรรมการบริษัทเพื่อการพิจารณาอนุมัติการเลิกจ้าง

????.Sirikwun Ninlakun? Legal Manager? SPLALAW????

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธี จัดการ พนักงานมาทำงานสาย ขาดงาน หรือลาป่วยมากเกินไป