สำนักงานทนายความ

ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: pramook_law
« เมื่อ: ธันวาคม 10, 2018, 11:13:00 AM »

เป็นนิติกรของรัฐ จะชำนาญเฉพาะทางครับ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎกระทรวงของหน่วยงานนั้นๆ ครับ
ข้อความโดย: นักโทษประหาร
« เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2018, 11:27:54 AM »

อาชีพนิติกร

ลักษณะทั่วไปของอาชีพ

- ปฏิบัติงานทางกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยปัญหากฎหมายและพิจารณาตรวจร่าง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยงข้อง จัดทำนิติกรรม รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินเป็นคดี การสอบสวนตรวจพิจารณาเกี่ยวกับวินัยทางข้าราชการ การร้องทุกข์หรืออุทธรณ์และปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้มีลักษณะที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ ความชำนาญในวิชากฏหมาย

คุณสมบัติ

1. ด้านบุคลิกภาพ ต้องเป็นผู้ที่มีสามัญสำนึกและจรรยาบรรณของนักกฏหมายยึดถือความยุติธรรม และเคารพสิทธิของผู้อื่น

 2. ด้านความสามรารถ ต้องใช้กฎหมายให้ถูกต้องแก่กรณี มีความถนัดในการใช้ภาษาเขียนและพูด สามารถตีความได้

โอกาสและความก้าวหน้า

- ตลาดแรงงานภาครัฐบาล สามารถรองรับอาชีพนี้มากพอสมควร และภาคเอกชนเปิดกว้างมากโดยเฉพาะบริษัทห้างร้าน นิยมจ้างผู้จบวิชากฎหมายเข้าไปทำหน้าที่นิติกรประจำบริษัท ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ซึ่งนับว่าอาชีพนี้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอยู่มาก

ฉะนั้น จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้เรียนกฎหมาย ถ้าไม่ชอบทำไร่ถือสันโดษเช่นข้าน้อย ก็นับว่าเป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจ
ข้อความโดย: CrosbyClark
« เมื่อ: มีนาคม 09, 2015, 05:00:14 PM »

ก็เกือบจะเหมือนงานเดียวกันหรือเปล่าครับแต่ เจาะจงมากกว่า
ข้อความโดย: ผู้ต้องสงสัย
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 10:04:17 PM »

นิติกร คือพนักงานหรือข้าราชการจำพวกหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายในส่วนงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ มักจะทำหน้าที่ประสานงานด้านกฎหมาย บ้างก็ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ตอบคำถามหรือปัญหากฎหมาย บ้างก็ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน หรือนิติกรตามศาลต่างๆ ก็จะช่วยเหลือถึงขนาดช่วยร่างฟ้องคดีให้ได้เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละหน่วยงาน นิติกรย่อมทำหน้าที่ต่างกันออกไปครับ นิติกรกรมแรงงานอาจทำหน้าที่เป็นทนายความได้เลยเช่นกันนะครับ

ส่วนทนายความ คือ คนที่ประกอบวิชาชีพทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความครับ ทนายความในระบบที่ถูกต้อง ควรจะต้องได้รับอนุญาตให้ว่าความ โดยได้รับการรับรองจากสภาทนายความฯครับ ส่วนทนายความบางจำพวก อาจทำหน้าที่ในเชิงให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายและงานกฎหมายด้านอื่นที่ไม่ใช่งานว่าความ ซึ่งบุคคลที่มีความรู้ทางกฎหมายอาจทำงานจำพวกนี้ได้ โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากสภาทนายความฯนะครับ

ขอบคุณมากครับ :'(
ทนายปรีชาให้ความรู้ในบอร์ดมาตลอด
ข้อความโดย: Preecha Yokthongwattana
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 03:58:27 PM »

นิติกร คือพนักงานหรือข้าราชการจำพวกหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายในส่วนงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ มักจะทำหน้าที่ประสานงานด้านกฎหมาย บ้างก็ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ตอบคำถามหรือปัญหากฎหมาย บ้างก็ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน หรือนิติกรตามศาลต่างๆ ก็จะช่วยเหลือถึงขนาดช่วยร่างฟ้องคดีให้ได้เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละหน่วยงาน นิติกรย่อมทำหน้าที่ต่างกันออกไปครับ นิติกรกรมแรงงานอาจทำหน้าที่เป็นทนายความได้เลยเช่นกันนะครับ

ส่วนทนายความ คือ คนที่ประกอบวิชาชีพทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความครับ ทนายความในระบบที่ถูกต้อง ควรจะต้องได้รับอนุญาตให้ว่าความ โดยได้รับการรับรองจากสภาทนายความฯครับ ส่วนทนายความบางจำพวก อาจทำหน้าที่ในเชิงให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายและงานกฎหมายด้านอื่นที่ไม่ใช่งานว่าความ ซึ่งบุคคลที่มีความรู้ทางกฎหมายอาจทำงานจำพวกนี้ได้ โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากสภาทนายความฯนะครับ
ข้อความโดย: ผู้ต้องสงสัย
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2012, 11:06:56 PM »

นิติกร คืออะไรครับ จะต่างกับทนายความหรือเปล่า :(
และมีหน้าที่อะไร อยากเป็นนิติกรต้องทำยังไง ;D