สำนักงานทนายความ

ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Tobitomiko
« เมื่อ: กันยายน 21, 2015, 04:23:47 PM »

ล่าสุดเพิ่งเจอว่า บางประกันโรคเดียวกันไม่สามารถรักษาได้ภายใน 3 เดือนผมถึงกับ งง เลย
ข้อความโดย: Preecha Yokthongwattana
« เมื่อ: กันยายน 03, 2015, 03:30:32 PM »

จากประเด็นโฆษณารับทำประกันชีวิตผู้สูงอายุ ที่มีคำโฆษณาเป็นทำนองว่า ?รับทำประกันผู้สูงอายุทุกคน โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ? นั้น หลายต่อหลายคนน่าจะเกิดความสงสัยว่า คนสูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือมีอาการป่วยเจ็บ สามารถทำประกันชีวิตได้ตามคำโฆษณาหรือไม่?

เรื่องนี้คงต้องชี้แจงกันให้ชัดเจนครับว่า การรับทำประกันชีวิต ปกติแล้วต้องผู้เอาประกันภัย ก็มักจะทำสัญญาผ่านตัวแทนประกัน หรือเซลส์ขายประกัน แต่โดยหลักสัญญาประกันชีวิต ก็จะมีข้อความแสดงออก หรือแสดงการรับรองของผู้เอาประกันภัยว่า ตนมิได้ป่วยเป็นโรคต้องห้าม และลงลายมือชื่อรับรองไว้ ซึ่งเอกสารหรือคำรับรองนี้สำคัญมาก เพราะถือเป็นการแสดงเจตนายืนยันว่า ผู้เอาประกันภัยมิได้ป่วยเป็นโรคต้องห้าม เช่น โรคหัวใจ ความดัน หลอดเลือด มะเร็ง หรือโรคอื่นๆ
ดังนั้น การไม่ตรวจสุขภาพ จึงไม่ได้แปลความว่า คนสูงอายุที่เป็นโรคต้องห้ามจะสามารถเอาประกันภัยได้ตามคำโฆษณา เพราะคำโฆษณา ระบุแต่เพียงว่า ?ไม่ต้องตรวจสุขภาพ? ไม่ได้ระบุว่า ?ป่วยแล้วทำประกันได้? นะครับ

ดังนั้น ผู้สูงอายุ อาจตามไม่ทันเนื้อความในโฆษณา แล้วเข้าใจไปเองว่า ป่วยก็ทำประกันภัยได้ เพราะเขาไม่ตรวจสุขภาพนั้น เป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง
บริษัทรับประกันภัย เขาย่อมอ่านคำรับรองของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ ว่า ผู้เอาประกันภัย เป็นโรค หรือมีประวัติการรักษาพยาบาลโรคต้องห้ามหรือไม่ หากปรากฏว่า มีคำรับรองว่าผู้เอาประกันไม่มีข้อต้องห้ามแล้ว บริษัทรับประกันภัยก็จะออกกรมธรรม์ให้ เพื่อสนองรับและก่อให้เกิดสัญญารับประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ ตามแต่ประเภท
แต่หากต่อมา ผู้เอาประกันภัยเกิดความป่วยเจ็บ หรือเสียชีวิต บริษัทผู้รับประกันภัย เขาก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะตรวจสอบประวัติการรักษาพยาบาล หรือประวัติการเจ็บป่วย และหากพบว่า ผู้เอาประกันภัยรู้ทั้งรู้ว่าตนป่วยเจ็บ หรือเป็นโรคต้องห้าม แต่ไปให้คำรับรองไว้ว่าไม่เจ็บป่วย หรือเป็นโรคต้องห้าม เช่นนี้แล้ว ย่อมเข้าข่ายว่าผู้เอาประกันปิดบังข้อความจริงอันควรบอกกล่าวให้ผู้รับประกันภัยทราบ เป็นผลทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 และบริษัทผู้รับประกันภัย อาจบอกล้าง หรือบอกเลิกสัญญาได้ทันทีครับ

การทำประกันภัย โดยหลักกฎหมายแล้ว ถือเอาหลักสุจริตมาบังคับใช้เป็นสำคัญ บุคคลใดมีเจตนาปกปิดข้อความจริง เช่น มีโรคประจำตัว หรือเป็นโรคต้องห้าม แล้วยังไปเสนอขอทำสัญญาประกันชีวิต โดยกรอกแบบฟอร์มยืนยันว่า ตนมิได้เป็นโรคต้องห้าม ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากปัญหาอื่น เช่น การไม่อ่านสัญญาหรือแบบฟอร์มที่ลงลายมือชื่อ (มีบ่อยที่สุด) เพราะเชื่อคำบอกเล่าของตัวแทนขาย การเสนอทำประกันโดยเข้าใจผิดว่าป่วยก็ทำได้ (จับประเด็นและตีความโฆษณาผิดไป) เช่นนี้ ถือว่าผู้เอาประกันภัยไม่สุจริตนะครับ การกระทำโดยสุจริตที่ศาลให้ความคุ้มครอง เช่น เป็นคนแข็งแรง และไม่มีประวัติการรักษาโรค แล้วขอทำประกัน โดยให้คำรับรองไปตามจริง แม้ต่อมาภายหลังจะตรวจพบมาเป็นโรคต้องห้าม เช่นนี้สัญญาไม่เป็นโมฆียะนะครับ เพราะถือว่าผู้เอาประกันภัยเสนอขอทำประกันโดยสุจริตมาแต่ต้น

โดยสรุปแล้ว ผมจึงอยากให้ทุกคนตระหนักและทำความเข้าใจถึงสัญญาประกันในรูปแบบต่างๆให้ดีครับ ผู้เอาประกันภัย เป็นผู้ทำคำเสนอขอเอาประกันนะครับ ส่วนบริษัทรับประกันจะเป็นผู้รับสนอง โดยการออกกรมธรรม์ให้ ดังนั้น คำโฆษณาต่างๆ จึงเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้มาทำคำเสนอครับ ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา แต่จะถือเป็นข้อผูกพันประการอื่นใด ซึ่งมีผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามคำโฆษณาหรือไม่ คงต้องรอผลตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่อาจจะมีต่อไปครับ

ด้วยความปรารถนาดี
ปรีชา หยกทองวัฒนา
ที่ปรึกษากฎหมาย/ทนายความ
www.splalaw.com