สำนักงานทนายความ

แสดงกระทู้

ส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถดูกระทู้ทั้งหมดสมาชิกนี้ โปรดทราบว่าคุณสามารถเห็นเฉพาะกระทู้ในพื้นที่ที่คุณเข้าถึงในขณะนี้


ข้อความ - Preecha Yokthongwattana

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 15
91
กรณีนาย ก จะหยุดส่งเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายจะถือว่านาย ก ผิดสัญญานะครับ ต้องระวัง เพราะแม้มีการตกลงว่าจะจ่ายงวดเดียวพร้อมโอนบ้านก็เป็นการตกลงโดยวาจา ซึ่งไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร นาย ก จะเสียเปรียบครับ

หากนาย ข เอาโฉนดที่ดินที่ทำสัญญาไว้ไปจำนองนั้น เป็นเรื่องที่นาย ข ไม่ควรกระทำ เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการที่นาย ข จะปฎิบัติผิดสัญญาต่อนาย ก เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาที่จะต้องโอนที่ดินแก่นาย ก หากนาย ข ไม่สามารถปฎิบัติตามสัญญาได้ นาย ก มีสิทธิฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญาคืน พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหาย

ในทางปฎิบัติลองไปแจ้งเรื่องที่สำนักงานที่ดินไว้ก็ได้นะครับ เพราะหากเจ้าหน้าที่ที่ดินทราบเรื่องอาจไม่กล้าดำเนินการใดๆกับที่ดินที่มีปัญหาเช่นนี้ครับ

92
จากกรณีดังกล่าว การที่เรายินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อเป็นทางเข้าออกนั้น ไม่ทำให้ที่ดินดังกล่าวตกเป็นที่สาธารณะ หากเรามีหลักฐาน เช่น โฉนด นส.3 ก็สามารถใช้ยืนยันได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของเรา การยกให้เป็นที่สาธารณะเจ้าของที่ดินต้องยินยอมและมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ไม่น่าต้องกังวลใจครับ

93
ในกรณีนี้ สินสอด หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาของฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส (จดทะเบียนตามกฎหมาย)
ของหมั้น คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
ดังนั้น ทรัพย์ใดที่ให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิง ตามกฎหมายถือว่า เป็นสินสอด และทรัพย์ใดที่ยกให้แก่หญิง ตามกฎหมายจึงถือเป็นของหมั้น

ตามข้อเท็จจริงการแต่งงานตามประเพณีนั้น ยังไม่ถือเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายได้โดยเกิดจากพฤติกรรมของฝ่ายหญิง หรือเกิดจากการที่ฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายชายมีสิทธิเรียกร้องสินสอดและของหมั้นคืนได้ครับ

94
กรณีนี้การอยู่ต่อในที่เช่าตามกฎหมายแล้วเป็นการอยู่ต่อโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ซึ่งผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ออกเมื่อไรก็ได้ และในส่วนของค่าเช่านั้นต้องยึดถือสัญญาเช่าเดิม ดังนั้น การที่ผู้ให้เช่าแจ้งว่าให้อยู่ฟรี เป็นการแจ้งโดยวาจานั้น ไม่สามารถใช้หลักล้างสัญญาเช่าเดิมที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ ทางเราจึงเสียเปรียบ เว้นจากว่าผู้ให้เช่าจะยอมรับในศาลว่าได้พูดเช่นนั้นจริง ลองเจรจากันดีๆก่อนนะครับ

95
ตามหลักเรื่องค้ำประกันแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันที แต่คุณยังมีสิทธิโต้แย้งที่จะยังไม่ชำระได้โดยให้เจ้าหนี้เรียกชำระเอากับลูกหนี้ก่อน หรือคุณต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าทางลูกหนี้ยังสามารถชำระหนี้ได้ แต่หากสุดท้ายแล้วทางเจ้าหนี้และคุณไม่สามารถติดต่อลูกหนี้ให้เข้ามาชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอากับคุณได้เนื่องจากคุณอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้คุณก็ต้องชำระแทน แต่สำหรับชั้นนี้อยู่ในชั้นไกล่เกลี่ยคุณอาจจะลองไกล่เกลี่ยกับทางเจ้าหนี้เผื่อตกลงในยอดที่น้อยลงจากยอดฟ้องหรือขอผ่อนชำระก็ได้ และคุณยังมีสิทธิไปฟ้องไล่เบี้ยเอากับผู้เช่าซื้อในเงินที่คุณต้องชำระให้กับบริษัทแทนผู้เช่าซื้อครับ สถานะของผู้ค้ำประกันเป็นเช่นนี้ครับ ต้องรับผิดชอบแทนลูกหนี้เป็นภาระโดยแท้ หากไม่ใช่ญาติหรือคนที่สนิทกันจริงก็ไม่ควรค้ำประกันเลยครับ

96
การทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นการให้คำมั่นต่อกันแล้วว่าจะซื้อและจะขายกัน กรณีนี้แม้คุณได้ชำระเงินไปบางส่วนแล้วแต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นก็ยังคงเป็นของผู้ขายอยู่ กรรมสิทธิ์จะโอนก็ต่อเมื่อคุณได้ชำระเงินครบและจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินกันแล้วเท่านั้น ดังนั้นการนำที่ดินไปขอสินเชื่อกับธนาคารนั้น ทางผู้จะขายสามารถทำได้ คุณยังไม่มีสิทธิในการที่จะฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องให้เขาห้ามกระทำการนั้น แต่ถ้าหากคุณชำระเงินครบถ้วนแล้วและถึงกำหนดโอนบ้านและที่ดิน ทางผู้ขายไม่สามารถโอนสิทธิให้คุณได้เพราะโฉนดอยู่ที่ธนาคารคุณจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้ขายเรื่องผิดสัญญาได้ เพราะทางผู้ขายไม่สามารถส่งมอบที่ดินและบ้านให้กับคุณได้
แต่หากเขาทำเช่นนี้จริงๆ คงต้องเจรจากันนะครับ เพราะเขาไม่ควรกระทำครับ เราเสียเปรียบมากครับ

97
ปกติในหมู่บ้าน บ้านหลังมุมก็จะจอดรถเพิ่มบริเวณข้างบ้าน ซึ่งจริงๆแล้วบริเวณนอกบ้านถือว่าเป็นพื้นที่ส่วนกลางทุกส่วนแต่ก็อะลุ่มอะล่วยกัน ตามหลักการอยู่ร่วมกันในสังคมหมู่บ้าน อย่างไรคุณลองดูว่าในหมู่บ้านคุณปฎิบัติกันเช่นไรก็ให้ปฎิบัติแบบเดียวกัน เพื่อความเป็นอยู่ที่สงบสุขครับ

98
หากเราต้องสมยอมเพราะความกลัว ก็ถือว่าเข้าองค์ประกอบของความผิดฐานข่มขืนแล้วครับ การเบิกความในศาลก็ต้องยืนยันตามข้อเท็จจริงว่าเราถูกข่มขู่และจำยอมด้วยความกลัวครับ ต้องยืนยันให้ชัดว่าไม่ได้เกิดจากความสมัครใจหรือยินยอมตั้งแต่ต้น

99
ก่อนอื่นเมื่อพ่อของคุณเสียชีวิตแล้ว คุณต้องไปร้องเป็นผู้จัดการมรดก เพราะตามข้อเท็จจริงที่คุณแจ้งมา เชื่อว่าที่ดินยังเป็นชื่อของพ่อ
ส่วนในเรื่องของสัญญากู้ยืมเงินนั้น โดยตามหลักกฎหมายแล้วผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิมมายึดที่ดินเพื่อบังคับชำระหนี้โดยยังไม่ได้มีการฟ้องร้องในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินต่อศาล ดังนั้นเมื่อพ่อคุณเป็นผู้กู้ ผู้ให้กู้จะต้องฟ้องร้องและบังคับชำระหนี้เฉพาะทรัพย์มรดกของพ่อเท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้กู้เขามายึดครองที่ดินนั้นไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย คุณสามารถแจ้งความในข้อหาบุกรุกได้ และหากมีการข่มขู่ก็สามารถแจ้งความต่อตำรวจได้เช่นกันครับ

100
กรณีนี้สามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันได้ ได้แก่
1.ค่าซ่อมรถจักรยานยนต์
2.ค่ารักษาพยาบาล
3.ค่าขาดประโยชน์ (กรณีขาดรายได้จากการทำงาน)

สามารถเจรจากับตัวแแทนประกันได้เลยค่ะโดยไม่ต้องมีทนายความ

101
แชท โซเซียลส่วนตัวในที่ทำงาน นายจ้างเลิกจ้างได้ ถือว่าเป็นธรรมนะครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2557
      ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553 ค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท จ่ายทุกวันที่ 30 ของเดือน มีระยะเวลาทดลองงาน 3 เดือน ในระหว่างระยะเวลาทดลองงานจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ให้มีผลทันที เนื่องจากในเวลาทำงานโจทก์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยเล่นอินเตอร์เน็ตพูดคุยในเรื่องส่วนตัวและบันทึกข้อความทางอินเตอร์เน็ตเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมงก็มี ตามเอกสารหมาย ล.3 ถึง ล.6 ถือว่าโจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยไปในเรื่องไม่เกี่ยวกับงาน ทั้งที่อยู่ในระหว่างทดลองงานแทนที่จะทุ่มเททำงานให้จำเลยอย่างเต็มที่ โจทก์ทำงานด้านบัญชีจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ มิฉะนั้น จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำประการอื่นไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยมิพักต้องบอกกล่าวหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าสินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยทำในเรื่องส่วนตัวย่อมจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์เช่นกัน
     ที่โจทก์อุทธรณ์ประการแรกว่า การกระทำของโจทก์ไม่ถึงกับเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฎิบัติหน้าที่ของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เนื่องจากโจทก์มิได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง และจำเลยไม่ได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวระบุเพียงว่า ถ้าลูกจ้างทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า...เท่านั้น หาได้ขยายความไปถึงกับว่าเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงแต่อย่างใดไม่ อย่างไรก็ตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่ฟังว่าพฤติกรรมของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
      ที่โจทก์อุทธรณ์ประการต่อมาว่า หนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.10 ระบุเหตุเลิกจ้างว่า การปฏิบัติงานของโจทก์ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ...ไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง จึงเป็นการกระทำประการอื่นไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เป็นคำวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้นายจ้างยกเหตุอื่นขึ้นอ้างในภายหลังนอกจากเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างมาเป็นข้อต่อสู้ในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมง ย่อมเป็นเหตุให้งานในหน้าที่บกพร่องและล่าช้า ต่ำกว่ามาตรฐานที่จำเลยต้องการและไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เหตุดังกล่าวก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงกัน มิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
     พิพากษายืน

102
ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ จะทำธุรกิจใดๆร่วมกับคนอื่น ก็พยายามทำเอกสารหลักฐานกันให้ชัดเจนครับ และให้มองหลายๆมุม ทั้งดีและเสีย เพื่อชั่งน้ำหนักก่อนตัดสินใจครับ

103
สงสัยภรรยาจะไม่เข้าใจนะครับ ฟ้องหย่า ไม่ใช่ ฟ้องอย่า นะครับ (ขออนุญาตแซวเล่น จะได้ไม่เครียดนะครับ)
มาตรา ๑๕๑๖
เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(๑)*สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
 (๒) สามีหรือภริยาประพฤติชั่วไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้น จะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้า เป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
 (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
 (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ คงเป็น สามีหรือภริยา ของฝ่ายที่ประพฤติชั่ว อยู่ต่อไป หรือ
 (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบ
 อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
 (๓) สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรงอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
 (๔) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
 (๔/๑) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิด ที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิด การกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และ การเป็นสามีภริยากันต่อไป จะเป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง ได้รับความเสียหาย หรือ เดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
 (๔/๒) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา ได้โดยปกติสุข ตลอดมาเกินสามปีหรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
 (๕) สามีหรือภริยา ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือ ไปจากภูมิลำเนาหรือ ถิ่นที่อยู่ เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่า เป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
 (๖) สามีหรือภริยา ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง ตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็น สามีหรือภริยากัน อย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้า การกระทำนั้น ถึงขนาดที่ อีกฝ่ายหนึ่ง เดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
 (๗) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปีและ ความวิกลจริตนั้น มีลักษณะ ยากจะหายได้ กับทั้ง ความวิกลจริต ถึงขนาดที่จะ ทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา ต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
 (๘) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
 (๙) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัย แก่อีกฝ่ายหนึ่ง และโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
 (๑๐) สามีหรือภริยา มีสภาพแห่งกาย ทำให้ สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
เหตุฟ้องหย่าของคุณเข้าข้อ 4/2นะครับ คือ สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี ส่วนหลักฐานก็สามารถนำสืบถึงการแยกกันอยู่ได้ครับ

104
การกู้ยืมเงินเกิน 2,000บาท กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น ควรดำเนินการให้ผู้กู้เซ็นหลักฐานการกู้ครับ พยานบุคคลใช้ฟ้องร้องไม่ได้ครับ

105
ทำได้ครับ แต่ในทางกฎหมายแรงงาน น่าจะถือเป็นข้อสัญญาที่เอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร ข้อสัญญาลักษณะนี้จะไม่สามารถมีผลบังคับลูกจ้างได้ครับ

บางสถานประกอบการก็เขียนไว้ครับ แต่จะเขียนเป็นเชิงว่า หากเกิดความเสียหาย จะบังคับชำระค่าเสียหายตามจริง แบบนี้น่าจะบังคับได้มากกว่าครับ

106
คงต้องแยกเป็น 2 ประเด็นครับ
1.เรื่องจำนอง ต้องไปคุยรายละเอียดว่าจำนองกับใคร จดทะเบียนจำนองตามกฎหมายหรือไม่ ระยะเวลา ยอดเงินจำนองเท่าไร ต้องไปเช็คที่ที่ดินว่าที่ถูกโอนไปแล้วหรือไม่ ถ้ามีรายละเอียดจะพอตอบให้ได้ครับ
2.เรื่องค่าที่ดินที่จ่ายเจ้าของ จริงๆแล้วน่าจะเช็คข้อ 1.ให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยจ่ายต่อ และสรุปยอดกันให้ชัดเจนโดยทำเป็นบันทึกระหว่างกันแลัเซ็นชื่อกันไว้ครับ

107
ไปสอบถามแนวเขตที่สำนักงานที่ดินเลยครับ เพราะในที่ดินจะมีหลักมุดปักอยู่เพื่อแสดงแนวเขต หากหาหลักมุดไม่เจอก็คงต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินมาสอบแนวเขต ในต่างจังหวัดลองไปแจ้งเรื่องกับผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันก่อนก็ได้ครับ และต้องแจ้งให้ชัดว่าเขาจะมาถมดินไม่ได้ตราบใดที่แนวเขตที่ดินยังไม่ชัดเจน ส่วนเรื่องเงินยังไม่ต้องเอาไปจ่ายครับ เพราะจ่ายไปก็ไม่จบเรื่อง เแาเงินไปจ่ายค่าธรรมเนียมสอบแนวเขตกับที่ดินจะเป็นทางแก้ปัญหาที่ดีกว่าครับ

108
ไปดำเนินการเรื่องการโอน รายละเอียดสอบถามสำนักงานที่ดินในท้องที่ที่ที่ดินตั้งอยู่ได้เลยครับ

109
หมายถึง เปลี่ยนสัญญาอะไรครับ

110
ถ้านางก.ไม่มีชื่อเป็นเจ้าของในนส.ก ก็ควรให้เขาไปดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนการขายครับ และผู้ซื้อจึงจะสามารถนำนส.๓ ไปขอดำเนินการเรื่องการออกโฉนดต่อไปได้

111
คงต้องฟ้องร้องให้มีการโอนคืน ต้องดูรายละเอียดว่าการขายสมบูรณ์ หรือเป็นการอำพรางโดยไม่ได้มีการซื้อขายกันจริงครับ

112
ไม่ทราบว่าใครจะรับรองบุตรครับ ถ้าเป็นสามีใหม่ที่ไม่ใช่พ่อเด็กไม่สามารถรับรองบุตรได้ เพราะการจดทะเบียนรับรองบุตร ต้องเป็นบุตรที่แท้จริงของผู้ที่จะรับรอง กรณีนี้พ่อใหม่ต้องจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมนะครับ

113
ถ้าตามหามไม่เจอ ติดต่อไม่ได้ เกิน 24 ชั่วโมงแล้ว สามารถแจ้งความกับตำรวจในพื้นที่ได้ครับ

114
ในส่วนของหนี้สินกองมรดกจะสามารถบังคับได้ไม่เกินทรัพย์มรดกครับ
ส่วนของการแบ่งทองถ้าเป็นการตกลงกันโดยไม่มีหลักฐานก็คงต้องพิสูจน์กันไปครับ แต่อย่างไรก็ตามถ้าตกลงกันจริงก็ควรแบ่งกันตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฟ้แงร้องกันระหว่างครอบครัวนะครับ
ในส่วนของการฟ้องร้องให้จัดการมรดก อายุความจะเริ่มนับเมื่อจัดการมรดกเสร็จสิ้น ดังนั้น หากทายาทผู้มีส่วนได้เสียจะฟ้องให้มีการตัดการมรดกในกรณีนี้สามารถฟ้องได้ครับ เพราะยังไม่มีการจัดการมรดก อย่างไรก็ควรตกลงกันดีกว่าครับ


116
ผมลืมแจ้งไปว่า ถ้าข้างบ้านเอาที่เข้าธนาคาร จะติดปัญหาในการที่คุณจะเอาโฉนดมาจดเปลี่ยนแปลงนะครับ เพราะโฉนดจะอยู่กับธนาคาร ซึ่งอาจจะติดปัญหาในเรื่องนี้ ทางที่ดีจดภาระจำยอมเท่าที่คุณสะดวกจะให้จดดีกว่าครับมิฉะนั้นอาจปวดหัวภายหลังได้ครับ

117
ถ้าข่มขู่ก็ต้องไปแจ้งความครับ แล้วในระหว่างปรับปรุงจะให้ผู้เช่าไปอยู่ที่ไหนครับ ลองคุยกันดีๆ อีกทั้งจะต้องงดการเก็บค่าเช่าช่วงปรับปรุงนะครับ

118
ทางที่ดีที่สุดนำเอกสารหลักฐานไปปรึกษาเจ้าหน้าที่สคบ.เลยครับ สคบ.จะช่วยเป็นคนกลางดูแลและไกล่เกลี่ยให้น่าจะปลอดภัยกว่าดำเนินการเองนะครับ

119
ลูกมีสิทธิรับมรดกของแม่ครับ ดังนั้นที่ดินในส่วนที่มีชื่อแม่ก็จะตกแก่ลูกในฐานะผู้รับมรดก ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการแบ่งให้ถูกต้อง หากแบ่งไม่ถูกสามารถไปร้องคัดค้านได้ครับ

120
 ในกรณีเช่นนี้คุณน่าจะให้เจ้าของพื้นที่ช่วยดำเนินการก่อนก็ได้นะครับ หรือขอให้เจ้าของมอบอำนาจให้คุณไปแจ้งความข้อหาบุกรุกครับ

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 15