สำนักงานทนายความ

วิธี จัดการ พนักงานมาทำงานสาย ขาดงาน หรือลาป่วยมากเกินไป

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Preecha Yokthongwattana

  • ติดต่อ ทนายปรีชา 081-988-1845
  • ****
  • 428
  • 22
    • ดูรายละเอียด
S & P Legal Alliance
24 Ratchadamnern Klang Road, Phranakorn District, Bangkok 10200
Mail : splalaw@gmail.com Tel +66 2225 5485 Mobile phone: 0819881845 , 0897881248
__________________________________________________

มาตรการจัดการพนักงานมาทำงานสาย ขาดงาน หรือลาป่วยมากเกินไป

กรณีพนักงานมาทำงานสายบ่อยครั้ง


โดยปกติการจัดการกับพนักงานที่มาทำงานสาย ตามขั้นตอนทางกฎหมายสามารถทำได้โดย หากพนักงานมาสายครั้งแรกก็ให้ตักเตือนด้วยวาจา ครั้งต่อไปก็ตักเตือนเป็นหนังสือและอาจทำทัณฑ์บนไว้ และหากมีการตักเตือนเป็นหนังสือแล้วยังมีการมาสายอีกก็สามารถเลิกจ้างได้ เพราะการมาสายเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต อันเป็นเหตุให้สามารถเลิกจ้างได้ อีกทั้งในการเลิกจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะได้มีการตักเตือนเป็นหนังสือแล้วนั่นเอง ซึ่งการมาสายในทุกครั้งสามารถงดจ่ายค่าจ้างได้โดยคำนวณตามระยะเวลามาสายหรือระยะเวลาที่ไม่ได้ทำงานที่แท้จริง


อาจใช้มาตรการในการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับจำนวนครั้งที่มาสาย ซึ่งทำให้ไปมีผลการต่อขึ้นเงินเดือนหรือการพิจารณาโบนัสประจำปี เช่น
กำหนดว่า  มาสาย.....ครั้ง จะถูกเลื่อนการปรับเงินเดือนให้ช้าไป 3 เดือน
        มาสาย.....ครั้ง จะถูกเลื่อนการปรับเงินเดือนให้ช้าไป 6 เดือน
        มาสาย.....ครั้ง จะไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี เป็นต้น

หรืออาจใช้มาตรการกำหนดระเบียบ มาสายแต่ละครั้งจะได้รับใบตักเตือน หากได้รับใบตักเตือนครบตามระเบียบกำหนดจะถูกเลิกจ้าง เป็นต้น อย่างไรก็ดีมาตรการต่างๆนี้ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน หากประสงค์จะเปลี่ยนแปลงจากเดิมจะต้องมีการแจ้งและตกลงกับลูกจ้างหรือพนักงานตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

กรณีพนักงานขาดงาน
การที่พนักงานขาดงานก็อาจใช้มาตรการกำหนดระเบียบได้เช่นเดียวกับกรณีพนักงานมาสาย เช่น ขาดงานกี่ครั้งจะถูกเลื่อนการปรับเงินเดือนหรือไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน หรือไม่ได้รับโบนัสประจำปีหรือการออกใบตักเตือน เป็นต้น


นอกจากนี้ในเรื่องของการขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็ถือเป็นการละทิ้งการงานไปก็สามารถเป็นเหตุเลิกจ้างพนักงานคนนั้นได้   และหากเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานไปเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะทำให้สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

กรณีพนักงานลาป่วยบ่อยครั้ง อาจมีมาตรการดังต่อไปนี้

1. ให้พนักงานมารายงานอาการป่วยในวันแรกที่กลับมาทำงาน โดยทำการจดบันทึกอาการป่วยของพนักงานอย่างละเอียด เพื่อที่ว่าเมื่อพนักงานจะลาป่วยครั้งต่อไป จะคิดมากขึ้นว่าจะป่วยอะไรดี จึงจะสมเหตุสมผล และไม่ถูกจับได้ ซึ่งวิธีการนี้อาจช่วยลดสถิติการลาป่วยของพนักงานได้บ้าง

2. ประกาศให้พนักงานทราบว่า การขาด ลา มาสาย มีผลต่อการขึ้นเงินเดือน และโบนัส หากขาดงานเกินกี่วัน มาสายเกินกี่ครั้ง จะไม่ขึ้นเงินเดือนและตัดโบนัส เป็นต้น

3. จับตาดูพฤติกรรมการลาหยุดงานของพนักงานอย่างใกล้ชิด อาจสุ่มไปที่บ้านของพนักงานโดยไม่ให้รู้ตัว เพื่อเยี่ยมไข้ และสอบถามอาการ รวมทั้งตรวจสอบการลาป่วยในครั้งนั้นด้วย

4. หากพฤติกรรมการลาเป็นที่น่าเอือมระอาหรือไม่น่าไว้วางใจ ให้สอบถามพนักงานว่าได้ไปรักษาที่คลินิก หรือโรงพยาบาลใด จากนั้นให้ไปขอดูทะเบียนคนไข้ว่ามารักษาจริงหรือไม่ หากทราบว่ามีพฤติกรรมการลาที่ไม่ถูกต้องในบางราย อาจให้แสดงใบรับรองแพทย์ทุกครั้งที่ลาป่วย

5. ในกรณีที่ใช้พนักงานใช้สิทธิ์ลาป่วยครบ 30 วันแล้ว ให้แจ้งพนักงานว่า หากลาป่วยครั้งต่อไป จะพิจารณาให้ลาโดยไม่รับเงินเดือนแทน ซึ่งไม่ว่าพนักงานจะลากี่วัน ก็จะหักเงินในทุก ๆ วันที่ลาหยุด

6. กำหนดบทลงโทษการลาป่วยเท็จที่รุนแรงเชิงบริหาร และเชิงข้อกฎหมายถึงขั้นเลิกจ้างได้

7. หากพบว่าอาการป่วยส่งผลต่อการทำงาน นายจ้างมีสิทธิพิจารณาเลิกจ้าง เนื่องจากพนักงานหย่อนสมรรถภาพในการทำงานได้ โดยจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด

8. ถึงแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ลูกจ้าสามารถลาป่วยได้ถึง 30 วันต่อปี แต่ในบางรายที่การขาดงานบ่อยครั้งมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานแล้ว ผู้บังคับบัญชาไม่ควรนิ่งเฉย ควรหามาตรการตักเตือน หรือจัดการโดยใช้บทลงโทษที่เด็ดขาด
 

..................Sirikwun Ninlakun..Legal Manager..SPLALAW???????
เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน


บทความที่เกี่ยวข้อง : การออกหนังสือเตือนพนักงาน ขั้นตอน การลงโทษพนักงาน แบบฟอร์ม ลงโทษพนักงาน
รับอบรม กฎหมาย
รับรองลายมือชื่อ ทนาย

ร่าง/แปล สัญญา ไทย-อังกฤษ
รับปรึกษาคดีความ
ติดต่อ ทนายปรีชา 081-988-1845
ขอบคุณ สำนักงานทนายความ.com ที่ให้ใช้พื้นที่ ;D

นายจ้าง

ได้ความรู้มากครับ

 

ด้วยฟังค์ชั่น ตอบด่วน คุณสามารถใช้โค๊ดและ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ได้ เหมือนการตั้งกระทู้ธรรมดา แต่สามารถทำได้สะดวกกว่า

ชื่อ: อีเมล์:
Verification:
พิมพ์ชื่อประเทศของเราลงไป ::