สำนักงานทนายความ

สิทธิในการดูแลลูก

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

AA

สิทธิในการดูแลลูก
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2014, 12:51:15 AM »
สวัสดีค่ะ ดิฉันมีเรื่องจะปรึกษาค่ะ
ดิฉันมีอายุ24 แฟนดิฉันอายุ28 ค่ะ เราอยู่กินกันมีลูก1คน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
อยู่ด้วยกันมา 4ปีค่ะ ลูกชายอายุ1.7ปี
ดิฉันไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆเพราะท้องตอนเรียน พอคลอดลูกก็กลับไปเรียน
โดยที่แฟนทำงาน หาเงินส่งครอบครัว แต่ดิฉันก็เลี้ยงลูกคนเดียวมาตลอด
เราอยู่ด้วยกันก็เริ่มมีปัญหากัน มีปากเสียงกัน ดิฉันเคยพาลูกหนีไปต่างจังหวัดมาอาทิตย์กว่าๆ
แต่เขาก็ง้อ และมารับกลับ กทม
พอมา กทม เขาก็อ้างทำงานไม่กลับมานอนห้องเลย (แฟนทำงานขับรถตู้ รับจ้างท่องเที่ยวค่ะ)
มีวันนึง ดิฉันจับได้ว่าเขาแอบคบกับ ผู้หญิงคนอื่น
แฟนดิฉันก็บอกว่าขอกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ระหว่างนั้นที่เขากลับบ้าน ดิฉันติดต่อเขาไม่ได้เลย
โทรไปหาพ่อแม่เขา ก็ไม่มีใครพูดอะไร จนเช้าวันนึงดิฉันเลยพาลูกนั่งรถทัวร์ไปหาเขา
แล้วเราก็พบว่าเขา เอาผู้หญิงคนนั้นกลับบ้านไปด้วย
ดิฉันเลยบอกพ่อแม่เขาว่าดิฉันจะเลิก
และจะไม่ให้ลูกกับแฟนเลย
แต่พ่อแม่เขาก็กล่อมให้ใจเย็นๆ
ผ่านมาหลายข้อตกลง ก็ไม่ลงเอยสักที เราทะเลาะกันทุกวัน เพราะแฟนดิฉันไม่ยอมเลิกกับผู้หญิง
(อ่อ ดิฉันกำลังท้องคนที่2ได้3เดือนแล้วค่ะ) เขาบอกกับดิฉันว่าจะกลับมาอยู่เพื่อลูก มารับผิดชอบลูกในท้อง
แต่ไม่เลิกกับผู้หญิง พ่อแม่แฟนก็ไม่ค่อยช่วยเราสักเท่าไหร่ เพราะเขาตามใจลูกเขาค่ะ(ด้านครอบครัวดิฉัน ยังไม่ทราบเรื่องทั้งหมดค่ะ เพราะแม่เราแก่แล้วไม่อยากให้ท่านคิดมาก เเละคิดว่าจะตกลงกะฝ่ายชายให้ได้จึงจะบอก)
ทุกวันนี้ เขาก็แอบไปเจอ ไปหากันอยู่บ่อยๆ และเขาจะส่งให้ลูกแค่เดือนละ5พันค่ะ

คืออยากทราบว่า ถ้าฉันจะขอแยกทางดิฉันจะมีสิทธิ์ ในตัวลูกไหม และจะกำหนดวันให้เขามาเจอลูกได้ไหมคะ สามารถเรียกค่าเลี้ยงดูได้ไหม หรือสิทธิอะไรบ้างที่ดิฉันควรจะได้
ขอบคุลค่ะ

frontter

Re: สิทธิในการดูแลลูก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2014, 10:32:30 AM »
จริงๆก็น่าจะได้นะครับ แต่ถ้าฝ่ายชายเอาทนายดีๆมาเราอาจแพ้เขาได้ เรียกร้อยยากเหมือนกันนะ

Sommmponng

Re: สิทธิในการดูแลลูก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2014, 02:12:54 PM »
ผู้หญิงย่อมสามารถไม่ให้ลูกแกผู้ชายได้ค่ะ และมีสิทธิทุกอย่าง

nangfarobob

Re: สิทธิในการดูแลลูก
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2014, 03:10:48 PM »
ถ้าตามกฏหมายจิงๆๆ ถ้ามีลูกคนเดียวแม่ได้สิทธิ์เต็มที่นะคะ

ถ้าเจรจากันจิงๆๆแร้วมีบุตร 2 คน จะแบ่งลูกกัน ลูกผู้ ชายต้องอยู่กับแม่ลูกผู้หญิงต้องอยู่กับพ่อ

ถ้าเป็นกรณีเค้ามีแฟนใหม่นะคะ

Preecha Yokthongwattana

  • ติดต่อ ทนายปรีชา 081-988-1845
  • ****
  • 428
  • 22
    • ดูรายละเอียด
Re: สิทธิในการดูแลลูก
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2014, 09:59:44 PM »
ในกรณีนี้ขอตอบตามแนวทางกฎหมายนะครับ การเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนสมรสเท่านั้นครับ ดังนั้นในกรณีนี้เมื่อทั้งคู่ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของแม่เท่านั้นครับ หากต้องการเรียกค่าเลี้ยงดูก็ต้องฟ้องศาลเพื่อพิสูจน์ว่าลูกเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชาย และเรียกค่าเลี้ยงดูไปในคราวเดียวกันครับ

ในส่วนของสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั้น หากมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน สามารถฟ้องร้องให้มีการแบ่งกันได้ โดยถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมครับ
รับอบรม กฎหมาย
รับรองลายมือชื่อ ทนาย

ร่าง/แปล สัญญา ไทย-อังกฤษ
รับปรึกษาคดีความ
ติดต่อ ทนายปรีชา 081-988-1845
ขอบคุณ สำนักงานทนายความ.com ที่ให้ใช้พื้นที่ ;D

zablue

Re: สิทธิในการดูแลลูก
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2014, 04:22:11 PM »
ยังไงซะคนเป็นแม่มีสิดมากกว่าอยู่แร้วถ้าไม่ได้จดทะเบียนอ่ะนะ

ทนายปฤษฎี 0941467576

Re: สิทธิในการดูแลลูก
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2014, 01:54:48 AM »
ระหว่างคุณ2คน ไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรส แล้วต่อมามีบุตรด้วยกัน ต้องถือว่าบุตรที่เกิดมานั้นบุตรดดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นแม่เสมอ
แต่ต้องดูว่าขณะที่บุตรเกิดขึ้นมานั้นสามีที่ไม่ได้จดทะเบียยสมรสของคุณนั้น ได้มีการแสดงโดยพฤตินัยหรือไม่ คือ ได้มีการเเจ้งเกิดบุตรของคุณว่าเขาเป็นบิดาหรือไม่ หรือ บุตรที่เกิดมาใช้นามสกุลของฝ่ายชายหรือไม่ เพราหากมีการกระทำดังกล่าว บุตรที่เกิดมาย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชายเช่นกัน //// แต่คุณอย่ากังวลไป เพราะสิ่งที่คุณเล่ามาเบื้องต้นเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญในการต่อสู้คดีที่จะทำให้คุณมีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวหรือกำหนดให้ฝ่ายชายมีสิทธิมาพบบุตรของคุณได้ตามที่คุณเห็นสมควร (แต่ศาลนะครับเป็นคนใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับเรื่องนี้)///อีกอย่างที่คุณเล่ามาเบื้องต้นต้องฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากฝ่ายชายจนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ
                         ***ปล.ทนายหนุ่มรูปงามนามปฤษฎี 094-1467576

 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ชื่อ: อีเมล์:
Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::